ลูกไม่ยอมให้กอด

แม่ใจหาย! ลูกไม่ยอมให้กอด ทำตัวเหินห่างไม่เหมือนตอนเด็ก เป็นเพราะอะไร?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่ยอมให้กอด
ลูกไม่ยอมให้กอด

ลูกไม่ยอมให้กอด – ช่วงเวลาที่มีความสุขของคนเป็นพ่อแม่คงไม่พ้นการได้อยู่ใกล้ชิดกับลูก ตั้งแต่วันแรกที่เจ้าตัวน้อยลืมตาดูโลกเป็นห้วงเวลาที่แสนพิเศษที่บางครั้งก็บรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ การได้ยินลูกส่งเสียงร้องอุแว้ ๆ ครั้งแรก ได้เห็นแววตาอันบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ได้ยินลูกพูดส่งเสียงที่มีความหมายครั้งแรก พ่อแม่เฝ้าดูแลประคบประหงมไม่ห่างจนลูกค่อยๆ เติบใหญ่ จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี ตลอดช่วงเวลาแห่งความสุขที่ผ่านพ้นทั้งหมดการได้แสดงความรักกับลูก ทั้งการได้อุ้มลูก หอม กอด จูบ ล้วนสร้างความสุขและสายสัมพันธ์อันดีด้วยสัมผัสแห่งรักระหว่างพ่อแม่ลูกได้ในแบบที่ไม่มีความรู้สึกไหนจะเทียบได้

แต่แน่นอนว่าช่วงเวลาแห่งความสุขมักมีจำกัด เมื่อเวลาผ่านไป ความใกล้ชิดที่ลูกเคยมีให้อาจค่อยๆ เปลี่ยนแปลง จากที่เคยยินยอมให้พ่อแม่แสดงความรักหอม กอด จูบ อย่างเต็มใจ แต่เมื่อถึงวัยหนึ่งของชีวิตลูกกลับมีท่าทีต่อต้านไม่ต้องการให้พ่อแม่แสดงความรักเหมือนครั้งที่พวกเขายังเป็นเด็กตัวเล็กๆ จนบางครั้งหัวอกพ่อแม่อดรู้สึกใจหายสะเทือนใจไม่ได้เมื่อนึกย้อนถึงวันเก่าๆ

แม่ใจหาย! ลูกไม่ยอมให้กอด ทำตัวเหินห่างไม่เหมือนตอนเด็ก เป็นเพราะอะไร?

เด็กวัยรุ่นกับการแสดงความรักของพ่อแม่

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการแสดงออกแบบเด็กๆ เพื่อเริ่มต้นการเดินทางสู่การเป็นวัยรุ่น ส่วนใหญ่เริ่มที่ อายุประมาณ 9-13 ปี ซึ่งเป็นวัยที่เด็กๆ จะเริ่มโตเป็นหนุ่มสาว เริ่มมีการปฏิเสธ หรือต่อต้านวิธีการแบบเด็กๆ ที่พ่อแม่คุ้นเคย  เช่น หอม กอด จูบ ตลอดจนความสนใจ และความชอบต่างๆ ที่เปลี่ยนไป เด็กวัยแรกรุ่นจะเริ่มวางตัวเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เมื่อวางตัวเป็นผู้ใหญ่ขึ้นก็เป็นธรรมดาที่พวกเขาอาจเลือกที่จะละทิ้งการแสดงความรู้สึกและการยอมรับการแสดงความรักทางกายกับพ่อแม่ไป เพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ต้องการถูกนิยาม และปฏิบัติเหมือนตอนเป็นเด็กตัวเล็กๆ อีกต่อไป

สิ่งที่พ่อแม่อาจเผชิญในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อนี้ คือ ลูกชายหรือลูกสาวอาจแสดงความขัดแย้ง และไม่ตอบสนองทางร่างกาย ปฏิเสธการแสดงความรักแบบเก่าๆ พวกเขาอาจรู้สึกว่ามันไม่เหมาะสม หรือแม่แต่รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอายโดยเฉพาะเมือ่พ่อแม่แสดงความรักต่อเขาต่อหน้าเพื่อนๆ ของพวกเขา หรือในที่สาธารณะ อย่างไรก็ตาม เบื้องหลังของการแสดงออกของลูกเมื่อเริ่มโตเป็นวัยรุ่นอาจมีความซับซ้อนกว่านั้นแบบที่พ่อแม่อาจนึกไม่ถึง ซึ่งต่อไปนี้อาจเป็นเหตุผลบางประการที่อาจกระตุ้นให้ลูกปฏิเสธพ่อแม่ หรือต่อต้านการแสดงความรักจากพ่อและแม่ได้

1. พ่อแม่ปฏิบัติต่อพวกเขาเหมือนยังเป็นเด็ก

วัยรุ่นต้องการรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่ขึ้น  ยิ่งเราทำให้ลูกรู้สึกว่าได้รับความเคารพและได้รับเกียรติในฐานะผู้ใหญ่ที่แตกต่างจากตอนพวกเขายังเด็กมากเท่าไร พวกเขาก็จะยิ่งมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น แม้ว่าพวกเขาจะยังทำตัวเหมือนเด็กบ้างในบางครั้งก็ตาม แต่มันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะสนับสนุนความเป็นผู้ใหญ่ในตัวพวกเขาด้วยความเข้าใจในพัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก

ดังนั้นเมื่อลูกๆ ของเราเริ่มเป็นวัยรุ่น เราจำเป็นต้องปรับวิธีที่เราปฏิบัติต่อพวกเขา ด้วยการเปลี่ยนวิธีที่เราเคยสื่อสารกับลูกๆ จำไว้ว่าถึงเวลายกระดับมาตรฐาน และสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่อย่างภาคภูมิ การปฏิบัติต่อลูกแบบผู้ใหญ่จะทำให้ลูกตอบสนองกับพ่อแม่ในเชิงบวกได้ดี

ลูกไม่ยอมให้กอด
ลูกไม่ยอมให้กอด

2. ให้อิสระกับลูกมากเกินไป

บางครั้งคุณอาจคิดว่าการเป็นพ่อแม่ที่ให้ลูกวัยรุ่นมีอิสระอย่างเต็มที่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูก แต่มันอาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป การให้อิสระแก่วัยรุ่นมากเกินไปหรือเร็วเกินไป อาจนำพาพวกเขาเข้าสู่ความยากลำบากของสังคมภายนอกที่พวกเขาอาจจะยังไม่พร้อม เช่น การเผชิญกับแรงกดดันจากคนรอบข้างที่พวกเขาไม่รู้ว่าจะรับมืออย่างไร ซึ่งผลลัพธ์คือลูกจะพยายามปรับตัวเข้ากับที่อื่นและไม่ต้องการแบ่งปันเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตกับพ่อแม่

3. วิพากษ์วิจารณ์ลูกมากเกินไป

หากลูกๆ ของคุณรู้สึกว่าทุกครั้งที่พวกเขาอยู่บ้าน พวกเขามักถูกพ่อแม่จู้จี้ขี้บ่น พวกเขาจะหาวิธีที่จะไม่อยู่ติดบ้าน แน่นอนว่าเมื่อลูกเริ่มเป็นวัยรุ่นก็มีสิ่งที่เราต้องสั่งสอน และวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้ลูกเรามีพฤติกรรมและจิตสำนึกที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคม แต่เราต้องเลือกที่จะสอนพวกเขาอย่างชาญฉลาด การสร้างสมดุลในการแก้ไขปัญหาและการวิจารณ์ของเราด้วยการให้กำลังใจที่ดีต่อสุขภาพจิตของลูก ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน คำพูดที่ให้กำลังใจ และแสดงถึงความเข้าใจในตัวลูกอย่างเฉพาะเจาะจงสเพียงไม่กี่คำสามารถพลิกสถานการณ์ที่ย่ำแย่ระหว่างพ่อแม่ลูกให้ดีขึ้นได้

4. สภาพแวดล้อมในบ้านไม่พึงประสงค์

ไม่ว่าคุณจะเครียดตลอดเวลา ทะเลาะกับคู่สมรส หรือแค่เดินไปรอบๆ บ้านท่ามกลางอารมณ์ฉุนเฉียวหงุดหงิดหัวเสียให้ลูกเห็นบ่อยๆ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านั้นย่อมส่งผลกระทบทางลบต่อลูกของคุณอย่างแน่นอน เมื่อพวกเขายังเด็กพวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยมีความสุขมากนัก แต่เมื่อพวกเขาโตเป็นวัยรุ่นพวกเขาสามารถคำนึงถึงทางเลือกต่างๆ ที่จะหลีกหนีสภาพแวดล้อมที่พวกเขาต้องพบเจอ แน่นอนว่าพวกเขาไม่ต้องการอยู่ในที่ที่ไม่มีความสุข

ดังนั้นคุณอาจต้องการย้อนกลับมามองและพิจารณาสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศภายในบ้านของคุณ บางทีคุณอาจมีบางอย่างที่ต้องจัดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มองหาวิธีที่จะทำให้บรรยากาศภายในบ้านน่าอยู่ยิ่งขึ้น แล้วคุณจะแปลกใจที่พบว่าลูกวัยรุ่นของคุณเปิดรับและยอมรับคุณมากขึ้น หรืออยู่ติดบ้านมากขึ้น

5. ไม่รับฟังลูก ไม่แสดงความสนใจในสิ่งที่ลูกวัยรุ่นสนใจ

วัยรุ่นมีความคิด ความคิดเห็น คำถาม และข้อกังวลต่างๆ อยู่เสมอ แม้แต่วัยรุ่นที่ไม่ค่อยพูดจาก็ยังมีเรื่องมากมายเกิดขึ้นในหัว หากคุณยุ่งเกินกว่าจะรับฟังความคิดเห็นในแต่ละวันของลูกวัยรุ่น พวกเขาจะมองหาใครสักคนที่ให้ความสนใจเขาหรือใครสักคนพวกเขา เราจะได้รับความไว้วางใจจากวัยรุ่นสำหรับการสนทนาครั้งใหญ่ก็ต่อเมื่อเราพร้อมสำหรับการสนทนาทุกวัน

แน่นอนว่าอาจเป็นเรื่องยากถ้าเราเรางานยุ่ง หรือมีเรื่องมากมายที่ต้องให้คิดให้ทำในแต่ละวัน อย่างไรก็ตามควรให้ความสนใจและใส่ใจลูกเท่าที่คุณจะทำได้ พยายามหยุดและฟังเมื่อวัยรุ่นของคุณมีเรื่องจะพูด หยุดการกระทำทุกอย่างก่อน และสบตาวัยรุ่นของคุณเมื่อพวกเขาพูด แสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณเห็นคุณค่าในสิ่งที่พวกเขาพูด สิ่งนี้สามารถสร้างความแตกต่างให้กับความสัมพันธ์ของคุณกับลูกวัยรุ่นได้

6. พ่อแม่ไม่รับผิดชอบในความผิดพลาดของตัวเอง

หากพ่อแม่ทำผิดแล้วไม่ยอมรับในความผิดของตัวเอง หากบ่อยเข้าลูกวัยรุ่นจะหมดความเคารพต่อเราได้ง่ายๆ เมื่อคุณรู้ตัวว่าทำบางอย่างผิดต่อลูก สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือเข้าหาลูกด้วยความนอบน้อม ขอให้ลูกอภัย และขอเริ่มต้นใหม่ แม้ว่าพวกเขาอาจจะให้อภัยได้ไม่เร็วเหมือนตอนที่ยังเป็นเด็ก แต่วัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพ่อแม่ ลองให้เวลาพวกเขาบ้าง วิธีนี้จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกของคุณ แม้ว่าพวกเขาจะเติบโตขึ้นและเป็นตัวของตัวเองแค่ไหนก็ตาม

วิธีจัดการพฤติกรรมลูกวัยรุ่น

หากคุณพบว่าตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากจากพฤติกรรมของลูกที่เข้าเริ่มปรับเปลี่ยนสู่การเป็นวัยรุ่น ให้เตือนตัวเองว่าคุณไม่ได้โดดเดี่ยว มีพ่อแม่อีกมากมายที่ประสบปัญหาแบบเดียวกับคุณ ต่อไปนี้คือคำแนะนำบางประการในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากสถานการณ์นี้ คำแนะนำต่อไปนี้จะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อความสัมพันธุ์กับลูกวัยรุ่นของคุณได้ดียิ่งขึ้น

ทานอาหารร่วมโต๊ะ : การเตรียมอาหารอาจดูน่าเบื่อ  แต่การทานอาหารร่วมกันของครอบครัวจะช่วยสร้างสรรค์เวลาอันมีค่าร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก ดังนั้นควรกำหนดเวลามื้ออาหารของครอบครัวให้เหมือนกับที่คุณทำกับกิจกรรมอื่นๆ นั่งลงด้วยกัน ทานอาหารพร้อมหน้า ปิดทีวีและสิ่งรบกวนต่างๆ หากไม่สามารถทำทุกวัน ให้จัดตารางอาหารค่ำประจำสัปดาห์ของครอบครัวที่เหมาะกับตารางเวลาของเด็กๆ ทำให้เป็นเรื่องสนุก และให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหารหรือทำความสะอาด การแบ่งปันหน้าที่และมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน จะช่วยสร้างความใกล้ชิดได้เป็นอย่างดี

ทำช่วงเวลาก่อนนอนให้มีคุณค่า : ลูกของคุณไม่จำเป็นต้องนอนกับคุณอีกต่อไป แต่การรักษากิจวัตรเวลานอนที่สม่ำเสมอจะช่วยให้เด็กๆ ได้นอนหลับที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ดังนั้นควรใช้เวลาร่วมกันก่อนที่จะดับไฟในห้องนอน หรือแยกย้ายกันเข้านอน เช่น อ่านหนังสือด้วยกัน พูดถึงเรื่องที่ทำในวันนี้ และจะทำในวันพรุ่งนี้ และแม้ว่าลูกของคุณจะโตเกินกิจวัตรประจำวันแล้ว แต่อย่างน้อยรับรองว่ายังมีที่ว่างให้การจูบหรือกอดก่อนนอนแน่นอน

แบ่งปันช่วงเวลาดีๆ กับลูก: หาโอกาสให้คุณกับลูกได้ออกไปเที่ยวด้วยกัน พาสุนัขไปเดินเล่น วิ่งออกกำลังกายกับลูก ช่วยกันล้างรถ อบคุกกี้  ดูรายการทีวีเรื่องโปรด ทั้งหมดนี้ถือเป็นโอกาสที่จะได้สานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่ลูก และยังเป็นโอกาสให้เด็กๆ ได้พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในใจ แม้แต่การนั่งรถก็เป็นโอกาสในการได้สื่อสารกัน เมื่อคุณกำลังขับรถวัยรุ่นของคุณมีแนวโน้มที่จะพูดถึงปัญหาที่น่าหนักใจที่กำลังพบเจออยู่ เนื่องจากคุณจดจ่ออยู่กับท้องถนน เขาหรือเธอจึงไม่ต้องสบตา ซึ่งจะช่วยลดความรู้สึกไม่สบายใจในการพูดเปิดใจกับพ่อแมได้

ลูกไม่ยอมให้กอด

 

สร้างเวลาพิเศษร่วมกัน: สร้างประเพณีจากการเฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญของครอบครัวนอกเหนือจากวันเกิดและวันหยุด การทำเครื่องหมายโอกาสเล็ก ๆ เช่นบัตรรายงานที่ดีหรือเกมฟุตบอลที่ชนะช่วยเสริมสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัว

แสดงความรักอย่างเหมาะสม : อย่าดูถูกคุณค่าของการพูดและแสดงความรักต่อลูก การทำเช่นนี้จะช่วยให้เด็ก รู้สึกปลอดภัยและอบอุ่นใจ เพราะคุณกำลังแสดงให้เห็นถึงวิธีที่ดีต่อสุขภาพในการแสดงความรัก อย่างไรก็ตาม เด็กที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นอาจเริ่มรู้สึกประหม่าเกี่ยวกับการแสดงความรักจากพ่อแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่สาธารณะ พวกเขาอาจปฏิเสธการกอดและจูบของคุณ

ทางแก้คือ เก็บความรักแบบตอนลูกเด็กๆ นี้ไว้สำหรับเวลาที่เพื่อนๆ พวกเขาไม่อยู่ หรือไม่ใช้วิธีนี้ในที่สาธารณะ ลองหาวิธีอื่นเพื่อแสดงว่าคุณห่วงใยหรือสามารถสื่อถึงความรู้สึกอบอุ่นในขณะที่ยังเคารพขอบเขต

มีส่วนร่วมกับลูกเสมอ :  การมีส่วนร่วมทำให้คุณกับลูกมีเวลาร่วมกัน และได้แบ่งปันประสบการณ์มากขึ้น คุณไม่จำเป็นต้องเป็นหัวหน้าหน่วยลูกเสือ แม่ของโฮมรูม หรือผู้ฝึกสอนฟุตบอลจึงจะมีส่วนร่วมได้ และลูกของคุณอาจต้องการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่คุณไม่ได้รับผิดชอบ ไม่เป็นไร. ไปที่เกมและแนวปฏิบัติเมื่อทำได้ เมื่อทำไม่ได้ ให้ถามว่าเกิดอะไรขึ้นและตั้งใจฟัง ช่วยเด็ก ๆ พูดคุยเกี่ยวกับความผิดหวังและเห็นอกเห็นใจเกี่ยวกับฟลายบอลที่พลาดไปซึ่งชนะเกมให้อีกทีมหนึ่ง ทัศนคติของคุณเกี่ยวกับความพ่ายแพ้จะสอนให้เด็กก่อนวัยเรียนของคุณยอมรับและรู้สึกโอเคกับมัน และเรียกความกล้าที่จะลองอีกครั้ง

ให้ความสนใจลูกอยู่เสมอ: ให้ความสนใจ ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ แสดงถึงความอยากรู้เกี่ยวกับความคิด ความรู้สึก แของลูก หากคุณรับฟังสิ่งที่เขาพูด คุณจะสามารถแนะนำมุมมองต่างๆ ตลอดจนสนับสนุน และตอบสนองลูกได้เหมาะสม จำไว้ว่าการรับฟังโดยไม่ตัดสินจะทำให้ลูกวัยรุ่นของคุณมีแนวโน้มที่จะเข้าหาคุณมากขึ้นทุกเมื่อที่มีปัญหายากๆ ในชีวิตเกิดขึ้น

จัดการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์:  เมื่อเด็กโตขึ้น พวกเขามักมีอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ทั้ง แท็บเล็ต  แล็ปท็อป หรือโทรศัพท์มือถือ เป็นของตัวเอง แม้ว่าการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บางอย่างจะเป็นประโยชน์สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ในการติดต่อกับเพื่อนๆ ของพวกเขา การใช้งานที่มากเกินไปหรือไม่ถูกจำกัดอาจนำไปสู่การลดคุณภาพและความถี่ในเวลาของครอบครัว ดังนั้นกำหนดขอบเขตที่สอดคล้องกับค่านิยมของคุณ ในขณะที่ให้อิสระภายในขอบเขตเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น อย่าสอดแนมในโซเชียลมีเดีย และการสนทนาด้วยข้อความ เว้นแต่จำเป็นสำหรับความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของบุตรหลานของคุณ แอพ โปรแกรม และโมเด็ม (เช่น Circle with Disney) สามารถช่วยให้คุณบังคับใช้ขอบเขตได้ สุดท้าย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้สร้างแบบจำลองการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดีต่อสุขภาพ

เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารของคุณ: ความเป็นอิสระที่เพิ่งค้นพบในช่วงก่อนวัยรุ่นของคุณอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการสื่อสาร ในขณะที่เด็กเล็กๆ อาจชื่นชมที่คุณแก้ปัญหาให้พวกเขา แต่สำหรับเด็กก่อนวัยรุ่นหลายๆ คน การพูดคุยเรื่องความท้าทายในชีวิต พวกเขาอาจไม่อยากให้พ่อแม่ช่วยแก้ปัญหาให้อีกต่อไป บางครั้งพวกเขาต้องการแค่การรับฟังและการสนับสนุน คุณอาจรู้สึกอยากช่วยแก้ปัญหาทุกปัญหาให้ลูก  แต่สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาเล็กน้อย จำไว้ว่าพวกเขาอาจต้องการแค่ที่ระบาย และการสนับสนุน  เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวของพวกเขาเอง เมื่อคุณได้ยินเกี่ยวกับปัญหาที่ไม่ต้องการวิธีแก้  ลองพูดกับลูกๆ ว่า “แม่เข้าใจได้ว่าทำไมมันถึงทำให้ลูกรู้สึกไม่ดี แม่อยู่ที่นี่นะถ้าลูกต้องการอะไร หรือต้องการพูดคุย เกี่ยวกับเรื่องนี้” ถ้าพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาจะถามคุณ แต่การพร้อมสนับสนุน การรับฟัง และความเห็นอกเห็นใจของคุณจะช่วยให้พวกเขารู้สึกมีพลังในการค้นหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : psychologytoday.com , monicaswanson.com , kidshealth.org

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

23 คำพูดให้กำลังใจ ที่เพิ่มศักยภาพลูก..สู่ความสำเร็จ

ทำความเข้าใจ โรคกลัวสังคมในเด็ก (Social Anxiety) รู้เร็ว รักษาได้!

11 เรื่องที่ ลูกต้องการจากพ่อแม่ ขอแค่นี้ ให้หนูได้ไหม?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up