หย่านม

วิธี “หย่านม” แบบนุ่มนวล ไม่ทำร้ายจิตใจลูก

Alternative Textaccount_circle
event
หย่านม
หย่านม

วิธี “หย่านม” แบบนุ่มนวล ไม่ทำร้ายจิตใจลูก

  1. ลดเวลาการให้นมจากเต้าให้สั้นลง โดยให้ลูกดูดนมจากเต้าก่อนในช่วงแรก หลังจากนั้นให้ลูกดูดนมแม่หรือนมผสมจากขวดต่อ จนกว่าจะอิ่ม วิธีนี้จะทำให้ลูกไม่รู้สึกต่อต้านว่านมขวดจะมาแทนที่นมจากเต้า เพียงแต่นมขวดจะทำให้อิ่มท้อง และจะทำให้ลูกคุ้นเคยกับขวดอีกด้วย

2. เมื่อลูกเริ่มคุ้นชินกับการดูดนมจากขวด และเริ่มคุ้นชินกับรสชาตินมผสมหรือนมแม่ที่แช่เก็บไว้แล้ว ให้ค่อย ๆ งดการทานจากเต้าเป็นมื้อ ๆ ไป โดยเริ่มงดการทานนมจากเต้าเพียงมื้อเดียวก่อน และค่อย ๆ งดเพิ่มเป็น 2 มื้อ 3 มื้อ จนครบทุกมื้อ แนะนำว่าไม่ควรงดมื้อแรกของวันก่อน

ฝึกลูกทานนมขวด
การหย่านมแม่ ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยการให้ลูกได้ทำความคุ้นเคยกับการทานนมจากขวดบ้าง

3. หากลูกยังไม่สามารถงดการดูดเต้า 2 มื้อติดกันได้ ให้ใช้วิธีให้นมจากขวดสลับไปก่อน โดยสลับดูดนมแม่พร้อมนมขวด 1 มื้อ และดูดนมขวดล้วน 1 มื้อ ทำอย่างนี้ติดต่อกัน 1 อาทิตย์ หากมีท่าทีที่ดีขึ้นค่อยเริ่มกลับมางดการดูดเต้า 2 มื้อติดอีกครั้ง

4. เพราะลูกอาจได้กลิ่นน้ำนมจากคุณแม่ ดังนั้น คุณแม่ควรปล่อยให้คุณพ่อ คุณยาย หรือพี่เลี้ยงเด็กทำหน้าที่หย่านมแทน คุณแม่ควรหลบไปอยู่อีกห้อง เพื่อให้ลูกเห็นว่าไม่สามารถดูดนมจากเต้าได้แน่นอนแล้ว ลูกก็จะยอมทานนมที่คุณพ่อ คุณยาย หรือผู้ที่ช่วยเลี้ยงดู ยึ่นให้

5. ในการหย่านมจากเต้ามื้อดึก หากลูกตื่นขึ้นมาควรกอดลูกไว้ แล้วอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าดูดนมแม่ตอนกลางคืนไม่ได้ หรือจะให้คุณพ่อหรือคนที่ลูกคุ้นเคยเป็นคนกล่อมลูกให้หลับต่อแทนก็ได้ค่ะ เพราะวิธีนี้จะทำให้ลูกยังรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัยจากการกอดแทนการดูดนมแม่นั่นเองค่ะ

ฝึกลูกเลิกเต้า
หากลูกไม่ยอมทานนมจากขวด ก็ไม่ควรที่จะดุด่าว่ากล่าวหรือบังคับให้ลูกทาน

6. ในช่วงแรก ๆ หากลูกต่อต้าน ไม่ยอมทานนมจากขวด คุณแม่ไม่ควรดุด่าว่ากล่าวลูก หรือบังคับให้ลูกทานนมจากขวดให้ได้ เพราะจะทำให้ลูกต่อต้านมากขึ้น พาลจะไม่ยอมทานนมจากขวดไปเลย คุณแม่จึงควรเว้นการหย่านมไปสักพักหนึ่งก่อนแล้วค่อยเริ่มใหม่

7. กอดลูกบ่อย ๆ ในช่วงที่หย่านมแม่นั้น ลูกจะรู้สึกขาดความรักและความอบอุ่น การแสดงให้ลูกเห็นว่าความรักความอบอุ่นนั้น สามารถทำได้โดยวิธีอื่น เช่น การกอด การใช้เวลาร่วมกันในเรื่องอื่น ๆ การเล่นด้วยกัน ก็จะได้รับความอบอุ่นจากแม่ได้เช่นกัน

8. ดึงดูดความสนใจด้วยวิธีอื่น เมื่อลูกร้องจะดูดนมแม่ เช่น พาลูกไปเดินเล่นนอกบ้าน เล่นของเล่นที่ลูกชอบ เป็นต้น

9. ให้ลูกได้มีส่วนร่วมในการเลือกซื้อนม และอุปกรณ์การทานนม ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยจูงใจให้ลูกอยากดื่มนมจะอุปกรณ์อื่นนอกเหนือจากเต้า

ลูกตักอาหารกินเองได้
เมื่อลูกสามารถตักอาหารกินเองได้ ก็ควรที่จะเอ่ยคำชม เพื่อให้ลูกมีกำลังใจ

10. เมื่อลูกยอมดูดนมจากขวดหรือแก้ว หรือสามารถตักอาหารกินเองได้ คุณแม่ควรเอ่ยคำชมและให้กำลังใจลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกดีที่ทำแบบนี้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ วิธีดูแลเต้านมหลัง หย่านม

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up