ตรวจ DNA

ตรวจ DNA ตอนท้อง เสี่ยงแท้งจริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
ตรวจ DNA
ตรวจ DNA

การตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์ความเป็นพ่อ ทำได้กี่วิธี?

ทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การตรวจ DNA ทารกระหว่างอยู่ในครรภ์ สามารถยืนยันความเป็นพ่อได้ตั้งแต่เด็กยังไม่คลอด การทดสอบนี้จะเปรียบเทียบแบบแผนสารพันธุกรรมระหว่างทารกในครรภ์กับผู้ที่ถูกกล่าวว่าเป็นพ่อ และแม่ โดยในการตรวจดีเอ็นเอเพื่อพิสูจน์ทารกในครรภ์นั้น จะต้องปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อน โดยสูตินรีแพทย์จะทำการเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอจากเนื้อเยื่อทารกโดยการ เจาะน้ำคร่ำ หรือตรวจชิ้นเนื้อจากรก รวมทั้งต้องเก็บตัวอย่างเซลล์เยื่อบุกระพุ้งแก้มจากทั้งแม่และผู้ที่อาจเป็นพ่อด้วย เพื่อการวิเคราะห์และสรุปผล
    • การเก็บตัวอย่างจากรก ตรวจชิ้นเนื้อจากรก จะทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 10-13 สัปดาห์ โดยให้สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยการสอดท่อเข้าไปในปากมดลูกหรือหน้าท้องให้ผ่านเข้าไปยังเนื้อรก ร่วมกับการอัลตราซาวด์
    • การเก็บตัวอย่างจากน้ำคร่ำ จะทำได้เมื่อมีอายุครรภ์ 14-24 สัปดาห์ โดยให้สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เจาะผ่านทางผนังหน้าท้อง โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ช่วยนำทาง พร้อมกับสอดเข็มขนาดเล็กผ่านหน้าท้องเข้าไปในมดลูก เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำมาตรวจ
  2. การตรวจ DNA หลังคลอด สามารถทำได้ด้วยการเก็บตัวอย่างจากสายสะดือ เซลล์ในกระพุ้งแก้ม หรือเจาะเลือดทารก (สำหรับทารกจะใช้วิธีเจาะเลือดที่ส้นเท้าแทนการเจาะเลือดปกติแบบผู้ใหญ่)

 

ตรวจ DNA ตอนท้อง มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

แม้ว่าการตรวจ DNA นั้นมีประโยชน์อยู่มากมาย แต่ก็มีความเสี่ยงจากการตรวจเช่นกัน ทั้งความเสี่ยงจากขั้นตอนการตรวจ และความเสี่ยงหลังจากตรวจ ดังนี้

  • ความเสี่ยงจากขั้นตอนการตรวจ สตรีมีครรภ์ที่ถูกเจาะน้ำคร่ำหรือเก็บตัวอย่างรกอาจเสี่ยงแท้งได้ เนื่องจากแพทย์ต้องเก็บตัวอย่างน้ำคร่ำหรือเนื้อเยื่อรอบตัวอ่อนในครรภ์ ส่วนผู้ที่ถูกเจาะเลือดอาจเสี่ยงเกิดรอยช้ำ มีเลือดออก หรือหลอดเลือดอักเสบได้
  • ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตหลังทราบผลตรวจแล้ว เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวหลังจากทราบผลตรวจ การตัดสินใจในการตั้งครรภ์ต่อ โดยเฉพาะผลตรวจที่ทราบว่าทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย เป็นต้น

 

อย่างที่ทราบกันว่าวิทยาการทางการแพทย์สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ได้ในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการรักษาโรค การพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ดังนั้นเราควรใช้ประโยชน์เหล่านี้ให้ถูกวิธีและถูกหลักการ แม้ทางการแพทย์จะสามารถตรวจ DNA ได้จากการเจาะน้ำคร่ำหรือตรวจชิ้นเนื้อจากรกก็จริง แต่ในการตรวจก็จะมีความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นอยากให้ผู้ที่ต้องการจะตรวจทุกคนร่วมกันตัดสินใจถึงความจำเป็นในการตรวจร่วมกับสูตินรีแพทย์ หรือแพทย์ที่คุณแม่ไปฝากครรภ์ ด้วยค่ะ ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงาน Amarin Baby & Kids

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.pobpad.com

 

อ่านบทความดีๆ จากเราต่อได้ที่นี่

ไขข้อข้องใจ ที่ตรวจครรภ์ ตรวจอย่างไร-ตอนไหนดี?

ฝากครรภ์พิเศษ กับ ฝากครรภ์ธรรมดา ต่างกันอย่างไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up