วัคซีนโควิด-19

ผู้เชี่ยวชาญชี้! การให้ วัคซีนโควิด คนท้อง ยังปลอดภัย หลังไม่พบเคสรุนแรงหลังฉีด

Alternative Textaccount_circle
event
วัคซีนโควิด-19
วัคซีนโควิด-19

ยังไม่มีข้อมูลบ่งชี้ว่าการฉีด วัคซีนโควิด คนท้อง ส่งผลกระทบร้ายแรงแต่อย่างไร โดยอ้างอิงจากข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ประมาณ 10,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว ในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ยังถือว่าอยู่ในระยะการทดลองวัคซีนที่ยังต้องคิดติดตามผลกันต่อ

ผู้เชี่ยวชาญชี้! การให้ วัคซีนโควิด คนท้อง ยังปลอดภัย หลังไม่พบเคสรุนแรงหลังฉีด

วัคซีนโควิด คนท้อง – วานนี้ ( 4 ก.พ.64) นายแพทย์ แอนนี่ ฟาวซี่ ( Dr. Anthony Fauci ) ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐฯ และที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขประจำทำเนียบขาว กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณน่าห่วงที่บ่งชี้ว่า วัคซีนโควิดในคนท้อง เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์ โดยมีผู้หญิงตั้งครรภ์ ประมาณ 10,000 คน  ในสหรัฐอเมริกาที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากมีข้องดเว้นการทดสอบวัคซีนในเด็ก และ หญิงตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นข้อกำหนดสากลในการทดลอง วัคซีนโควิด คนท้อง หรือแม้แต่วัคซีนทุกชนิด ด้วยไม่อาจคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และเนื่องจาก วัคซีน โควิด-19 ได้รับการอนุมัติให้ใช้งานแบบฉุกเฉิน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามผลการใช้วัคซีนควบคู่ไปกับการใช้งาน

วัคซีนโควิดในคนท้อง
วัคซีนโควิดในคนท้อง

หลังจากที่มีการอนุมัติการใช้งานวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ของหลายบริษัทในสถานะการใช้งานในระดับปกติ ทางองค์การอาหารและยาของสหรัฐ หรือ FDA ก็ไม่ได้สั่งห้ามผู้หญิงตั้งครรภ์รับวัคซีน เพียงแต่ออกคำเตือนให้ใช้วัคซีนอย่างระมัดระวังตามความสมัครใจ และเมื่อ FDA ได้รับรองวัคซีนของ บริษัท Moderna และ บริษัท Pfizer-BioNTech ไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ทำให้มีหญิงตั้งครรภ์จำนวนมากยอมเสี่ยงที่จะรับการฉีดวัคซีน ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากบุคคลากรทางการแพทย์ ซึ่งหญิงตั้งครรภ์ที่ยืนยันขอรับวัคซีนในช่วงทดลองส่วนใหญ่แล้วต่างก็เป็นบุคลากรทางการแพทย์

สสส. แนะวิธี ป้องกันลูกจากโควิด กับ 4 ข้อ ที่พ่อแม่ต้องเพิ่มความระวัง!

ระวัง!! ภาวะ MIS-C หลังเด็กหายป่วยโควิด โรคอันตรายที่พ่อแม่ต้องรู้!!

10 สิ่งของเสี่ยงติดโควิด พ่อแม่ควรระวังป้องกัน ฆ่าเชื้อโรค ก่อนถึงตัวลูก!

โดย ฟาวซี่ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงหลักฐานที่พบว่า การติดเชื้อโคโรนาไวรัส สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของผลข้างเคียงในการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุบุคลากรทางการแพทย์ที่กำลังตั้งครรภ์หลายคนตัดสินใจที่จะรับวัคซีน แม้ยังอยู่ในขั้นทดลองก็ตาม

นอกจากนี้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ ได้ให้คำแนะนำว่าหญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพว่าตัวเองควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หรือไม่ แต่องค์การอนามัยโลกได้แถลงถึงกรณีของวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับเชื้อโควิด-19เท่านั้นที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน

วัคซีนโควิดในคนท้อง

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่พบหญิงมีครรภ์ที่ได้รับผลกระทบจาก วัคซีนโควิด ในระดับอันตราย แต่ นายแพทย์ ฟาวซี่ ยังย้ำว่าแม้ไม่มีข้อบ่งชี้ถึงอันตรายใดๆ ของวัคซีนในขณะนี้ แต่หญิงตั้งครรภ์ควรใช้วัคซีนด้วยความระมัดระวัง และควรอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพราะ ณ ตอนนี้ สหรัฐเองก็ยังเพิ่งอยู่ในช่วงทดลองการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน จึงไม่สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้

สำหรับในประเทศไทยนั้น การฉีดวัคซีน ยังต้องเป็นไปตามความสมัครใจ โดยยกเว้นการฉีดให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจากวัคซีนโควิด-19 เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ยังมีมีการทดลองในกลุ่มนี้ จึงไม่มีผลการวิจัยรองรับ รวมถึงผลข้างเคียงของวัคซีนก็ยังไม่ปรากฏแน่ชัด

ผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิด

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ได้กล่าวถึงผลค้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 ว่า

“จุดมุ่งหมายของวัคซีนคือ ป้องกันความรุนแรงของโรคที่มีทั้งสามารถป้องกันได้ไม่ติดเชื้อเลย หรือบางชนิดไม่ป้องกันติดเชื้อแต่ป้องกันการเป็นโรค เช่น วัคซีนคอตีบ และกลุ่มที่ไม่ป้องกันการติดเชื้อหรือเป็นโรค แต่ลดการนอนโรงพยาบาล (รพ.) ลดอัตราการตาย สำหรับวัคซีนโควิด-19 เป็นของใหม่ยังไม่สามารถตอบได้ว่า จะป้องกันได้มากแค่ไหน แต่เชื่อว่ามีจุดมุ่งหมายคือ ลดการนอน รพ. และอัตราการตาย”

“ผลข้างเคียงวัคซีนโควิด-19 มีอย่างน้อยฉีดแล้วเจ็บ แม้กระทั่งฉีดยาหลอกก็ยังเจ็บ และส่วนใหญ่เป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ มีบางส่วนเป็นไข้ ส่วนผลข้างเคียงรุนแรง ยกตัวอย่าง ประเทศแคนาดา ฉีดไปหลักล้านโดส ก็ทราบผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้คือ การแพ้รุนแรง ขณะที่วัคซีนไฟเซอร์ระบุว่าโอกาสแพ้รุนแรง อาจอยู่ที่ 9 หรือ 10 ในล้านเข็ม ซึ่งเหมือนวัคซีนอื่นที่อาจแพ้ส่วนประกอบที่อยู่ในนั้น ดังนั้น หลังฉีดแล้วจะต้องนั่งสังเกตอาการใน รพ. อย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันการแพ้และให้แก้ไขทันท่วงที”

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก :  www.cnbc.com,www.news.trueid.net

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชวนเข้าครัว!ให้ อาหารเป็นยา กับเมนูอร่อยต้านโควิด-19

ให้ลูกกินน้ำนมได้ไหม ถ้าแม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19

ระวัง!! ภาวะ MIS-C หลังเด็กหายป่วยโควิด โรคอันตรายที่พ่อแม่ต้องรู้!!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up