ฝุ่น PM2.5

ฝุ่น PM2.5 ภายในบ้าน อันตรายที่คุณควรรู้!!

event
ฝุ่น PM2.5
ฝุ่น PM2.5

ฝุ่น PM2.5 ที่กำลังก่อปัญหาหนักในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า หากเราหลบอยู่แต่ในบ้าน จะสามารถหลีกเลี่ยงได้ไหม เรามีคำตอบจากคุณหมอมาฝากกัน

ฝุ่น PM2.5 ภายในบ้าน อันตรายที่คุณควรรู้!!

เมื่อปัญหาฝุ่นควันพิษยังไม่ได้รับการแก้ไข ในวันที่ค่า ฝุ่น PM2.5 กลับมาสูงอีกครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะในเด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดผลเสียต่อปัญหาสุขภาพมากกว่า เราควรตระหนักถึงอันตรายของเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้กันได้แล้วหรือยัง??

ฝุ่น PM2.5อันตรายแค่ไหน??

มลพิษทางอากาศที่มีอันตรายต่อสุขภาพมากที่สุด คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ในปีพ.ศ. 2561 มีพื้นที่ 28 แห่งจาก 53 แห่ง (ใน 29 จังหวัด) ที่มีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินมาตรฐานในบรรยากาศของประเทศไทยซึ่งกำหนดไว้ที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์และพื้นที่เมืองทั้ง 53 แห่ง ยังมีความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายปีเกินค่าตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกซึ่งกำหนดไว้ที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อเด็กเล็ก
ฝุ่น PM2.5 อันตรายต่อเด็กเล็ก

จากการศึกษาโดย Institute for Health and Evaluation, University of Washington สนับสนุนโดย ธนาคารโลก พบว่า มลพิษทางอากาศเป็นปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เนื่องจากมีส่วนประกอบของสารเคมีหลายชนิดทั้งที่เป็นสารระคายเคืองไปจนถึงสารก่อมะเร็งจึงเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรค ได้แก่

  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคติดเชื้อเฉียบพลันระบบหายใจส่วนล่าง สำหรับก๊าซโอโซนเป็นสารระคายเคืองปอด ทำให้ปอดติดเชื้อง่าย จึงเป็นปัจจัยร่วมอันก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ฝุ่น PM2.5 ถูกพิจารณาว่าเป็นมลพิษที่มีผลกระทบกับสุขภาพมากที่สุดในบรรดามลพิษทางอากาศโดยทั่วไป เนื่องด้วยขนาดที่เล็กมาก PM2.5 สามารถเข้าไปสู่ระบบทางเดินหายใจของมนุษย์ได้ และจากนั้นก็ไปทั่วร่างกาย ฝุ่น PM 2.5 นี้ยังสามารถรวมตัวกับสารมลพิษ เช่น สารไฮโดรคาร์บอน และโลหะหนัก และด้วยขนาดที่เล็กมากจึงสามารถลอดผ่านการกรองของขนจมูก ไปยังหลอดลม และลงลึกจนถึงถุงลมปอด ซึมเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เป็นสาเหตุของผลกระทบด้านสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวมากมาย จากข้อมูล State of Global Air ระบุว่า PM2.5 ก่อให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประเทศไทยประมาณ 37,500 ราย นี่คือวิกฤตด้านสาธารณสุขโดยที่เด็ก คนสูงวัยและกลุ่มประชากรเสี่ยงในสังคมได้รับผลกระทบมากที่สุด

คุณกำลังก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 อยู่หรือไม่??

PM2.5 มาจากทั้งแหล่งกำเนิดปฐมภูมิ เช่น การคมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล การเผาในที่โล่งและอุตสาหกรรมการผลิต และแหล่งกำเนิดแบบทุติยภูมิ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมีในบรรยากาศโดยมีสารกลุ่มซัลเฟอร์หรือกลุ่มไนโตรเจนและแอมโมเนียเป็นสารตั้งต้น ดังนั้น การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์และออกไซด์ของไนโตรเจนจากแหล่งกำเนิดต่างๆ โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและการผลิตทางอุตสาหกรรม เมื่อเกิดการรวมตัวกันในบรรยากาศจะมีผลต่อการก่อตัวของ PM2.5 ขั้นทุติยภูมิอีกด้วย

มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM2.5
มลพิษทางอากาศ ฝุ่น PM2.5

รู้หรือไม่?? กิจกรรมในครัวเรือน ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศได้!!

การก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 แม้ว่าโดยหลัก ๆ แล้วจะเกิดจากการคมนาคม อุตสาหกรรม ต่าง ๆ มากที่สุด แต่ใช่ว่ากิจวัตรประจำวันของมนุษย์เราจะไม่ได้มีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทำให้เกิดฝุ่นพิษได้ ดังนี้

  1. การสูบบุหรี่ บุหรี่ 1 มวน ประกอบด้วย ใบยาสูบ กระดาษที่ใช้มวน และสารเคมีหลายร้อยชนิด แต่เมื่อเกิดการเผาไหม้จะทำให้เกิดสารเคมีกว่า 4000 ชนิด ในขณะที่ไม่มีการสูดควันปลายบุหรี่จะมีความร้อนสูงมาก และเมื่อควันที่ปลายบุหรี่เจออากาศ ก็จะทำให้สารบางชนิดเกิดปฎิกิริยากลายเป็นสารพิษ เช่น ไนโตรเจนออกไซด์ ยิ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนมากขึ้น ก็จะจับตัวกับออกซิเจน กลายเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์
  2. การจุดธูปเทียน เมื่อเราจุดธูปจะเกิดการเผาไหม้ของขี้เลื่อย กาว และน้ำหอมในธูป สารต่าง ๆ หลายตัวจะถูกปล่อยออกมาคล้ายกับที่พบในควันบุหรี่ และควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซมีเทน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนเจนไดออกไซด์ และสารก่อมะเร็ง
  3. เครื่องถ่ายเอกสาร ในกระบวนการถ่ายเอกสาร ก๊าซโอโซนเป็นก๊าซหลักที่เกิดขึ้นจากการอัดและปล่อยประจุไฟฟ้าที่ลูกกลิ้ง และกระดาษ อีกทั้งก๊าซโอโซนบางส่วนยังเกิดจากแสงอัลตราไวโอเลต จากหลอดไฟพลังงานสูงในเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งก๊าซโอโซนนี้เป็นก๊าซที่มีความเป็นพิษสูง ทำลายสุขภาพมากที่สุดในบรรดาสารหรือก๊าซอันตรายต่าง ๆ นอกจากโอโซนแล้ว มลพิษจากกระบวนการถ่ายเอกสารที่พบมาก คือ สารประกอบอินทรีย์ระเหย VOCs (Volatile Organic Compounds)
  4. การหุงต้มด้วยถ่านไม้ หรือฟืน ซึ่งพบได้ในชนบทส่วนมาก หรือแม้แต่การเผาขยะ เป็นต้น

ใครว่าหลบแต่ในบ้านจะหลีกเลี่ยงฝุ่นพิษได้??

ต่อข้อคำถามดังกล่าว เราขออนุญาตนำความรู้เกี่ยวกับฝุ่น PM2.ภายในบ้าน จากคลิปดี ๆ ของ อ.นพ.มงคล สมพรรัตนพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จะมาเล่าถึงงานวิจัยที่แสดงว่า ค่าฝุ่น PM2.5 ภายนอกบ้านส่งผลต่อค่าฝุ่นภายในบ้านด้วย อีกทั้งยังพบว่ามีบางบ้านที่ภายในบ้านมีค่าฝุ่น PM2.5 สูงกว่าภายนอกอีกด้วย จริง ๆ แล้วฝุ่น PM2.5 ภายในบ้านเกิดขึ้นได้อย่างไร และเราจะมีวิธีป้องกันมันได้หรือเปล่า มาฟังกัน

 

ขอขอบคุณคลิปดีๆ  จาก @mahidolchannel

อ่านต่อ >> วิธีป้องกันฝุ่นพิษจิ๋ว PM2.5 ทำได้อย่างไร คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up