แม่ ตูน บอดี้สแลม

นี่คือวิธีเลี้ยงลูก! ของคุณแม่ “ตูน บอดี้สแลม” ผู้ชายที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศหลงรัก (มีคลิป)

event
แม่ ตูน บอดี้สแลม
แม่ ตูน บอดี้สแลม

ตูน บอดี้สแลม

เพราะความมีน้ำใจคือความรู้สึกดีๆ ที่มีให้ผู้อื่น รวมถึงความรู้สึกดีๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากการให้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวิธีการที่จะสอนเด็กๆ ให้มีน้ำใจจึงต้องเป็นวิธีที่สามารถทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นก่อน แล้วความมีน้ำใจของเด็กๆ ก็จะเกิดขึ้นเองโดยปริยาย!

1. เป็นตัวอย่างที่ดี

เด็กในวัยนี้เห็นพ่อแม่เป็นต้นแบบของเขา ดังนั้นวิธีนี้จึงง่ายที่สุดค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่แสดงให้เห็นว่ามีน้ำใจช่วยเหลือผู้คนรอบข้างบ่อยๆ เขาก็จะซึมซับพฤติกรรมนี้ไปด้วย

2. สร้างบรรยากาศอบอุ่นในครอบครัว

ผลวิจัยพบว่า ถ้าได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวที่อบอุ่น เด็กส่วนใหญ่จะเติบโตมาเป็นผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ ตรงกันข้ามกับเด็กที่ไม่ได้รับความรักมักมีแนวโน้มว่าจะโตมาเป็นคนเห็นแก่ตัว นั่นก็เพราะเขาไม่เคย “ได้รับ” จึงไม่มีโอกาสเรียนรู้ที่จะ “ให้”

3. เมื่อเขาได้ “รับ” ให้ถามความรู้สึก

เมื่อลูกได้รับของจากผู้อื่น หรือมีคนทำอะไรให้เขา ลองถามลูกว่ารู้สึกอย่างไร และเสริมว่า ถ้าลูกทำแบบนี้ คนอื่นก็จะรู้สึกดีแบบลูกเหมือนกัน จะช่วยให้เขาเห็นภาพได้ง่ายขึ้นว่าการ “ให้” นั้นดีอย่างไร

4. ชวนลูก “ให้” อย่างสม่ำเสมอ

ไม่ว่าจะเป็นการชวนลูกไปบริจาคสิ่งของหรือช่วยเหลืองานต่างๆ ที่เขาสามารถทำได้ หากได้ไปยังสถานที่จริงและเขาได้สัมผัสว่าคนที่ได้รับของหรือรับน้ำใจจากเขานั้นรู้สึกดีใจแค่ไหน ก็จะยิ่งส่งเสริมให้ลูกรู้สึกดีกับ “การให้” ได้ดีขึ้นค่ะ

ทำไมเวลาสอนลูกให้มีน้ำใจ เช่น บอกให้เด็กแบ่งของเล่นให้ผู้อื่นถึงไม่ค่อยประสบผลสำเร็จ?

ตูน บอดี้สแลม

เนื่องจากการบอกไม่สามารถทำให้เด็กเกิดความรู้สึกเห็นอกเห็นใจหรือเกิดความรู้สึกดีกับผู้อื่นได้ ในทางตรงข้ามกลับทำให้เด็กรู้สึกหวงแหนและเกิดความคับข้องใจ ครั้นแบ่งให้ก็กลัวว่าจะไม่ได้คืน แต่ครั้นไม่แบ่งก็เกรงจะถูกต่อว่าได้ เด็กจึงแบ่งให้เพราะความกลัวหรือตัดสินใจว่าจะไม่แบ่งก็เพราะความหวงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ความมีน้ำใจเป็นเรื่องของความรู้สึกที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ เราจึงไม่สามารถสอนเด็กๆ ให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนมีน้ำใจได้จากการพูดสอนด้วยปากเปล่าเท่านั้น แต่ต้องทำให้ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่เด็กๆ สามารถจับต้องได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นเรื่องใกล้ตัว โดยการช่วยสนับสนุนให้ลูกของเราลงมือแสดงความมีน้ำใจให้ผู้อื่นจึงมี 3 ขั้นตอนดังนี้

  1. ขั้นเตรียมน้ำใจ คือการสร้างความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อผู้อื่น ทำได้โดยการอธิบายสถานการณ์ที่น่าเห็นอกเห็นใจหรือสถานการณ์ที่ผู้อื่นต้องการความช่วยเหลือ เพื่อช่วยให้ลูกเกิดความตระหนักถึงความรู้สึกของผู้อื่น

ยกตัวอย่างเช่น หากมีญาติที่กำลังไม่สบายอยู่ ถือเป็นโอกาสดีที่จะให้ลูกมีส่วนร่วมในการรับรู้ว่าญาติของเรากำลังป่วยเป็นอะไร และให้ลูกช่วยออกความคิดเห็นว่าจะให้กำลังใจญาติที่ป่วยอย่างไรดี โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่างในการแสดงความรู้สึกเห็นใจผู้อื่นและแสดงถึงน้ำใจที่อยากจะช่วยเหลือ

  1. ขั้นให้น้ำใจ คือขั้นลงมือปฏิบัติให้ลูกได้แสดงความมีน้ำใจเลยจริงๆยกตัวเช่นเมื่อลูกตกลงว่าจะช่วยแม่ทำอาหารเพื่อไปเยี่ยมญาติคุณแม่ก็ต้องแบ่งหน้าที่ให้ลูกได้ช่วยทำกับข้าวจริงๆและพาเขาไปเยี่ยมไข้กับคุณแม่ด้วย

ความสำคัญของขั้นนี้คือ โอกาสที่ลูกจะได้สัมผัสความรู้สึกของการเป็นผู้ให้ด้วยตัวของเขาเอง เริ่มตั้งแต่การรับรู้ว่าความปรารถนาดีต่อผู้อื่นที่เกิดขึ้นในใจของเขาเป็นความรู้สึกอย่างไรการมองเห็นผลว่าสิ่งที่เขาทำให้กับผู้อื่นเป็นอย่างไรและสุดท้ายคือความรู้สึกดีๆที่เกิดขึ้นหลังจากการให้นั้นอิ่มเอมหัวใจมากแค่ไหนเป็นต้น

  1. ขั้นมีน้ำใจ คือขั้นการเน้นย้ำให้ลูกเกิดความตระหนักในตัวตนว่าเขาเป็นคนมีน้ำใจและมีความสามารถในการช่วยเหลือผู้อื่นให้ลูกเข้าใจว่าความมีน้ำใจเป็นเรื่องของทุกคนไม่ได้เป็นแค่เรื่องของผู้ใหญ่เท่านั้นและไม่จำเป็นต้องรอให้โตขึ้นก่อนแล้วถึงค่อยทำ ขั้นนี้ทำได้ง่ายๆ ด้วยการพูดคุยกับลูกถึงสถานการณ์ที่เพิ่งผ่านมาว่าลูกมองเห็นอะไรคิดอย่างไรและรู้สึกอย่างไรและคุณพ่อคุณแม่รู้สึกอย่างไรที่ลูกสามารถแสดงความมีน้ำใจให้ผู้อื่นได้

นอกจากนี้การให้โอกาสลูกได้พูดถึงความรู้สึกของลูกเองในสถานการณ์ที่เขาเคยได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นมาก่อนว่ารู้สึกอย่างไรและนำความรู้สึกนี้มาเปรียบเทียบให้ลูกเห็นว่าเป็นความรู้สึกแบบเดียวกันกับที่เขาได้มอบให้ผู้อื่นเช่นกันก็จะสามารถช่วยเขาให้เข้าใจถึงความมีน้ำใจได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นด้วย

อันที่จริงแล้วเด็กๆ ทุกคนเกิดขึ้นมาพร้อมกับความปรารถนาที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุข แต่บางครั้งสิ่งแวดล้อมและวิธีการเลี้ยงดูทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และฝึกฝน วิธีการสอนลูกให้มีน้ำใจทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ จะช่วยปลูกฝังให้ลูกรู้ว่าความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่เขาทำได้และจำเป็นต้องกระทำ เพราะลูกมองเห็นได้ชัดเจนว่าคุณพ่อคุณแม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้จากการที่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ชวนลูกให้ร่วมทำ สนับสนุนให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังมีการชื่นชมและพูดคุยถึงเรื่องนี้อีกครั้ง จนกระทั่งความมีน้ำใจนั้นเกิดความกระจ่างในใจของลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะพบว่า ความมีน้ำใจของลูกเรานั้นเกิดขึ้นได้ทันทีในพริบตา!

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


เรื่องจาก : ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร  อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความโดย บรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up