youtube youtube kids

youtube สำหรับเด็ก กับวิธีตั้งค่าป้องกันเนื้อหาไม่เหมาะสม

Alternative Textaccount_circle
event
youtube youtube kids
youtube youtube kids

youtube ตัวช่วยพ่อแม่ในยุคนี้ หากบ้านไหนชอบให้ลูกดูคลิปบนยูทูปแต่ก็กลัวลูกดูคลิปที่ไม่ดี โปรดศึกษาวิธีตั้งค่าเนื้อหาไม่เหมาะสมวิธีนี้ช่วยได้

youtube สำหรับเด็ก กับวิธีตั้งค่าป้องกันเนื้อหาไม่เหมาะสม!!

ปัจจุบันการเข้าถึงสื่อเทคโนโลยีของเด็กเป็นเรื่องที่ง่ายดาย จนเรียกได้ว่าสื่อโซเซียลต่าง ๆ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในยุคปัจจุบันไปเสียแล้ว ไม่เว้นแม้แต่เด็กเล็ก เด็กโต youtube เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมค่อนข้างกว้างขวางไปทั่วโลก เพราะเป็นการรับชมคลิปวิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว และมีให้เลือกมากมาย หลากหลายเนื้อหา จึงทำให้บ่อยครั้งที่แแม้แต่พ่อแม่เองเป็นคนอนุญาตให้ลูกสามารถเข้าชมคลิปจาก youtube ได้

แน่นอนว่าข้อดีของการให้ลูกดูคลิปบนยูทูปนอกจากจะเปิดง่าย สะดวก แม้แต่ตัวเด็กเองก็สามารถเลือกคลิปที่ตัวเองสนใจได้ เพียงแค่ปลายนิ้ว ไม่ต้องค้นหาให้ยุ่งยาก และก็เป็นช่องทางที่ทำให้ลูกได้ดูคลิปที่เป็นสื่อการเรียนการสอนได้อย่างง่ายดาย มีคลิปที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ก็อีกมากมาย หลายคลิปเช่นกัน แต่ในทางตรงกันข้าม การที่เปิดกว้างให้ผู้คนสามารถนำคลิปวิดีโอของตนเองมาลงไว้ในยูทูปก็เป็นข้อเสียอย่างหนึ่งเช่นกัน

ความที่มีคลิปวิดีโออยู่มากมายนี่เอง จึงง่ายต่อการที่มีคลิปวิดีโอที่ไม่เหมาะสม และง่ายต่อการเปิดดูของเด็ก ๆ อีกด้วย นอกจากวิธีการที่พ่อแม่จะต้องนั่งดู นั่งชมไปพร้อมกับลูก เพื่อจะได้ช่วยคัดกรองเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก แต่หากเราเผลอ หรือเด็กสามารถกดเลือกได้เองล่ะ คุณพ่อคุณแม่คงเริ่มกังวลใจกัน และจะทำอย่างไรดีเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้

พาไปรู้จัก Restricted Mode !!

Restricted Mode คืออะไร ก็ต้องขอบอกกันตรงนี้เลยว่า เป็น Mode จำกัดเนื้อหาบนยูทูปที่จะช่วยคัดกรองเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หากคุณพ่อคุณแม่อุปกรณ์ร่วมกัน จะทำให้บางคลิปวิดีโอที่เราดูไว้จะไปแสดงบนหน้าแรกของยูทูป เมื่อเราใช้อุปกรณ์เดียวกันกับลูก ทำให้ลูกสามารถกดเข้าไปดูได้ง่าย เพราะอยู่ในหน้าแรกเลย ซึ่งบางครั้งอาจเป็นคลิปที่พ่อแม่เลือกดูส่วนตัว และมีเนื้อหาไม่เหมาะกับเด็ก ดังนั้นการใช้โหมดนี้จึงจะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ได้

วิธีการเปิด Restricted Mode บนเว็บเบราว์เซอร์

youtube กับการตั้งค่าป้องกันคลิปไม่เหมาะสม
youtube กับการตั้งค่าป้องกันคลิปไม่เหมาะสม

 

  1. เปิด restricted mode บนเบราว์เซอร์ สำหรับผู้ใช้งานบน Windows ,Mac ,Linux ,Chromebook
  2. เปิดเว็บไซต์ยูทูป คลิกที่ไอคอนโปร์ไฟล์มุมบนขวา
  3. เลื่อนลงมาข้างล่างสุดของเมนูเลือก Restricted Mode (โหมดจำกัด) ค่าเริ่มต้นจะเป็นสถานะปิด ให้เปิดโดยการเลื่อนสไลด์ปุ่มเป็นสีฟ้า
  4. หากต้องการไม่ให้เปลี่ยนค่าโหมดที่จำกัดบนเบราว์เซอร์ ให้เลือกเมนูล็อกโหมดที่จำกัดบนเบราว์เซอร์ได้อีกด้วย

วิธีการเปิด Restricted Mode บนแอปพลิเคชั่น

youtube บนแอปพลิเคชั่น
youtube บนแอปพลิเคชั่น
  1. สำหรับการดูยูทูปบนสมาร์ทโฟน มือถือ แท็บเล็ต ผ่านแแอปพลิเคชั่น
  2. แตะที่ไอคอนโปร์ไฟล์เลือกเมนูการตั้งค่า (Setting) ⇒ ทั่วไป (General)
  3. ในหน้า General ให้ดูที่หัวข้อ Restricted Mode ให้เปิดโดยการสไลด์ปุ่มเป็นสีฟ้า เป็นการเปิดโหมดจำกัดเนื้อหาในยูทูป

แม้ว่า Restricted Mode จะสามารถป้องกันคลิปที่ไม่เหมาะสมสำหรับลูกของคุณพ่อคุณแม่ได้ แต่มันไม่สามารถป้องกันได้ 100% เนื่องจากยังคลิปวิดีโอบางประเภทแสดงขึ้นมาให้ลูกเห็นบนหน้าแรกของยูทูปได้ หากคลิปนั้นไม่ได้ระบุว่าเป็นคลิปที่มีเนื้อหารุนแรง ไม่เหมาะสมกับเด็ก ดังนั้น หากเราต้องการปกป้องลูกน้อยจากการดูคลิปที่ไม่เหมาะสมบนยูทูป จึงขอแนะนำวิธีการอื่น ๆ ที่สามารถปกป้องลูกน้อยของคุณได้เพิ่มมากขึ้น ได้แก่

Youtube Kids

ยูทูปของ Google เปิดตัวแอปสำหรับเด็กวัยหัดเดินในปี 2015  ยูทูปคิดส์ โดยอธิบายว่าแอปพลิเคชั่นนี้เป็นประสบการณ์ที่ “ปลอดภัยกว่า” สำหรับเด็ก และเป็นได้มากกว่าบริการแบ่งปันวิดีโอ YouTube ทั่วไป Google ระบุว่า “วิดีโอที่มีอยู่ในแอปพลิเคชั่นยูทูปคิดส์นั้นพิจารณาจากการผสมผสานระหว่างการกรองอัลกอริทึม การป้อนข้อมูลของผู้ใช้ และการตรวจสอบโดยมนุษย์” ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยมีการดูวิดีโอ มากกว่า 70 พันล้านครั้งตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง

วิธีตั้งค่าการควบคุมโดยผู้ปกครองของ YouTube Kids:

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นยูทูปลงบนสมาร์ทโฟนของคุณ
  2. คลิกรูปโปรไฟล์ที่ด้านซ้ายบนเพื่อสร้างโปรไฟล์หลัก
  3. ใส่ปีเกิดของคุณ (แอพจะยืนยัน)เลือกบัญชี Gmail อ่านข้อกำหนดและเงื่อนไข ใส่รหัสผ่าน และเข้าสู่ระบบ
  4. สร้างโปรไฟล์เด็กโดยป้อนชื่อและอายุ (เดือนเกิดเป็นตัวเลือก)
  5. เลือกการตั้งค่าเนื้อหาสำหรับเด็กแต่ละคน มี 4 ตัวเลือก ได้แก่ เด็กก่อนวัยเรียน (0-4 ขวบ) เด็กโต (อายุ 5-7 ปี) เด็กโต (อายุ 8-12 ปี)* และ “อนุมัติเนื้อหาด้วยตัวเอง”

 

อ่านต่อ >>แนะนำ ช่อง ยูทูป ที่มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับเด็ก มีสาระ คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up