ยาจุดกันยุง

ยาจุดกันยุง 2 ยี่ห้อดัง อย. ประกาศเพิกถอนทะเบียนยา!!!

Alternative Textaccount_circle
event
ยาจุดกันยุง
ยาจุดกันยุง

ข้อควรรู้สารเคมีในยากันยุง!!!

นอกจากสารอันตรายที่มีประกาศออกมาจาก อย. ก็ยังมีสารเคมีอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า DEET (ชื่อทางเคมี N,N-diethyl-meta-toluamide or N,N-diethyl-3-methylbenzamide  เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ผสมอยู่ในยากันยุง ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลง ซึ่งผลิตออกมาในหลายรูปแบบ เช่น โลชั่นสเปรย์  ยากันยุงชนิดขนจุดไฟ ฯลฯ โดยปริมาณ DEET ที่ใช้ทาผิวหนังและใช้ในผลิตภัณฑ์ไล่แมลงคือ 4-100% โดยปกติร่างกายของคนเราจะส่งกลิ่นออกมามาก ซึ่งจะปล่อยสารประกอบต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน กลิ่นเหล่านี้ก็จะเป็นตัวล่อให้ยุงเข้ามากัด นักวิทยาศาสตร์ได้ติดตามปฏิกิริยาทางไฟฟ้าของเซลล์ประสาทรับกลิ่นของยุงเมื่อปล่อยให้มันได้กลิ่นของ DEET และพบว่า DEET ช่วยปกปิดกลิ่นเหงื่อของร่างกายจากยุงได้ แต่ไม่สามารถปกปิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจได้

ความเข้มข้นของ DEET ในผลิตภัณฑ์ไล่ยุงอยู่ระหว่าง 5-25% โดยน้ำหนัก ปริมาณ % ที่มากขึ้นไม่ได้หมายถึงประสิทธิภาพในการไล่ยุงจะมากขึ้น แต่หมายถึงระยะเวลาในการป้องกันยุงนานขึ้น เช่นที่ 6% จะป้องกันยุงได้ 2 ชั่วโมง ในขณะที่ 20% จะป้องกันยุงได้ 4 ชั่วโมง

ดูเหมือนสารเคมี DEET จะดีต่อการไล่ยุงใช่ไหมคะ แต่ในประโยชน์ก็มีโทษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เนื่องจากปริมาณสารเคมีชนิดนี้หากมีมากเกินไปในยากันยุงทุกประเภท จะมีความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน นั่นคือหากสัมผัสทางผิวหนังจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา หากสูดดมข้าไป ทำให้เกิดการระคายเคืองที่แผ่นเยื่อเมือกและทางเดินหายใจส่วนบน และการได้รับสารเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ ในการทดลองกับหนูการได้รับสารแบบเรื้อรังจะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และมีผลต่อทารกในครรภ์1

จึงแนะนำว่าทุกครั้งก่อนมีการใช้ยากันยุง ไม่ว่าจะเป็นชนิดป้องกันไล่ยุง หรือเป็นชนิดฆ่ายุง ขอให้อ่านปริมาณสารเคมี รวมถึงคำแนะนำในการใช้งานที่ถูกต้องและถูกวิธีตามที่ฉลากข้างผลิตภัณฑ์ระบุไว้อย่างเคร่งครัดกันด้วยนะคะ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กอ่อน เด็กเล็ก คุณแม่ตั้งครรภ์ คนป่วย คนชรา เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์กันยุง(ทุกชนิด) หากพบว่ามีสารอันตรายตามที่ทาง อย. แจ้งเตือนขอให้เลิกใช้ทันที …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

ข้อมูลอ้างอิง : 1พิษภัยใกล้ตัว.www.chemtrack.org

อ่านต่อบทความน่าสนใจคลิก

เปรียบเทียบสารสำคัญในสเปรย์กันยุงและแผ่นแปะกันยุง ซื้ออย่างไร แบบไหนดี? 
ยากันยุงสำหรับทารก 
โรคไข้เลือดออก วิธีสังเกตอาการและวิธีป้องกัน!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up