สำลัก วิธีช่วย

สำลัก จนหมดสติไม่ต้องกระทุ้งท้องแล้วปั๊มหัวใจทันที!!

Alternative Textaccount_circle
event
สำลัก วิธีช่วย
สำลัก วิธีช่วย

สำลัก อาหาร เรื่องใกล้ตัวที่สามารถคร่าชีวิตคุณ และคนที่คุณรักได้ในเวลาไม่กี่นาที การรู้วิธีช่วยเหลืออย่างถูกวิธีช่วยได้ ไม่เกิดเรื่องเศร้า

สำลัก จนหมดสติไม่ต้องกระทุ้งท้องแล้วปั๊มหัวใจทันที!!

ภาพจาก amarin TV
ภาพจาก amarin TV

ครอบครัวเศร้า หนุ่มวัย 27 เสียชีวิตขณะนั่งกินชาบู เกิดมีอาหารติดในลำคอทำให้ช็อกหายใจไม่ออกและหมดสติ คาดเนื้อหมูติดคอ

วันที่ 19 มี.ค.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในบ้านพักหลังหนึ่ง ย่านตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ ชายวัย 27 ปีสมาชิกภายในบ้านที่กำลังร่วมวงอาหารที่โต๊ะอาหารภายในบ้านเกิดมีอาหารติดในลำคอทำให้ช็อกหายใจไม่ออกและหมดสติ

ญาติรีบโทรแจ้งเจ้าหน้าที่กู้ภัยฯ ทันทีจากนั้นไม่ถึงห้านาทีอาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญูพร้อมกู้ชีพโรงพยาบาลบางบ่อเข้าให้ความช่วยเหลือปฐมพยาบาล ก่อนจะเคลื่อนย้ายส่งโรงพยาบาลบางบ่อเป็นการด่วน และเสียชีวิตในเวลาต่อมาเหตุเกิดเมื่อช่วงเวลา 22.30 น. วันที่ 18 มีนาคม 66

จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า ก่อนเกิดเหตุผู้ตายพร้อมกับครอบครัวพากันนั่งรับประทานอาหารต้มชาบู ระหว่างทานทุกคนก็ทานกันปกติโดยไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดเหตุสลดขึ้น ซึ่งคาดว่าผู้ตายเสียชีวิตจากหมูติดคอ

หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทุกคนยังอยู่ในอาการตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะที่พนักงานสอบสวนและโรงพยาบาลบางบ่อจะได้ส่งศพไปชันสูตรหาสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างละเอียดอีกครั้ง

ที่มา : https://www.amarintv.com

ก่อนอื่นต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสีย ไม่ว่าสาเหตุการเสียชีวิตจะมาจากการ สำลัก อาหารหรือไม่ก็ตาม ซึ่งนอกจากอุทาหรณ์ข้างต้นยังมีเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกมาก ทั้งช่วยเหลือทัน และช่วยเหลือไม่ทัน สิ่งสำคัญที่ทำให้เราต้องกลับมาตระหนักจากข่าวการสำลักอาหารนี้ คือ การทบทวน ตรวจสอบดูว่า เรารู้วิธีช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ สำลัก อาหารกันอย่างถูกวิธีแล้วหรือไม่

ลูก สำลัก ร้องไห้เสียงแหบ ไม่มีเสียง
ลูก สำลัก ร้องไห้เสียงแหบ ไม่มีเสียง

สำลัก อาหาร ไม่ใช่ ติดคอ!!

“คนส่วนใหญ่มักเข้าใจสับสน กรณีที่อาหารติดคอจะมีความรู้สึกเหมือนมีสิ่งตกค้างอยู่ในลำคอ เช่น ก้างปลาที่ติดคอ สามารถแก้ไขได้ โดยปั้นข้าวเหนียวแล้วกลืน หรือดื่มน้ำเพื่อให้สิ่งตกค้างหลุดไป เพราะปกติระหว่างการรับประทานอาหาร เมื่อกลืนลงไป หลอดอาหารจะถูกเปิด แต่หลอดลมจะถูกปิด แต่ถ้ากินอาหารแล้วคุยไป ระบบการเปิดปิดจะทำงานผิดจังหวะ จนเศษอาหารหลุดเข้าไปอุดตันภายในหลอดลม

ทำความเข้าใจกับการสำลักอาหาร

สำลัก คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหล่นเข้าไปในช่องคอหรือหลอดลม ทำให้กีดขวางช่องทางการหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ สาเหตุของการสำลักในวัยผู้ใหญ่นั้นมักเกิดจากเศษอาหาร หรือการดื่มน้ำเร็วเกินไป ส่วนในเด็กอาจเกิดจากการกลืนสิ่งของเล็ก ๆ เข้าไป เราทุกคนต่างเคยสำลักกันทั้งนั้น โดยปกติแล้วการสำลักนั้นเกิดขึ้นแค่ครู่เดียวและดูเหมือนว่าจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรงอะไร อย่างไรก็ตาม การสำลักอาจเป็นอันตรายและคุกคามขั้นรุนแรงถึงชีวิตได้

สาเหตุของการสำลัก

เด็กมักจะสำลักเมื่อนำสิ่งของเข้าปากด้วยความอยากรู้อยากเห็น หรือเกิดการสำลักขณะที่กินอาหารเร็วเกินไป หรือพูดขณะที่กำลังมีอาหารอยู่ในปาก ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้ใหญ่สำลักนั้นมักเกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หัวเราะขณะกินอาการหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป

กิจกรรมระหว่างรับประทานอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการสำลัก ที่ผ่านมาพบว่า คนที่มีอายุน้อย ระบบการเคี้ยวและน้ำลายยังปกติ แต่เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับการรับประทานอาหาร จะเกิดการสำลักได้มากขึ้น เนื่องจากแอลกอฮอล์ ให้ระบบการเปิดปิดหลอดลม ทำงานผิดปกติ

อาหารที่มักทำให้เกิดอาการสำลักได้แก่ ถั่วลิสง หมากฝรั่ง ป๊อปคอร์น ลูกอม ไส้กรอก ผักและผลไม้ชิ้นใหญ่ๆ เช่น มะเขือเทศเชอรี่ ลูกองุ่น และวัสดุเล็ก ๆ อย่างยางลบ

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการสำลัก

  • เด็กเล็ก
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีประวัติผ่าตัดบริเวณคอหอย เช่น ผ่าตัดโคนลิ้น ผ่าตัดมะเร็งคอหอย ผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง
  • ผู้ที่มีความผิดปกติระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะกลืนลำบาก
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบริเวณใบหน้าและลำคอ ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายแสง ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ปลอกประสาทอักเสบ บาดเจ็บไขสันหลัง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก
  • ผู้ที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือการได้รับยาคลายเครียด

    สำลัก ขณะรับประทานอาหาร
    สำลัก ขณะรับประทานอาหาร

อาการสำลัก

อาการของคนสำลักที่สังเกตได้โดยทั่วไปนั้น มักจะใช้มือจับที่คอของตนเอง แต่หากผู้ที่สำลักไม่ได้ส่งสัญญาณดังกล่าว ให้สังเกตอาการต่อไปนี้

  1. หายใจไม่สะดวก หรือมีอาการหายใจแรงและเสียงดังผิดปกติ
  2. พูดคุยตอบสนองไม่ได้
  3. ไม่สามารถกลืน หรือใช้เวลานานกว่าปกติ
  4. ไอแรง ๆ ไม่ได้
  5. ผิวหนัง ริมฝีปาก และเล็บเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เนื่องจากขาดออกซิเจน
  6. ขาดสติ ไม่รู้สึกตัว

ในเด็กเล็กให้สังเกตอาการว่า เด็กดูเจ็บปวดและหายใจเสียงดัง ร้องไห้หรือไอไม่ได้ บางครั้งไม่สามารถส่งเสียงร้องหรือหายใจได้

 

อ่านต่อ >> เมื่อพบผู้ สำลัก อาหารจนหมดสติต้องช่วยเหลืออย่างไร คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up