โรคไตในเด็ก รุนแรงแค่ไหน พ่อแม่รู้หรือยัง

โรคไตในเด็ก โรคที่ไม่ได้เป็นแค่ผู้ใหญ่ … เด็กก็เป็นได้ แถมอันตรายไม่แพ้กัน!

โรคไตในเด็ก ใกล้ตัวและน่ากลัวกว่าที่พ่อแม่คิด

โรคไตในเด็ก น่ากลัวและใกล้ตัวกว่าที่คิด หลังแม่พบลูกแอบดื่มน้ำจากก๊อกกลางดึก

ดูแลอย่างไร? เมื่อลูกมีไตโตผิดปกติแต่กำเนิด

เมื่อคุณพ่อ คุณแม่พบว่า ลูกไตโตผิดปกติ อยู่หนึ่งข้าง แต่ลูกยังแข็งแรง เติบโต ขับถ่ายได้ปกติดี ไม่มีปัญหา และพบคุณหมอเพื่ออัลตราซาวด์อยู่เป็นระยะ แต่ก็ยังมีความกังวล และไม่แน่ใจว่าจะต้องระมัดระวังเรื่องการดื่มน้ำ ดื่มนมอย่างไรบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัย

โรคไตในเด็ก…อันตรายใกล้ตัว ที่คาดไม่ถึง

โรคไตไม่ใช่แค่เกิดและน่ากลัวสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้นนะคะ รู้หรือไม่ว่าเด็กก็เป็นโรคไตได้ด้วย และมีแนวโน้มว่าโรคไตในเด็กจะสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกต่างหาก โรคไตในเด็กเกิดขึ้นได้อย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ ต่องอ่านค่ะ!! สาเหตุการเกิดโรคไตในเด็ก โรคไตในเด็กที่เป็นแต่กำเนิด เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างไต และระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่กำเนิด เช่น ภาวะอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะปัสสาวะไหลย้อนจากกระเพาะปัสสาวะกลับขึ้นไปยังท่อไต บางรายมีความผิดปกติในการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ หรือมีภาวะเนื้อไตผิดปกติแต่กำเนิดชนิดต่างๆ ซึ่งบางชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม บางชนิดเกิดจากการได้รับยาหรือสารเคมีบางอย่างตั้งแต่อยู่ภายในครรภ์ โรคไตในเด็กโตหรือเกิดขึ้นภายหลัง มีสาเหตุมาจากภาวะไตอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลำคอ หรือที่ผิวหนัง รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเอสแอลอี (SLE) หรือโรคไตเนโฟรติกจากการสูญเสียโปรตีนปริมาณมากออกไปทางปัสสาวะ ภาวะเด็กอ้วน เป็นสาเหตุสำคัญที่พบว่ามีความเสี่ยงสูงต่อการเป็น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงนำไปสู่โรคไตในอนาคตได้อีกด้วย ปัจจุบันพบว่าเด็กไทยมีภาวะอ้วนมากขึ้น สืบเนื่องมาจากรูปแบบการทำงานและการดำเนินชีวิตของพ่อแม่ในยุคใหม่ เช่น อาหารของครอบครัวที่เป็นอาหาร ฟาสต์ฟู้ด อาหารรสหวานจัด เค็มจัดเกินไป และพ่อแม่ที่อาศัย คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือการใช้สมาร์ทโฟนสำหรับการทำกิจกรรมโดยส่วนใหญ่ของเด็ก ทำให้เด็กไม่ได้ออกไปวิ่งเล่น หรือทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย สัญญาณอันตรายโรคไตในเด็ก เด็กมีอาการบวมทั่วตัว หนังตาบวมมากอย่างเห็นได้ชัด ปัสสาวะผิดปกติ มีสีแดงหรือสีน้ำล้างเนื้อ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด ออกกะปริบกะปรอย ออกปริมาณมากหรือน้อยกว่าปกติ มีอาการซีด เหนื่อยง่าย หรือตัวเล็ก เมื่อสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ควรนำเด็กพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะแรกและรับการดูแลอย่างเหมาะสม […]

keyboard_arrow_up