ขั้นตอนการทํา cpr

หมอสอนเอง! 7 ขั้นตอนการทํา cpr ช่วยชีวิต เมื่อลูกหยุดหายใจ

Alternative Textaccount_circle
event
ขั้นตอนการทํา cpr
ขั้นตอนการทํา cpr

“วิธีปฐมพยาบาล และ ขั้นตอนการทํา cpr ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้” โดย ผศ.พญ.ชิดชนก เธียรผาติ กุมารแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 2 ที่จะมาให้คำแนะนำ สาธิตให้ดูแบบชัด เพื่อช่วยชีวิตลูก และใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินในชีวิตประจำวันได้

7 ขั้นตอนการทํา cpr ช่วยชีวิต เมื่อลูกหยุดหายใจ
โดย ผศ.พญ.ชิดชนก เธียรผาติ

ทำความรู้จักกับ CPR 

CPR ย่อมาจาก Cardio-Pulmonary Resuscitation คือ วิธีการปฐมพยาบาลขั้นแรก ก่อนที่จะถึงมือบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อช่วยเหลือคนที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น หรือหยุดหายใจ ด้วยการกดบริเวณหัวใจเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด เพิ่มปริมาณอากาศที่ไหลเข้าไปในปอด หากช่วยชีวิตคนด้วย ขั้นตอนการทํา cpr นี้ จะทำให้ผู้ป่วยกลับมาหายใจได้ สามารถนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยมีความเสี่ยงเสียชีวิตหรือสมองตายน้อยลง ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยได้มากขึ้น

ลูกป่วย

สาเหตุที่พบเจอบ่อย ของอาการหัวใจหยุดเต้น

ก่อนจะไปเรียนรู้ ขั้นตอนการทํา cpr พ่อแม่ต้องรุ้ก่อนว่าการที่หัวใจหยุดเต้นไปเพียง 4 นาที ก็อาจทำให้เด็กเด็กเสียชีวิตได้แล้ว ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ก็คือ..

  • โรคหัวใจ
  • อุบัติเหตุ ไฟช๊อต ไฟดูด
  • จมน้ำ
  • โดนสารพิษ

ในแต่ละปีมีผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นประมาณ 350,000 รายในสหรัฐอเมริกา โดย 90% เป็นผู้ใหญ่ และ 7,037 รายเป็นเด็ก ซึ่งมีเพียง 12% ของผู้ที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นเท่านั้นที่รอดชีวิต ดังนั้นการเรียนรู้การทำ CPR จึงเป็นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้น จะทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปทั่วร่างกายได้ หากหัวใจหยุดเต้นเพียง 4 นามี ก็ทำให้สมองถูกทำลายเนื่องจากขาดออกซิเจนแล้ว ขั้นตอนการทํา cpr จึงต้องทำอย่างรวดเร็ว

 

ขั้นตอนการทํา cpr ในผู้ใหญ่ เด็กเล็กและเด็กโต

1.  ประเมินการหมดสติ ขั้นตอนการทํา cpr อันดับแรกต้องประเมินเบื้องต้นว่า ผู้ป่วยมีอาการเป็นอย่างไร หมดสติหรือไม่ หยุดหายใจหรือไม่ หัวใจหยุดเต้นหรือไม่

  • ก่อนจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ให้ตรวจสอบให้ดีก่อนว่า พื้นที่ที่เราจะเข้าให้ความช่วยเหลือ ปลอดภัยหรือไม่ เช่น หากอยู่กลางถนน ให้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการปิดกั้นการจราจรหรือยัง หรือไฟช๊อต ผู้ป่วยควรถูกพาออกมาให้พ้นจากกระแสไฟ หรือมีการตัดไฟก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือ
  • เรียกคนไข้เสียงดัง ๆ พร้อมตบบ่า ไหล่ ทั้งสองข้างแรง ๆ ถ้าผู้ป่วยไม่ตอบสนอง ถือว่าหมดสติ สำหรับเด็กเล็ก ลองเขี่ยเท้าเด็กเพื่อดูการตอบสนอง ไม่ควรเขย่าตัวเด็กแรง ๆ

ลูกป่วย

2. ตรวจสอบการหายใจ ตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยยังหายใจหรือไม่ ด้วยการสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก และฟังเสียงหายใจจากปากหรือจมูก

3. ตรวจสอบการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ใหญ่ให้ดูที่หลอดเลือดใหญ่ที่คอ โดยวางนิ้วด้านข้างของลำคอ ระดับเดียวกับลูกกระเดือก กดบริเวณกล้ามเนื้อ เพื่อสัมผัสชีพจร สำหรับเด็กเล็กให้นอนหงาย แล้วแตะดูที่ข้อพับ หากมีชีพจรอ่อน หรือชีพจรต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที ถือว่าหัวใจหยุดเต้น ต้องปั้มหัวใจ

4. ขอความช่วยเหลือ ด้วยการโทร 1669 แล้วให้ข้อมูลอย่างละเอียดทั้ง สถานที่ อาการของผู้ป่วยที่ตรวจสอบเบื้องต้น

5. กดหน้าอกเพื่อปั้มหัวใจ

ขั้นตอนการทํา cpr นี้สำคัญมาก ตำแหน่งวางมือ ควรวางให้ตรงจุด เพราะหากวางมือผิดวิธี หรือวางมือผิดตำแหน่ง จะทำให้การปั้มหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ และอาจทำให้ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ

  • ผู้ใหญ่ วางมือตรงตำแหน่งกึ่งกลางหน้าอกระดับราวนม วางมือข้างที่ถนัดไว้ด้านล่าง ทับข้างบนด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด วางมือให้ตั้งฉากกัน เทน้ำหนักส้นมือสัมผัสหน้าอกผู้ป่วย ผู้ทำการปั้มหัวใจต้องนั่งโถมตัวเหนือผู้ป่วย ให้หัวไหล่ แขน มือ อยู่ในแนวตั้ง กดหน้าออกลงไปตรง ๆ ให้แขนตึง ไม่งอแขนหรือข้อศอก กดลงไปครึ่งหนึ่งของความหนาอกแล้วปล่อย โดยที่ส้นมือยังแตะอยู่กับอกตลอดเวลา ปล่อยให้หน้าอกเด้งกลับขึ้นมาเอง กดไป 30 ครั้ง ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
  • เด็กโต ใช้วิธีเหมือนกัน แต่จะใช้แค่ 1-2 มือ แล้วแต่ขนาดตัวของเด็ก กดหน้าอกลงให้ลึก 1/2 หรือ 1/3 ของอก โดยกด 30 ครั้ง ด้วยอัตราเร็วเท่ากันกับของผู้ใหญ่
  • เด็กเล็ก ใช้ 2 นิ้ว คือนิ้วชี้และกลางของมือข้างที่ถนัด หรือใช้ 2 มือโอบรอบตัวเด็ก และวางนิ้วโป้งทั้งสองมือลงที่กลางอกของเด็ก กดลงไปให้ลึก 1/3 ของอก เป็นจำนวน 30 ครั้ง

6. สลับมาเป่าปาก โดยพ่นลมจากปากให้ผู้ป่วย 2 ครั้ง ครั้งละอย่างน้อย 1 วินาที ใช้วิธีพ่นลมยาว ๆ โดยก่อนหน้านั้นให้จัดทางเดินอากาศให้โล่ง สำหรับผู้ใหญ่ ให้เชยคางขึ้น กดหน้าผากลงไปให้เงยหน้า สำหรับเด็กก็ทำเหมือนกัน แต่ไม่ต้องกดหน้าผากเด็ก

7. ทำซ้ำเรื่อย ๆ แบบ 30/2 คือปั้มหน้าอก 30 ครั้ง เป่าปาก 2 ครั้ง จนกว่าหัวใจจะกลับมาเต้น หรือเริ่มหายใจอีกครั้ง หรือจนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

 

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ

เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่ติดอยู่ในลำคอของทารก สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ สามารถเข้าไปปิดกั้นทางเดินหายใจ เด็ก ๆ มักจะสำลักวัตถุชิ้นเล็กๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นถั่วหรือลูกปัด คนรอบข้างควรระวังไม่ให้เด็กนำสิ่งเหล่านี้เข้าปาก

ทำความเข้าใจกับการสำลักอาหาร

สำลัก คืออาการที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมติดในช่องคอหรือหลอดลม ทำให้กีดขวางช่องทางการหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ โดยปกติแล้วการสำลักนั้นเกิดขึ้นแค่ครู่เดียว แต่ถ้าหากมีอาการนาน การสำลักก็อาจเป็นอันตราย และรุนแรงถึงชีวิตได้

สาเหตุของการสำลัก

เด็กมักจะสำลักเมื่อนำสิ่งของเข้าปากด้วยความอยากรู้อยากเห็น หรือเกิดการสำลักขณะที่กินอาหารเร็วเกินไป หรือพูดขณะที่มีอาหารอยู่ในปาก ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผู้ใหญ่สำลัก มักเกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด หัวเราะ พูดคุยขณะกินอาการ หรือดื่มน้ำเร็วเกินไป

 

วิธีสังเกตอาการสำลัก

  1. หายใจไม่สะดวก หรือมีอาการหายใจแรงและเสียงดังผิดปกติ
  2. พูดคุยตอบสนองไม่ได้
  3. ไม่สามารถกลืน หรือใช้เวลานานกว่าปกติ
  4. ไอแรง ๆ ไม่ได้
  5. ผิวหนัง ริมฝีปาก และเล็บเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ เนื่องจากขาดออกซิเจน
  6. ขาดสติ ไม่รู้สึกตัว

สำหรับเด็กเล็ก ให้สังเกตดูอาการว่า เด็กดูเจ็บปวด จับบริเวณคอที่ตรงกับทางเดินหายใจด้วยท่าทีทรมาน หายใจเสียงดัง ร้องไห้ หรือไอไม่ได้ บางครั้งไม่สามารถส่งเสียงร้องหรือหายใจได้

 

วิธีจัดการเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมติดคอ

  1. ทารก หรือ เด็กเล็ก วิธีนำสิ่งแปลกปลอมออกจากคอของทารก ด้วยการให้ลูกนอน พาดบนตัก 1 ข้าง ให้ตัวของลูกห้อยลงต่ำ ใช้สันมือทุบระหว่างสะบัก 2 ข้าง ข้างละ 5 ครั้ง สลับกับนอนหงาย ใช้ 2 นิ้วมือกดบริเวณกึ่งกลางใต้ราวนม แถวลิ้นปี่ 5 ครั้ง เพื่อกระตุ้นให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา ใช้ฝ่ามือรองเพื่อหนุนคอเด็กขณะตบหลังและจับตัวเด็กหันหน้าออกคว่ำหน้าลง ทำซ้ำจนสิ่งแปลกปลอมออกมา ถ้ายังไม่หลุด และลูกเริ่มมีอาการตัวเขียว ให้เริ่มเข้าสู่กระบวนการนวดหน้าอกแบบ CPR
  2. ผู้ใหญ่ หรือ เด็กโต กรณีมีวัตถุใด ๆ ติดหลอดลม ให้ประสานมือเป็นกำปั้น วางมือไว้ตรงกลางท้องใต้ชายโครง รัดกระตุก หรือกระทุ้งที่ลิ้นปี่ขณะยืน เพื่อกระตุ้นให้สิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าหากไม่สามารถเอาวัตถุแปลกปลอมออกได้ด้วยวิธีเหล่า ต้องขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ฉุกเฉินทันทีโดยเร็วที่สุด

ลูกป่วย ลูกติดคอ

ลูกมีไข้ ตัวร้อน ทำอย่างไรดี

ขั้นตอนการเช็ดตัว เมื่อลูกไม่สบาย ตัวร้อนสูง

  • ควรเช็ดตัวลูกในห้องที่มีอากาศปลอดโปร่ง ไม่ร้อน ไม่หนาวจนเกินไป ควรปิดแอร์ เพราะอากาศเย็นจะยิ่งทำให้ร่างกายหดเกร็ง หนาวสั่น
  • ถอดเสื้อผ้าของลูกออก เตรียมน้ำอุ่นเพือป้องกันไม่ให้ลูกหนาวสะท้าน และเตรียมผ้าเอาไว้ 2 ผืน
  • จุดลดไข้ คือจุดที่มีชีพจรใหญ่ ได้แก้ คอ รักแร้ ขาหนีบ นำผ้าชุบน้ำหมาด ๆ วางตามจุดชีพจรสำคัญ แล้วนำผ้าอีกผืนเช็ดย้อนรูขุมขน เพื่อเปิดรูขุมขน ให้ความร้อนระบายออกมา โดยเช็ดครั้งละประมาณ 15 นาที

 

ถ้าลูกมีไข้สูงและมีอาการชัก

ในอดีต ผู้ใหญ่มักจะเอานิ้วใส่ปากให้น้องกัด เพราะกลัวลูกกัดลิ้นจนเสียชีวิต แต่ที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องทำอย่างนั้น เพราะตามปกติ ร่างกายมีกระบวนการหยุดชักไม่เกิน 5 นาที คุณพ่อคุณแม่สามารถปฐมพยาบาลลูกได้ด้วยการจับลูกนอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อจากอาหารเข้าในหลอดลมได้ ถ้าลูกดูตัวเขียว สามารถช่วยเป่าปากให้ลูกได้ โดยไม่ควรจับหรือกดยึดตัวลูกเอาไว้อย่างรุนแรงจนเกิดอันตราย แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

ลูกกินสารเคมีอันตราย ทำอย่างไรดี

ลูกกินสารเคมีเป็นปัญหาที่เจอบ่อย สมัยที่เป็นแพทย์ประจำบ้านเจอแทบตลอด คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำให้ลูกอาเจียน ไม่ควรให้ยา เพราะการอาเจียนเอาสารเคมีและกรดในกะเพาะอาหารออกมา จะยิ่งทำให้เกิดการระคายเคืองหลอดอาหารได้ และมีสารเคมีบางชนิดเท่านั้นที่สามารถล้างท้องได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกส่งโรงพยาบาลทันที

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

วิธี ปฐมพยาบาล และทำ CPR ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การทำ CPR และ การปฐมพยาบาลลูก โดย รพ. พระรามเก้า

สำลัก จนหมดสติไม่ต้องกระทุ้งท้องแล้วปั๊มหัวใจทันที!!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up