ลูกหูหนวก

วิธีสังเกตและทดสอบว่า ลูกหูหนวก หรือไม่ (ตั้งแต่แรกเกิด- 2ปี)

event
ลูกหูหนวก
ลูกหูหนวก

ขอบคุณเรื่องและคลิปวีดีโอจาก : DramaNews 24

รวมปฏิกิริยาของเด็กๆ หลังการได้ยินเสียงครั้งแรก

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : RWL de Bruijn

หู ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญเกือบจะที่สุดสำหรับมนุษย์ รองจากดวงตา โดย หู มีหน้าที่รับเสียง และสั่งการไปทางสมองเพื่อให้ร่างกายของเรานั้นทำตามสมองสั่ง ถ้าหากเกิดขึ้นกับตัวเองหรือลูกน้อยของเรา การใช้ชีวิตอยู่กับสังคมในปัจจุบันนั้นก็อาจค่อนข้างที่จะลำบากมากในยุคนี้ เพราะการสื่อสารหรือการพูดคุยเพื่อเจรจาจะทำได้ยาก

ทั้งนี้เด็กทารกที่ไม่มีความผิดปกติทางด้านการฟัง จะได้ยินเสียงของคุณแม่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แล้วเป็นระยะๆ แต่เสียงของครรภ์นั้นต้องนับว่าต้องเป็นเสียงที่ดังมาก พอเด็กคลอดออกมา ประสาทสัมผัสแรกที่รับรู้ก็คือเสียง ในช่วงแรกเด็กทารกจะได้ยินเสียงแตกต่างกับผู้ใหญ่ และค่อยๆ พัฒนาการรับรู้เสียงได้ดีขึ้นก็ต่อเมื่อมีอายุครบ 1 ปีเต็ม

ความบกพร่องทางการได้ยินในทารก

อาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม การติดเชื้อบางประเภท เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) การได้รับยาที่ก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและเส้นประสาทในการได้ยิน การฟังเสียงที่ดังเกินไป รวมไปถึงปัจจัยด้านอายุ

ทั้งนี้แม้ว่าความบกพร่องทางการได้ยินจะนำไปสู่ปัญหาทางด้านพฤติกรรม สังคม อารมณ์ และการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังส่งผลกระทบในระยะยาวเพราะอาจเป็นอุปสรรคต่อชีวิตการทำงานในอนาคต รวมทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป อย่างไรก็ตาม งานวิจัยกล่าวว่ากว่าครึ่งของอาการหูตึงและหูหนวกสามารถป้องกันไม่ให้ลุกลามได้ หากได้รับการรักษาที่สาเหตุด้วยสาธารณสุขมูลฐาน

สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยิน

สามารถจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยอันเกิดแต่กำเนิดและปัจจัยที่ได้รับมาหลังกำเนิด

ปัจจัยอันเกิดแต่กำเนิด  นำไปสู่ภาวะบกพร่องทางการได้ยินในทันทีหลังกำเนิด หรือหลังกำเนิดเพียงเล็กน้อย โดยอาจเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ ปัจจัยทางพันธุกรรมซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หรืออาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน ตอนอยู่ในครรภ์ รวมทั้งในช่วงแรกเกิด ซึ่งโดยทั่วไป สาเหตุของความบกพร่องทางการได้ยินอันเกิดแต่กำเนิด มักได้แก่

  • โรคหัดเยอรมัน (Rubella) ซิฟิลิส (Syphilis) หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ อันเกิดต่อมารดาในขณะตั้งครรภ์
  • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
  • ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด (birth asphyxia)
  • การใช้ยาที่ก่อให้เกิดพิษต่ออวัยวะและประสาทในการได้ยินอย่างไม่เหมาะสมในขณะตั้งครรภ์ เช่น อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) เป็นต้น
  • เด็กเป็นโรคดีซ่านฉับพลัน (Severe Jaundice) ในช่วงแรกเกิด ซึ่งสามารถทำลายเส้นประสาทการในได้ยินของทารกได้

อ่านต่อ >> “วิธีการสังเกตการได้ยินของลูก (ตั้งแต่แรกเกิด-2ปี)” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up