คนท้องลื่นล้ม

ไขข้อข้องใจ คนท้องลื่นล้ม หกล้ม ลูกจะเป็นอะไรไหม แท้งได้หรือเปล่า?

Alternative Textaccount_circle
event
คนท้องลื่นล้ม
คนท้องลื่นล้ม

คนท้องลื่นล้ม – เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ทุกอิริยาบถและการเคลื่อนไหว อาจทำให้คุณแม่รู้สึกกังวลใจได้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะ การพลาดลื่นล้มในขณะตั้งครรภ์ คงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับตัวเอง  แต่ถ้าหากเกิดขึ้นแล้ว เราควรต้องทำอย่างไร ลูกในท้องจะได้รับอันตรายมากน้อยแค่ไหน ซึ่งอาจมีคุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนที่อาจสงสัยในเรื่องนี้อยู่ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกันค่ะ ว่าจะมีสาเหตุและปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับอันตรายรุนแรง จากการที่คนท้องลื่นล้มค่ะ

สำหรับคนปกติทั่วไปที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ การพลาดล้มลงบนพื้นอาจไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ด้วยกล้ามเนื้อ หรืออวัยะต่างๆ ที่ใช้ในการทรงตัว ยืน เดิน ยังทำงานได้เป็นปกติ แต่ สำหรับคนท้องแล้ว จะค่อนข้างมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุลื่นล้มได้ง่ายกว่าคนทั่วไปค่ะ  มีการศึกษา เกี่ยวกับประสบการณ์การลื่นล้มของผู้หญิงในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่ง ผลจากการศึกษาสรุปว่า ประมาณ 27% ของผู้หญิงเคยลื่นล้มอย่างน้อยหนึ่งครั้งในระหว่างตั้งครรภ์ และประมาณ 10% ที่เคยลื่นล้มมากกว่าหนึ่งครั้งในระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุที่ทำให้คนท้องลื่นล้มได้ง่าย

เมื่อตั้งครรภ์ สภาพร่างกายของคนท้องย่อมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ท้องที่ใหญ่ขึ้น อวัยวะต่างๆ ต้องทำงานหนักขึ้น และอื่นๆ อีกมากมาย ส่งผลให้ คนท้องลื่นล้มได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ ปัจจัยที่ทำให้คนท้องพลาดลื่นล้มได้ง่าย มีดังนี้

1. จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายที่เปลี่ยนไป   หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการล้มเมื่อตั้งครรภ์ นี่อาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลอย่างกะทันหันที่เกิดขึ้นในกล้ามเนื้อของคนท้อง เนื่องจากน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไตรมาสที่สองและสาม

 

คนท้องลื่นล้ม
คนท้องลื่นล้ม

2.การอักเสบบวมของร่างกาย   หนึ่งในผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญในการหกล้มในช่วงไตรมาสที่สองและสาม เกิดจากฮอร์โมนการตั้งครรภ์ที่ทำให้เกิดอาการบวมทั่วร่างกาย โดยเฉพาะที่เท้า ซึ่งอาจนำไปสู่ความเจ็บปวดและการเสียสมดุลซึ่งนำไปสู่การพลาดล้มได้ง่ายๆ

3. น้ำหนักตัวไม่สมดุล
เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายของคนท้องจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยส่วนใหญ่จะมีศูนย์กลางอยู่ที่ช่วงหน้าท้อง ซึ่งจะสร้างความไม่สมดุลในท่าทางของร่างกาย และการกระจายน้ำหนักตัว ความไม่สมดุลของน้ำหนักตัวทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนต้องรับบทหนักมากกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า จนอาจเกิดการลื่นล้มได้ค่ะ

4. ความดันโลหิตต่ำ และน้ำตาลต่ำ
ภาวะที่พบบ่อยเมื่อตั้งครรภ์ ได้แก่ความผันผวนของระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิต เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ และฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ซึ่งอาจทำให้คนท้องมีอาการวิงเวียนศีรษะและพลาดลื่นหกล้มอย่างรุนแรงได้ค่ะ

ไขข้อข้องใจ คนท้องลื่นล้ม หกล้ม ลูกจะเป็นอะไรไหม? แท้งได้หรือเปล่า?

คุณแม่เคยเห็นภาพ คนท้องลื่นหกล้มในละคร แล้วลงเอยด้วยอาการสาหัส หรือต้องสูญเสียลูกในครรภ์ มั้ยคะ? คิดว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้แค่ในละครรึเปล่า? ถ้าในชีวิตจริงหลังจากลื่นล้ม คนท้องจะมีความเสี่ยงในการแท้งบุตรได้หรือไม่ คำตอบง่ายๆ ก็คือมีโอกาสแท้งได้ค่ะ เพราะการบาดเจ็บต่างๆ ย่อมนำไปสู่การสูญเสียทารกในครรภ์ได้ แต่ความเสี่ยงที่แท้จริงในการแท้งลูกจากอุบัติเหตุลื่นล้มส่วนใหญ่ต้องดูถึงปัจจัยอื่นประกอบด้วย  ซึ่งโดยปกติแล้ว ร่างกายของผู้หญิงถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อการกระแทก และรอยฟกช้ำได้ในระดับหนึ่งเมื่อต้องอุ้มท้อง ตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีสถานการณ์หรือเงื่อนไขบางประการที่อาจเพิ่มโอกาสในการแท้งบุตรจากการลื่นล้มที่ต่างกันออกไปได้ ดังนี้

ปัจจัยที่ส่งผลต่ออันตรายที่รุนแรง เมื่อคนท้องลื่นล้ม

1. อายุของคุณแม่ 

อายุ  เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ ต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อายุ เกิน 35 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ได้ง่าย ดังนั้นหากคุณมีอายุตามเกณฑ์ข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที่ ไม่ว่า คุณจะคิดว่า ไม่ได้ล้มแรงไม่น่ามีปัญหาอะไร

2. ลักษณะของพื้นที่ล้มลง

เนื่องจาก การล้มลงบนพื้นที่มีพิ้นผิวหน้านุ่ม อาจไม่อันตรายเท่าพื้นผิวที่แข็ง

3. ท่าทางในการล้ม  

แน่นอนว่าท่าล้มที่อันตรายที่สุด คือ การที่คุณแม่ล้มแล้วส่วนหน้าท้องกระแทกพื้น หรืออาจเรียกว่าล้มโดยเอาท้องลง เนื่องจากท่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้โดยตรงหากล้มอย่างรุนแรง ดังนั้น คำแนะนำ คือ เมื่อรู้ตัวว่าจะหน้ามืด วิงเวียนวูบ และล้มแน่ๆ แล้ว ให้พยายามเอามือทั้งสองข้างลงพื้นก่อนเพื่อช่วยรับแรงกระแทกแทนส่วนท้อง

4. อายุครรภ์

อายุครรภ์ ของคนท้อง สามารถ บ่งชี้ถึงระดับความรุนแรง ที่อาจจะเกิดขึ้นกับคนท้องได้ ดังนี้

  • ลื่นล้มในช่วงไตรมาสแรก

โดยทั่วไปการลื่นล้มในช่วงไตรมาสแรก โอกาสการแท้งบุตรนั้นเกิดขึ้นได้น้อย เนื่องจากในช่วงไตรมาสแรก มดลูกของคนท้องจะมีผนังที่หนา และได้รับการปกป้องโดยกระดูกในอุ้งเชิงกราน นั่นเองค่ะ

  • ลื่นล้มในช่วงไตรมาสที่สอง

การลื่นล้มในไตรมาสที่สองจะเสี่ยงเกิดอันตรายที่รุนแรงกว่าในไตรมาสแรก เนื่องจากมดลูกไม่ได้ซุกอยู่ในอุ้งเชิงกรานแล้ว ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการลื่นล้มในไตรมาสที่สอง อาจเป็นอันตรายต่อทั้งทารกในครรภ์และมารดาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณล้มเอาส่วนหน้าท้องลงกระแทกพื้นข

  • ลื่นล้มในช่วงไตรมาสที่สาม

เมื่อการตั้งครรภ์ดำเนินมาถึงช่วงนี้ มดลูกจะยืดและขยายขนาดใหญ่ขึ้นมาก ทารกในครรภ์ได้รับการพัฒนาเกือบเต็มที่ และกลับหัวแล้ว โดยที่ศีรษะจะอยู่ใกล้กับช่องคลอดมากขึ้น การบาดเจ็บที่รุนแรงในไตรมาสที่สาม จึงมีแนวโน้มสูงที่จะทำให้เกิดผลกระทบต่อความปกติของรกหรือมดลูกได้ (เยื่อบุรกแยกออกจากมดลูก)  เมื่อท้องของคุณแม่โตขึ้น จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจะโน้มไปข้างหน้า ทำให้ทรงตัวได้ยากขึ้น นอกจากนี้ฮอร์โมนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะฮอร์โมน ที่ชื่อว่า  รีแล็กซิน ยังสามารถทำให้รู้สึกไม่มั่นคงที่เท้าได้  ด้วยหน้าที่ของฮอร์โมน รีแล็กซิน คือ ช่วยคลายเส้นเอ็นในกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้ปากมดลูกนิ่มและขยายกว้างขึ้นเพื่อเตรียมคลอด แต่ในทางกลับกันอาจส่งผลให้ข้อต่อข้อต่อหรือเส้นเอ็นที่เท้าคลายตัวมากกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คนท้องล้มได้ง่ายนั่นเองค่ะ

คนท้องลื่นล้ม

ภาวะแทรกซ้อน ที่เกิดขึ้นได้จากการลื่นล้ม ระหว่างตั้งครรภ์

  • กระดูกคุณแม่หัก
  • ทารกในครรภ์ได้รับบาดเจ็บบริเวณกะโหลก
  • เกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
  • การตกเลือดของทารกในครรภ์ (เซลล์เม็ดเลือดของทารกไหลเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของแม่)

รวมสัญญาณอันตราย ที่ควรระวัง หลังลื่นล้ม

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ล้มโดยใช้ส่วนของหน้าท้องลงกระแทกพื้นโดยตรง  การล้มทับหน้าท้องระหว่างตั้งครรภ์ เช่นนี้ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายต่อทารกได้มากที่สุด แต่การล้มศีรษะฟาดหรือแม้กระทั่งการล้มเอาก้นลงพื้นขณะตั้งก็ครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อทารกได้ เช่นกัน หากการกระแทกนั้นรุนแรงพอ ซึ่งถ้าคุณมีอาการต่อไปนี้ หลังการลื่นล้ม ให้รีบโทรปรึกษาแพทย์เจ้าของครรภ์ หรือเดินทางไปโรงพยาบาลทันที ได้แก่ 

1 .ไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นในท้องเหมือนเคย

2. มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับ เป็นตะคริวที่แผ่นหลัง

3. มีอาการวิงเวียนศรีษะคล้ายจะเป็นลม

4. มีมูกเลือด หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด

5. มดลูกหดตัวหรือบีบรัดตัว

6. กดบริเวณหน้าท้องแล้วเกิดอาการเจ็บ

7. มีอาการน้ำเดิน ถุงน้ำคร่ำแตก

ควรทำอย่างไร ถ้าลื่นล้ม ในระหว่างตั้งครรภ์

หากคุณกำลังตั้งครรภ์ และประสบอุบัติเหตุลื่นล้ม ให้ติดต่อแพทย์เจ้าของครรภ์ เพื่อการประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ แม้ว่าคุณจะไม่คิดว่าการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องใหญ่ แต่อย่างไรก็ดี ควรคำนึงถึงความปลอดภัยไว้ดีกว่าค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่อายุครรภ์มากแล้ว

สิ่งที่ไม่ควรทำ คือ หลังจากล้มแล้วปล่อยเวลาให้ล่วงเลยนานเกินไป หากการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ลดลง ไม่ว่าในกรณีใด การประเมินความปลอดภัยของทารกในครรภ์ จะต้องทำโดยการอัลตราซาวนด์ ติดตามทารกในครรภ์ (EFM) หรือเทคนิคการวินิจฉัย อื่นๆ  เป็นเรื่องจริงอยู่ ที่อุบัติเหตุลื่นล้มในระหว่างตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ไม่น้อย  แต่อย่างไรก็ตาม สถิติหญิงตั้งครรภ์ที่แท้งลูกจากการลื่นหกล้มนั้นก็พบได้ไม่บ่อย แต่ทางที่ดี ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของครรภ์ของทันที หากคุณแม่ลื่นล้ม ถึงแม้ว่าจะเป็นการล้มที่ไม่แรงมากก็ตามค่ะ

แม่ท้องควรป้องกันตัวเองอย่างไร ไม่ให้ลื่นล้ม

ในการลื่นล้มแต่ละครั้ง หากคุณแม่ไม่ได้รับอันตรายก็ถือว่าโชคดีไปค่ะ แต่ทางที่ดีเราไม่ควรประมาท หากรู้ตัวว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเกิดการลื่นล้มได้ง่าย ข้อควรปฎิบัติ มีดังนี้ค่ะ

  • เมื่อเห็นว่าพื้นที่เดินอยู่ค่อนข้างลื่น ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดิน
  • สวมรองเท้าที่มีคุณสมบัติกันลื่น และหลี่กเลี่ยงรองเท้าที่อาจทำให้ลื่นง่าย
  • เมื่ออาบน้ำในห้องน้ำ อาจใช้เสื่อกันลื่นปูบริเวณที่อาบน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูง
  • หากต้องเดินขึ้นลงบันได ควรจับราวบันได้ช่วยพยุงตัวไว้เสมอ
  • พยายามหลีกเลี่ยงการเดินในที่มีน้ำขัง หรือพื้นผิวที่ลื่นเปียก
  • พยายามอย่าปล่อยให้ตัวเองหิว จนเกิดอาการวิงเวียนศีษะ หรือใจสั่น

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ การใส่ใจในการมีสุขภาพที่ดี ตลอดจนการระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งของตัวคุณแม่เอง และลูกน้อยในครรภ์ เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ ในฐานะของแม่ เราสามารถให้ลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโต และมีพัฒนาการในครรภ์ที่ดีได้ หลายวิธี ทั้งการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่หักโหมทำงานหนัก และรู้จักออกกำลังกายเบาๆ ตามสมควร เพราะ ความฉลาดในการดูแลรักษาสุขภาพ (HQ) เริ่มที่แม่ดูแลสุขภาพตัวเองตั้งแต่ตั้งครรภ์ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.beingtheparent.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

คนท้องกินคอลลาเจนได้ไหม อันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

ผู้เชี่ยวชาญชี้! การให้ วัคซีนโควิด คนท้อง ยังปลอดภัย หลังไม่พบเคสรุนแรงหลังฉีด

ท้องแก่ใกล้คลอด ห้ามทำ 10 พฤติกรรมผิด ๆ นี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up