อาการแพ้นมวัว

แพ้นมวัว หมอชี้! แท้จริงเป็นเพราะพ่อแม่

Alternative Textaccount_circle
event
อาการแพ้นมวัว
อาการแพ้นมวัว

เมื่อไรลูกจะกลับมาดื่มนมวัวได้อีกครั้ง

หากลูกแพ้นมวัว ถ้าเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงต่อไป เพราะถึงแม้ว่าอาการแพ้ อาจจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก แต่จะเปลี่ยนระบบไปเป็นปัญหาทางระบบทางเดินหายใจแทน คือเป็นหวัดบ่อยๆ เมื่อเข้าโรงเรียน จึงควรหาอาหารที่มีแคลเซียมสูงจากปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้งป่น ผัก ถั่วเมล็ดแห้ง ธัญพืช และงาดำมาทดแทน

ส่วนความเชื่อที่ว่า การดื่มนมวัวทำให้ร่างกายของเด็กสูงใหญ่เหมือนฝรั่ง ก็ไม่เป็นความจริง เพราะความสูงนั้นมีกรรมพันธุ์เป็นตัวกำหนดหลัก ภาวะโภชนาการที่เหมาะสม คือ โปรตีน และแคลเซียมที่พอเพียง (แต่ไม่มากเกินไป เพราะอะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้น) การมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยบ่อย (เพราะการป่วยแต่ละครั้งจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก) การออกกำลังกาย และการนอนหลับพักผ่อนที่มีคุณภาพ จะช่วยให้เด็กเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ

นอกจากนี้ คุณแม่ไม่ต้องกังวล หากไม่ได้ดื่มนมวัวผงที่ทำมาสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว จะไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นบางอย่างตามที่โฆษณาไว้ว่าจำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ เพราะว่าสารสำคัญเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นของสังเคราะห์ ซึ่งประโยชน์ไม่เท่ากับที่มีอยู่ในธรรมชาติ

แพ้นมวัว
ถ้าลูกเป็นเด็กแพ้นมวัว ก็แปลว่าเขามีความเสี่ยงที่จะแพ้อาหารชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย

อาหารเสริมของเด็กแพ้นมวัว

ถ้าลูกเป็นเด็กแพ้นมวัว ก็แปลว่าเขามีความเสี่ยงที่จะแพ้อาหารชนิดอื่นๆ ร่วมด้วย ที่พบบ่อย ได้แก่ ไข่ อาหารทะเล (ปลา น้ำปลา กุ้ง หอย น้ำมันหอย ปู ปลาหมึก) แป้งสาลี (ขนมปัง) ถั่วเมล็ดแข็ง (วอลนัท ฮาเซลนัท เม็ดมะม่วงหิมพานต์) ผักผลไม้รสเปรี้ยว (มะเขือเทศ ส้ม มะนาว สตรอว์เบอรี่ บลูเบอรี่ ราสเบอรี่ กีวี) จึงแนะนำว่า ควรเริ่มป้อนอาหารเหล่านี้หลังจากลูกอายุครบ 2 ขวบ และเมื่อเริ่มให้ก็ต้องลองทีละอย่างและเริ่มจากปริมาณน้อยๆ ก่อน แล้วดูว่าเขาแพ้อาหารชนิดนั้นหรือไม่

ส่วนอาหารเสริมที่ให้ได้ตามปกติ ได้แก่ ผักส่วนใหญ่ เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว และปลาน้ำจืด แต่ให้เริ่มหลังลูกอายุครบ 6 เดือนไปแล้ว ไม่ควรเริ่มก่อนหน้านั้น เพราะระบบภูมิต้านทานในลำไส้ยังพัฒนาไม่เต็มที่

ที่สำคัญคือ อย่าลืมเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัว (เนย ชีส ช็อกโกแลต เค้ก คุกกี้ ไอศกรีมนม) และถั่วเหลืองด้วย (เต้าหู้ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊วขาว) และถ้าลูกกินนมแม่ คุณแม่ก็ต้องเลี่ยงอาหารเหล่านี้ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การพาเด็กมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคภูมิแพ้ เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและหาอาการที่ลูกแพ้นมวัว นับว่าเป็นสิ่งที่ดีเพื่อผู้ปกครองจะได้รู้เท่าทันและรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ให้ลูกรักเติบโต แข็งแรงอย่างปลอดภัย

บทความดีๆ จากนิตยสาร Amarin Baby & Kids คอลัมน์ Kid Health โดย อ.พญ.นริศรา สุรทานต์นนท์ผู้เชี่ยวชาญด้านแพ้อาหารในเด็ก หน่วยภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และข้อมูลบางส่วนจาก : www.sanook.com

อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up