อยากได้ลูกแฝดต้องทำอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event

…คุณแม่สามารถสังเกตความผิดปกติได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์

  • ร่างกายของเราจะมีอาการอ่อนเพลียมากกว่าปกติ เพราะทารกสองคนต้องการอาหารปริมาณมากทำให้คุณแม่อ่อนเพลียแพ้ท้อง อาเจียน
  • ขนาดของท้องโตเร็วเทียบกับผู้ตั้งครรภ์คนอื่นที่มีอายุเท่ากัน ปกติสามเดือนแรกยังไม่ค่อยเห็นว่าท้องโต แต่ครรภ์แฝดท้องจะโตมาก ตั้งครรภ์สามเดือนท้องอาจโตเท่ากับครรภ์ห้าเดือนน้ำหนักตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • คุณแม่มีน้ำหนักขึ้นมาก และขึ้นเร็วให้สงสัยว่าจะมีครรภ์แฝด คุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเร็วกว่าปกติ คุณแม่รู้สึกลูกดิ้นมากครั้ง เนื่องจากในครรภ์มีทารกสองคนหรือมากกว่า ทำให้รู้สึกว่าลูกดิ้นมาก ดิ้นพร้อมกันทั้งด้านซ้าย และด้านขวา หรือทั้งด้านบน และด้านล่าง
  • ในการตรวจร่างกายคุณแม่ในครรภ์แฝด แพทย์จะตรวจพบว่า ขนาดของครรภ์มากกว่าขนาดของมดลูกตามอายุครรภ์ที่ควรจะเป็น
  • การฟังตำแหน่งของเสียงหัวใจเด็กจะฟังหัวใจได้สองตำแหน่ง และคลำส่วนต่างๆ ของเด็กทางหน้าท้อง อาจคลำได้เกินหนึ่งคน

How do twins

ข้อควรระวังหากตั้งครรภ์ลูกแฝด

  • เด็กต้องการอาหารมากพอสำหรับ 2 คน แต่แม่ก็กินได้จำกัด
  • เรื่องมดลูก เพราะหากมดลูกของแม่ดีแข็งแรง อาหารที่ส่งมาก็จะมาก พบว่าแฝดในแม่อายุมาก มดลูกจะไม่แข็งแรงลูกได้รับอาหารน้อยหรือไม่ก็แย่งอาหารกันเอง เมื่อเด็กคลอดจะมีอาการหายใจหอบ ติดเชื้อ อ่อนแอ ซึ่งเป็นโรคของเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย
  • กรณีแย่งอาหารกัน ถ้าเป็นแฝดเหมือนเกิดจากไข่ใบเดียวกัน บางทีรกอาจจะเชื่อมกัน เด็กอีก คนก็จะดูดเลือดจากเด็กอีกคนไป เด็กที่ดูดเยอะก็จะตัวใหญ่ ส่วนอีกคนก็จะผอมแห้งเหี่ยว แต่เด็ก ที่ได้เลือดเยอะใช่ว่าจะดี เพราะมีโอกาสหัวใจวายได้เหมือนกัน แต่เด็กที่แย่จะเป็น คนที่ถูกแย่ง เลือดไปมากกว่า จึงต้องดูแลเป็นพิเศษมากกว่าครรภ์อื่นๆ
  • หากคุณแม่มีเด็กแฝดในท้องเยอะประสิทธิภาพ ความสามารถ ความฉลาด และพัฒนาการ จะไม่เท่าเด็กที่เกิดมาเดี่ยว ๆได้

การตั้งครรภ์แฝดไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ตั้งใจอยากมีน้อง ก็ควรเตรียมตัวให้พร้อม ไปตรวจครรภ์อย่าสม่ำเสมอ ใส่ใจในเรื่องการดูแลตัวเองให้แข็งแรง เตรียมจิตใจให้พร้อม เพียงเท่านี้การตั้งครรภ์ก็จะไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นอีกต่อไปค่ะ

อ่านต่อบทความน่าสนใจ

คลิก >> 8 วิธีช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่ที่มีเบบี๋ฝาแฝด

คลิก >> แม่ตัวเล็กแต่ท้องลูกแฝด เสี่ยงอะไรบ้าง?

คลิก >> แม่ท้องแฝดระวัง! เจ็บท้องก่อนกำหนด

คลิก >> “ท้องแฝด” ภาวะต้องระวังยิ่ง

คลิก >> “ท้องแฝด” ต้องใส่ใจตรวจละเอียดในไตรมาสสอง


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.momadad.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up