ตรวจ DNA

ตรวจ DNA ตอนท้อง เสี่ยงแท้งจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ตรวจ DNA
ตรวจ DNA

คำว่าครอบครัว อาจไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการแต่งงานเสมอไป ในบางครั้งสิ่งสวยงามที่มีชีวิตอาจจะมาในช่วงเวลาที่ไม่ถูกจังหวะเท่าไรนัก เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น การ ตรวจ DNA ก็สามารถนำมาใช้เป็นข้อพิสูจน์ความเป็นพ่อของเด็กในท้องได้ แต่แม่ๆ ทราบไหมคะว่าการ ตรวจ DNA นั้น มีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกหลายด้าน เช่น วินิจฉัยปัญหาสุขภาพอันเกี่ยวเนื่องกับลักษณะทางพันธุกรรม ตรวจหาพาหะโรคทางพันธุกรรมของพ่อแม่ก่อนตัดสินใจมีบุตร ตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด ตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อหาตัวผู้ร้ายที่ก่อคดีอาชญากรรม เป็นต้น การตรวจ DNA มีประโยชน์มากขนาดนี้ มาดูกันดีกว่าค่ะว่า การตรวจ DNA คืออะไร? ทำได้อย่างไร? ตรวจแล้วเสี่ยงแท้งจริงหรือไม่?

ตรวจ DNA ตอนท้อง เสี่ยงแท้งจริงหรือ?

การตรวจ DNA คืออะไร?

คือ การตรวจการเปลี่ยนแปลงของยีน รวมทั้งตรวจจำนวน การเรียงตัว และโครงสร้างของโครโมโซม โดยใช้ตัวอย่างเนื้อเยื่อ เลือด ปัสสาวะ หรือน้ำลาย DNA (ดีเอ็นเอ) หรือกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic Acid) คือสารพันธุกรรมชนิดหนึ่ง โดยเซลล์เกือบทุกเซลล์ในร่างกายแต่ละคนมี DNA ลักษณะเดียวกันอยู่ในนิวเคลียส รูปร่างเป็นเกลียวคู่คล้ายบันได ภายใน DNA มีสารเคมีที่ประกอบกันเป็นรหัสพันธุกรรม ได้แก่ อะดีนีน (Adenine: A) กัวนีน (Guanine: G) ไซโตซีน (Cytosine: C) และไทมีน (Thymine: T) ซึ่งมีหน้าที่จำลองและถ่ายทอดพันธุกรรม

 

ตรวจ DNA เพื่ออะไร?

การ ตรวจ DNA มีวิธีแตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

  • พิสูจน์ความเป็นพ่อเป็นการตรวจเพื่อให้เด็กได้รับสิทธิและผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามกฎหมาย รวมทั้งช่วยให้พ่อแม่แจ้งข้อมูลสุขภาพของเด็กได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่เด็กป่วยและต้องเข้ารับการรักษา นอกจากนั้นยังเป็นการยืนยันความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูก การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดานั้น อาศัยหลักการที่ว่า ดีเอ็นเอซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของลูก ครึ่งหนึ่งจะมาจากพ่อ และอีกครึ่งหนึ่งมาจากแม่
  • ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมการตรวจ DNA หาโรคทางพันธุกรรม มีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้
    • ตรวจวินิจฉัยโรค แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยที่คาดว่าตนเองเป็นโรคอันเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนเข้ารับการตรวจ DNA โดยผลตรวจอาจช่วยยืนยันการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพบางประการ
    • ตรวจหาพาหะโรค โดยดูว่ามียีนที่ก่อให้เกิดโรคทางพันธุกรรมหรือเสี่ยงเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นภายหลังหรือไม่ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการถ่ายทอดยีนที่มีพาหะของโรคมาจากพ่อแม่ แต่ไม่ปรากฏอาการป่วย เช่น ธาลัสซีเมีย นอกจากนี้ การตรวจนี้ยังช่วยวางแผนการมีบุตรได้ด้วย
    • ตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด เป็นการตรวจดูว่าทารกในครรภ์ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือมีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดหรือไม่ เพื่อช่วยตัดสินใจในการวางแผนอุ้มท้อง หรือวางแผนการรักษาในกรณีที่ทารกป่วยเป็นโรคร้ายแรง นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องการมีบุตรด้วยการทำเด็กหลอดแก้วอาจต้องตรวจหายีนผิดปกติของตัวอ่อนด้วยเช่นกัน หากไม่พบความผิดปกติใด ๆ จึงจะฝังตัวอ่อนเข้าไปในมดลูกของมารดาได้
    • ตรวจหายีนกลายพันธุ์เพื่อวางแผนการรักษา ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ อาจเข้ารับการตรวจ DNA เพื่อช่วยระบุว่าควรใช้ยาตัวใดและปริมาณเท่าไรจึงจะรักษาอาการป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตรวจพิสูจน์ทางนิติวิทยาศาสตร์การตรวจลักษณะนี้เกิดขึ้นในกรณีมีเหตุอาชญากรรม มีการเก็บตัวอย่างเลือด อสุจิ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่หลงเหลืออยู่ในที่เกิดเหตุ เพื่อนำมาวิเคราะห์และพิสูจน์ผู้ต้องสงสัย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อ ทำได้กี่วิธี? อ่านต่อได้ที่นี่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up