กินยากับนม

กินยากับนม ได้หรือไม่? ยากับนมและเครื่องดื่มที่ห้ามกินคู่กัน

Alternative Textaccount_circle
event
กินยากับนม
กินยากับนม

กินยากับนม ได้หรือไม่? ยากับนมและเครื่องดื่มที่ห้ามกินคู่กัน

ยาที่ห้ามทานคู่กับนม

ยาห้ามกินกับอะไร
ขอบคุณข้อมูลจาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เพราะ มีปริมาณของแคลเซียมสูงจนมีโอกาสที่แคลเซียมเหล่านั้นจะเกิดปฏิกิริยากับยาที่รับประทานเข้าไป โดยการเกิดปฏิกิริยาระหว่างแคลเซียมและยามักส่งผลให้ยาหมดฤทธิ์และทำให้ประสิทธิผลของยาหมดไป

ยาที่ห้ามทานคู่กับชา/กาแฟ/น้ำอัดลม

ยาขยายหลอดลม ไม่ควรทานคู่กับกาแฟ ส่วนใหญ่แล้วเมื่อมีอาการไอหรือมีอาการหายใจไม่สะดวก เรามักจะได้ทานยาขยายหลอดลมเพื่อ่วยบรรเทาอาการหวัดดังกล่าว ทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น แต่ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้คือ ทำให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ การทานชา รวมถึงชานมไข่มุกต่าง ๆ กาแฟ และน้ำอัดลม ซึ่งมีคาเฟอีนที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วเช่นเดียวกันกับยาขยายหลอดลม การทานยาชนิดนี้คู่กับชา กาแฟ และน้ำอัดลม จะทำให้หัวใจเกิดการเต้นผิดปกติได้ สำหรับคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วก็จะสามารถทำให้อาการแย่ลงได้อย่างรวดเร็ว

ยาที่ห้ามทานคู่กับน้ำผลไม้

ยาแก้แพ้ชนิดง่วงน้อย ไม่ควรทานคู่กับน้ำส้ม เนื่องจากน้ำส้มจะทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมยาลดน้อยลง ซึ่งอาจทำให้ยามีประสิทธิภาพในการรักษาน้อยลงไปด้วย

ยาลดไขมัน (เช่นซิมวาสแตติน) ไม่ควรทานคู่กับน้ำเกรปฟรุต มีงานวิจัยพบว่าการดื่มน้ำเกรปฟรุตมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาหลายชนิด เช่น ยาลดความดัน ฟิโลดิปีน (felodipine) แอมโลดิปีน (amlodipine) ยาลดไขมันในเลือด ซิมวาสแตติน (simvasatatin) ยาคลายเครียด ไอดะซีแพม (diazepam) เนื่องจากการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในการเปลี่ยนแปลงยา จนระดับยาในเลือดสูงขึ้นและอาจเกิดอันตรายได้

ยาที่ห้ามทานคู่กับแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับยาเป็นสิ่งที่ไม่ควรกินคู่กันอยู่แล้ว ปกติแล้วเรามักไม่ทานยาพร้อมกับแอลกอฮอล์ แต่สำหรับบางคนที่ดื่มเหล้าแล้วตื่นเช้ามาปวดหัว จึงทานยาพาราเซตามอลเพื่อแก้อาการปวดหัวนั้น เป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายตับของเราได้เป็นอย่างมาก เพราะการทานยาพาราคู่กันกับเหล้าเป็นประจำ จะทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดของเสียจากตับจะลดลงไปด้วย และอาจทำให้เกิดอาการอักเสบได้

นอกจากนี้ แอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท ดังนั้นคนที่กินยาที่มีกดฤทธิ์ประสาท อย่างเช่น ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาแก้โรคซึมเศร้า ก็ต้องระวังให้มาก เพราะหากไปดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับทานยาด้วย จะยิ่งเสริมฤทธิ์กดประสาทให้รู้สึกง่วงซึม และขาดสมาธิมากขึ้น ถ้ารุนแรงก็อาจถึงขั้นหมดสติและหยุดหายใจได้เลย

แนวทางการทานยาให้เกิดประสิทธิผลของยาสูงที่สุด

  1. ควรทานยาพร้อมน้ำเปล่าเสมอ น้ำเปล่าทำให้ตัวยาแตกตัว ละลายและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดีที่สุด เนื่องจากน้ำเปล่าไม่มีปริมาณของแร่ธาตุหรือสารอาหารใดสูงจนเกิดปฏิกิริยากับยาและลดประสิทธิผลของยาได้ ดังนั้นแม้ในกรณีที่ไม่ทราบว่ายาสามารถรับประทานพร้อมนมหรือไม่ การรับประทานยานั้นพร้อมน้ำเปล่าก็ไม่ทำให้เกิดปัญหาใด
  2. การทานเครื่องดื่มอื่น ๆ ควรรับประทานห่างจากยา 2 ชั่วโม เพื่อป้องกันไม่ให้ยาและเครื่องดื่มนั้น ๆ เกิดปฏิกิริยากัน เวลา 2 ชั่วโมงก่อนและหลังรับประทานยา จึงมากเพียงพอที่จะทำให้เครื่องดื่มชนิดนั้นและยาไม่เคลื่อนที่ไปพบกันในระบบทางเดินอาหาร
  3. หากต้องผสมยา ควรผสมกับน้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เด็กหรือผู้ที่มีปัญหาในการกลืนอาจจำเป็นต้องผสมยาเพื่อช่วยให้กลืนยาได้ง่ายขึ้น โดยแนะนำให้ผสมยากับน้ำเปล่า น้ำหวานหรือน้ำผลไม้แล้วรับประทานยาที่ผสมนั้นให้หมดเพื่อให้ได้ปริมาณยาครบถ้วน
  4. ปรึกษาเภสัชกรหากมีข้อสงสัย แน่นอนว่าการรับประทานยาพร้อมน้ำเปล่าเป็นวิธีที่ง่ายและดีที่สุด แต่หากมีความจำเป็นต้องรับประทานยาบางชนิดพร้อมนม หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ด้วยเหตุจำเป็นใด ๆ เภสัชกรอาจให้คำแนะนำและการแก้ปัญหาสำหรับการรับประทานยานั้นให้เหมาะกับสถานการณ์ได้มากที่สุด

การกินยาคู่กับเครื่องดื่มที่เหมาะที่สุดนั้นคือน้ำเปล่านั่นเอง แต่มีเพียงยาบางชนิดเท่านั้นที่ไม่ควร กินยากับนม และเครื่องดื่มต่าง ๆ สำหรับทารกที่ยังทานนมแม่เป็นอาหารหลักอยู่นั้น หากมีความจำเป็นที่จะต้องทานยาที่ไม่ควรกินคู่กับนม ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลูกกินยายาก จัดการด้วย 7 วิธีป้อนยาแบบแนบเนียน

การใช้ยาในคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูกน้อย

ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!

รีวิว ยาน้ำแก้ไอสำหรับเด็ก ตัวไหน? ช่วยบรรเทาอาการไอและปลอดภัยกับลูกน้อย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, www.sanook.com, amarinbook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up