ลูกชอบต่อต้าน

วิธีรับมือ ลูกชอบต่อต้าน ปฏิเสธแม่ไปซะทุกเรื่อง ต้องรับมือยังไง

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกชอบต่อต้าน
ลูกชอบต่อต้าน

ลูกชอบต่อต้าน – ปัญหาที่น่าปวดหัวสำหรับคนเป็นพ่อแม่ที่มีลูกวัยกำลังซนที่หลายคนอาจเคยพบเจอ คือ เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่วัยที่เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่ออายุย่างเข้า 3 ขวบ ที่เรียกได้ว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของเด็กเล็ก ในวัยนี้ เด็กๆ อาจมีพฤติกรรม ดื้อรั้น ปฏิเสธ ไม่เชื่อฟังในสิ่งที่พ่อแม่สั่งสอนและแสดงท่าทีต่อต้านได้ทุกเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วพฤติกรรมต่างๆ ที่กล่าวมา ถือเป็นพัฒนาการปกติตามวัยของเด็กที่พ่อแม่ต้องทำความเข้าใจ แม้อาจทำให้ปวดหัว เหนื่อยหน่าย หรือหงุดหงิดได้บ้างก็ตาม แต่ถ้าหากพ่อแม่มีวิธีการรับมือกับพฤติกรรมของลูกได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยให้จัดการกับปัญหาที่น่าปวดหัวต่างๆ ได้เพื่อไม่ให้เกิดการเสียน้ำตาหรือเสียอารมณ์จนเกินไป

วิธีรับมือ ลูกชอบต่อต้าน ปฏิเสธแม่ไปซะทุกเรื่อง ต้องรับมือยังไง

ทำความเข้าใจ ทำไม ลูกชอบต่อต้าน ท้าทายไม่เชื่อฟัง

อย่างที่ทราบกันดีว่าเด็กเล็กที่ก้าวข้ามผ่านช่วงวัยเตาะแตะเข้าสู่ช่วงวัยทองของเด็ก จะค่อนข้างเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้ถึงสาเหตุที่แท้จริงของพฤติกรรมด้านลบของเด็ก รวมถึงการมีวิธีจัดการที่เหมาะสมจะช่วยให้พ่อแม่ไม่ต้องคอยต่อกรกับลูกๆ อย่างไม่รู้จบ เพราะคงไม่ใช่เรื่องที่ดีนักหากในแต่ละวันพ่อแม่ต้องมาคอยแก้ปัญหาเรื่องลูกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสาเหตุที่เด็กแสดงพฤติกรรมดื้อต่อต้านนั้นอาจเป็นไปได้หลายข้อด้วยกัน ต่อไปนี้

  • เรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่

เมื่อพ่อแม่คุยโทรศัพท์ ไปเยี่ยมเพื่อน หรือครอบครัว หรือทำงาน เด็กๆ จะรู้สึกเหมือนถูกทอดทิ้ง คิดว่าพ่อแม่ไม่สนใจหรือไม่มีเวลาให้ การแสดงความโกรธ การร้องไห้สะอึกสะอื้น หรือลงมือตีพี่น้อง จึงอาจเป็นวิธีที่ดีในการดึงดูดความสนใจจากพ่อแม่ ซึ่งแม้จะเป็นความสนใจเชิงลบ เด็ก ๆ ก็ยังรู้สึกต้องการมัน ดังนั้นการเพิกเฉยต่อพฤติกรรมเชิงลบ และการยกย่องพฤติกรรมเชิงบวก เป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจของเด็ก

  • กำลังเลียนแบบ

เด็กเรียนรู้ที่จะประพฤติตนโดยการดูแบบจากพฤติกรรมของผู้อื่น ไม่ว่าพวกเขาจะเห็นเพื่อนที่โรงเรียนประพฤติตัวไม่ดี หรือจากสิ่งที่พวกเขาเห็นในทีวี เด็กๆ จะทำซ้ำในสิ่งที่พวกเขาเห็น ดังนั้นควรจำกัดการได้รับสื่อของเด็ก ทั้งทางทีวี มือถือ หรือวิดีโอเกม ตลอดจนชีวิตจริงของเด็กๆ ที่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบความก้าวร้าว พร้อมเป็นตัวอย่างในพฤติกรรมที่ดี เพื่อสอนเด็กๆ ให้ประพฤติตนได้อย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ ที่ต้องพบเจอ

  • ทดสอบขีดจำกัด

เมื่อคุณตั้งกฎเกณฑ์และบอกเด็กๆ ว่าพวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ทำอะไรบ้าง พวกเขามักจะตรวจสอบดูว่าคุณจริงจังกับสิ่งที่พูดหรือไม่ พวกเขาอาจทดสอบเพื่อดูว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ถ้าพวกเขาฝ่าฝืนกฎ ดังนั้นควรกำหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน และปฏิบัติตามอย่างจริงจังสม่ำเสมอ  หากคุณแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพวกเขาจะได้รับผลเชิงลบทุกครั้งที่ฝ่าฝืนกฎ พวกเขาจะปฏิบัติตามกฎระเบียบของพ่อแม่ได้บ่อยขึ้น จำไว้ว่าเมื่อลูกของคุณประพฤติตัวไม่ดี ควรสอนวิธีที่ถูกต้องให้แก่พวกเขาเสมอ โดยแสดงทางเลือกอื่นแทนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้พวกเขาสามารถเรียนรู้จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้

ลูกชอบต่อต้าน
ลูกชอบต่อต้าน
  • เพื่อแสดงความเป็นอิสระ

ในขณะที่เด็กก่อนวัยเรียน เรียนรู้ที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองมากขึ้น พวกเขามักจะต้องการอวดทักษะใหม่ ๆ ของตนเอง บางครั้งจึงแสดงออกถึงความพยายามที่จะเป็นอิสระ พวกเขาอาจสร้างข้อโต้แย้งต่างๆ มากขึ้น และอาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สุภาพในบางครั้ง

  • ยังไม่รู้จักวิธีการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม

บางครั้งเด็กๆ ไม่รู้ว่าจะจัดการกับความรู้สึกของตนเองอย่างไร เมื่อรู้สึกโกรธ พวกเขาอาจดูก้าวร้าว พวกเขาอาจแสดงท่าทีต่างๆ ที่มากจนเกินไป เมื่อรู้สึกตื่นเต้น เครียด หรือเบื่อ ดังนั้นเด็กจำเป็นต้องได้เรียนรู้วิธีที่ดีนการจัดการกับความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ความเศร้า ความผิดหวัง ความคับข้องใจ และความวิตกกังวล ควรสอนเด็กๆ เกี่ยวกับการแสดงความรู้สึก ให้พวกเขาเห็นได้เข้าใจถึงวิธีที่ดีในการจัดการอารมณ์ของตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาประพฤติตัวไม่เหมาะสม เมื่อเด็กๆ ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น พวกเขาก็สามารถใช้ทักษะในการการรับมือที่ดีในการจัดการกับความรู้สึกของตนเองได้ แทนที่จะแสดงอารมณ์ออกมาไม่ดี เด็กอาจเรียนรู้ที่จะหาวิธีเพื่อสงบสติอารมณ์ของตัวเองได้ดีขึ้น

เคล็ดลับ รับมือ ลูกชอบต่อต้าน ไม่เชื่อฟัง

  • ควบคุมอารมณ์

สำคัญเหนือข้ออื่น คือการควบคุมอารมณ์ ซึ่งอาจจะพูดง่ายแต่เหมือนจะทำได้ยากสักหน่อย เนื่องจากพ่อแม่ย่อมมีส่วนได้ส่วนเสียในการควบคุมการกระทำที่ดื้อรั้นของลูกๆ การถูกกระตุ้นทางอารมณ์จากพฤติกรรมที่ไม่ดีของลูก จะส่งผลเชิงลบต่อวิธีเลือกท่าทีในการโต้ตอบกับลูก ซึ่งทำให้ยากที่จะเข้าใจถึงสาเหตุที่แท้จริง นอกจากนี้ พ่อแม่จำเป็นต้องเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องในการแสดงความรู้สึกของตัวเอง เช่น ไม่มีความสุข หรือ หงุดหงิดกับลูกของคุณ เป็นเรื่องยากที่จะเกลี้ยกล่อมเด็กที่ดื้อรั้นว่าพวกเขาควรทำตามคำแนะนำของคุณเมื่อคุณตะคอก หรือ ตะโกนใส่พวกเขา ดังนั้น สำหรับเด็กเล็ก ให้ลองใช้กลวิธี ให้พวกเขานั่งนับจำนวน หรือฝึกหายใจเข้าออกช้าๆ เพื่อช่วยให้ใจเย็นลง

  • ให้ความสนใจในเชิงบวก

การไม่ปฏิบัติตาม ไม่สนใจฟังสิ่งที่พ่อแม่บอก เป็นวิธีเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นความสนใจในเชิงลบ แต่เด็กบางคนก็ยังต้องการ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าการเพิกเฉยต่อพฤติกรรมดื้อต่อต้านของเด็กๆ นั้นมีประสิทธิภาพในการทำให้เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎระเบียบมากขึ้น นอกจากนี้ อีกวิธีหนึ่งในการรับมือพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจด้วยการไม่ปฏิบัติตาม คือ การให้ความสนใจในเชิงบวกกับลูกในทุกวัน เล่นกับเขา ใช้เวลาพูดคุยอย่างมีคุณภาพ หรือออกไปเดินเล่น เป็นต้น คุณจะพบว่าความสนใจเชิงบวกเพียงไม่กี่นาทีจะช่วยลดการพฤติกรรมดื้อต่อต้านหรือท้าทายรูปแบบต่างๆ ของเด็กๆ ได้

  • ชมเชยเมื่อลูกทำดี

แม้ว่าการสังเกตพฤติกรรมที่น่าชื่นชมของลูกอาจเป็นเรื่องยาก เนื่องจากดูเหมือนลูกจ้องแต่จะต่อต้านพ่อแม่อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ การค้นหาพฤติกรรมที่ดีของลูก เพื่อสร้างคำชมเชย คุณอาจร้องของ่ายๆ แก่ลูกของคุณเพื่อจุดประสงค์ในการยกย่องในพฤติกรรมที่ดี เช่น บนโต๊ะอาหาร คุณอาจพูดว่า “ช่วยส่งพริกไทยให้แม่หน่อยสิลูก” จากนั้น ทันทีที่พวกเขาปฏิบัติตาม คุณอาจพูดว่า “ขอบคุณที่ส่งพริกไทยให้แม่ทันทีที่ขอนะลูก ” คำชมเชย และ ชื่นชมเหล่า นี้จะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกดี และมีท่าทีตลอดจนพฤติกรรมการแสดงออกกับพ่อแม่ที่เหมาะสมขึ้นได้

  • ใช้วิธีการพูดที่ดึงดูด

หากลูกของคุณไม่ได้ยินสิ่งที่คุณพูดหรือสั่ง เพราะพวกเขากำลังสนใจ วิดีโอเกม หรือ สนใจดูการ์ตูนในมือถืออยู่  คุณอาจต้องเปลี่ยนวิธีการสื่อสารกับลูกเสียใหม่ การสบตาหรือวางมือบนไหล่ของพวกเขาจะช่วยให้คุณได้รับความสนใจจากลูกก่อนที่จะพูด ควรจัดการกับสิ่งรบกวนต่างๆ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณให้ความสนใจในสิ่งที่คุณพูด เพื่อให้พวกเขาซึมซับในสิ่งที่คุณบอกให้ทำ

งานวิจัยชี้! สอนลูกทำงานบ้าน ตั้งแต่เล็ก เด็กจะเก่งวิชาการ!

5 เทคนิค ตามใจลูก [สร้างวินัยเชิงบวก] ฝึกลูกคิดเป็น มีความรับผิดชอบ

ลูกดื้ออาจไม่ใช่เพราะการเลี้ยงดู แต่อาจเป็น โรคดื้อ หรือโรค ODD

  • เสนอทางเลือก

หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการการรับมือกับพฤติกรรมต่อต้านของเด็ก คือ การเสนอทางเลือกสองทาง เมื่อคุณเสนอทางเลือก ลูกๆ ของคุณจะรู้สึกว่าพวกเขาสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงคำถามบางอย่าง เช่น เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่คุณเพิ่งอาบน้ำให้ลูกเสร็จ และเตรียมจะแต่งตัวให้ลูก แต่ลูกดื้อดึงวิ่งไปมาไม่ยอมให้จับแต่งตัวง่ายๆ ในสถานการณ์เช่นนี้ พ่อแม่ไม่ควรถามว่า  “สรุปลูกจะให้แม่แต่งตัวดีๆ ไหมเนี่ย” เพราะเด็กดื้อจะตอบกลับโดยอัตโนมัติได้ทันทีว่า ไม่! ดังนั้น ให้ลองถามคำถามใหม่ ที่ให้ทางเลือกแก่ลูก เช่น “ลูกอยากใส่เสื้อสีแดง หรือเสื้อเหลือง”  เป็นต้น

  • ปรับใช้ตำราของปู่ย่าตายาย

วิธีเลี้ยงลูกของปู่ย่าตายายมีบางเรื่องที่เราสามารถนำปรับใช้ได้เสมอ เช่นเรื่องการกำหนดขอบเขตในการทำสิ่งต่างๆ กรือการสร้างแรงจูงใจแทนที่จะชี้ให้เห็นถึงผลเสีย ซึ่งนี่อาจเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการส่งเสริมให้เด็กๆ ปฏิบัติตามหากใช้เป็นประจำ เด็กๆ จะเห็นว่าตนเองมีอำนาจควบคุมเมื่อได้รับสิทธิพิเศษ ดังนั้นแทนที่จะพูดว่า “แม่ไม่อนุญาตให้ลูกเล่นวิดีโอเกม เพราะลูกยังไม่ได้ทำความสะอาดห้อง”  ให้ลองเปลี่ยนเป็นพูดว่า “ลูกสามารถเล่นวิดีโอเกมได้ทันทีที่ลูกทำความสะอาดห้องเสร็จแล้ว” เพราะอย่างน้อยการเปลี่ยนการสื่อความหมาย เล็กๆ น้อยๆ ในข้อความของคุณจะช่วยกระตุ้นให้ลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้

  • สร้างระบบการให้รางวัล

สร้างระบบการให้รางวัลที่กระตุ้นให้บุตรหลานของคุณปฏิบัติตาม  เช่น การให้เหรียญรางวัล หรือ ให้ดาว โดยเมื่อลูกทำดีอาจมีสมุดสะสมเหรียญหรือดาวให้ลูก เพื่อนำมาแลกรางวัลต่างๆ จากการประพฤติตัวดี วิธีนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีและให้ความร่วมมือ โดยเสนอสิ่งที่ส่งเสริมกำลังใจในการประพฤติดี (หรือรางวัล)  ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ จะได้รับรางวัลเป็นเหรียญ หรือ ดาว ทุกครั้งที่พวกเขาฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณโดยไม่เถียงหรือโต้แย้ง

ลูกชอบต่อต้าน

  • หลีกเลี่ยงการท้าทายลูก

หลีกเลี่ยงการแย่งชิงอำนาจกับลูก เมื่อคุณต่อสู้ท้าทายลูกเพื่อที่จะเอาชนะ จะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ลงไปเท่านั้น ให้ใช้คำเตือนเช่นคำสั่ง ถ้าลูกไม่ฟังลูกจะ.. เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม
มันสำคัญมากที่จะไม่ลังเลใจกับคำสั่งและกฏต่างๆ ของคุณ หากคุณทำเช่นนั้นมันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการท้าทายมากขึ้นเพราะพวกเขาไม่คิดว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นจริงหากพวกเขาท้าทายคุณ

  • ทำตามกฎที่ตั้งไว้อย่างเคร่งครัด

อย่างที่กล่าวไปบแล้วในตอนต้นว่า สิ่งสำคัญที่จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กๆ ให้ดีขึ้นได้ คือ การที่พ่อแม่ยึดถือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สร้างขึ้น เมื่อลูกไม่ปฏิบัติตามควรโดนลงโทษอย่างเด้ดขาด เช่น สูญเสียสิทธิพิเศษ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการท้าทาย และไม่ปฏิบัติตาม จำไว้ว่าการมีวินัยอย่างสม่ำเสมอเป็นกุญแจสำคัญในการลดพฤติกรรมดื้อต่อต้านของเด็กๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นเรื่องง่ายที่พ่อแม่อาจอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดเมื่อลูกดื้อ หรือ ต่อต้าน พูดอะไรไปก็ปฏิเสธไม่เชื่อฟัง แต่สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ต้องเข้าใจ คือ พฤติกรรมด้านลบต่างๆ ของเด็ก เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมที่ผู้ปกครองทุกคนต่างก็ต้องประสบพบเจอมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป แต่จงจำไว้ว่าปัญหานี้จะไม่ได้อยู่ตลอดไป เมื่อลูกโตขึ้นพฤติกรรมต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไปตามวัย เมื่อผ่านพ้นช่วงวัยทองของเด็กเล็ก ที่สมองในส่วนของอารมณ์ทำงานมากกว่าส่วนของเหตุผล พวกเขาจะพูดรู้เรื่องมากขึ้น เชื่อฟังพ่อแม่และมีเหตุผลมากขึ้น ดังนั้นความอดทนเพียงเล็กน้อยและกลยุทธ์ด้านวินัยที่ถูกต้องจะช่วยให้คุณผ่านพ้นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของลูกได้อย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างทักษะความฉลาดที่รอบด้าน ด้วย Power BQ ในด้าน ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) ได้อีกด้วยค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : healthline.com , verywellfamily.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

หมอประเสริฐแนะ บันได 4 ขั้น วิธีจัดการลูกดื้อ อย่างเข้าใจและได้ผลจริง

สุภาษิตสอนพ่อแม่รับมือ ลูกต่อต้าน โดย พ่อเอก

วิธีรับมือ ลูกทะเลาะกับเพื่อน ต้องเตือนหรือสอนลูกยังไง?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up