ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน

ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน แก้ไขอย่างไรดี?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน
ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน

 

เด็กอ้วนจ้ำม่ำ พ่อแม่และคนเลี้ยงลูกย่ายาย มักมองว่าลูกหลานน่ารัก อ้วนท้วนสมบูรณ์ แต่รู้อะไรไหมคะ ภายใต้ความอ้วนจ้ำม่ำของเด็ก อาจซ่อนไว้ด้วยโรคภัยไข้เจ็บก็ได้ ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน แม่ๆ กังวลใจกันไหมคะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีคำตอบในเรื่องลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน มาให้ได้ทราบกันค่ะ

ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน แก้ไขอย่างไรดี?

ทางทีมงานได้รับข้อความจากคุณแม่ที่มีความกังวลเรื่องน้ำหนักตัวของลูก ที่ถามเข้ามาดังนี้ค่ะ

ลูกชายอายุ 3 ขวบ 6 เดือนเดินล้มบ่อยๆ ทั้งที่ไม่ได้สะดุดอะไร เขาบอกว่า แค่เข่าอ่อนเฉยๆเวลาไปเดินเล่นกันเขาเดินได้ไม่นานก็ขอให้แม่อุ้ม ตอนนี้เขาสูง 102 เซนติเมตร หนัก 22 กิโลกรัม คุณหมอประจำเคยบอกว่าน้องเริ่มมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน  คุณแม่จึงสงสัยว่าปัญหาการเดินของลูกเกิดจากสาเหตุนี้หรือเปล่า ที่สำคัญลูกไม่ยอมกินเนื้อสัตว์  กินแต่นม น้ำเต้าหู้ ไข่ต้ม ข้าวเปล่า และโจ๊ก ฟักทองเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นเนื้อสัตว์เมื่อไรก็ทำท่าเหมือนจะอาเจียนทันที จึงนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับครอบครัวไม่ได้เลย รบกวนคุณหมอช่วยให้คำแนะนำด้วยนะคะ

และเพื่อให้คุณแม่คลายกังวลใจในเรื่อง แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด จะตอบในเรื่องนี้ให้ค่ะ

จากคำถาม หมอประมวลปัญหาได้ดังนี้ค่ะ

1. น้ำหนักตัวเกินหรืออ้วน

ลูกสูง 102 เซนติเมตร เทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 – 4.5 ขวบ ควรมีน้ำหนักประมาณ 16 – 17 กิโลกรัม จึงจะมีรูปร่างสมส่วน แต่ เขาหนักอยู่ที่ 22 กิโลกรัม จึงเข้าข่ายเป็นเด็กอ้วน เพราะน้ำหนักตัวเกินร้อยละ 20 ของน้ำหนักที่ควรจะเป็น

หมอขอชื่นชมคุณแม่ที่ใส่ใจเรื่องน้ำหนักตัวเกินของลูก เพราะโรคอ้วนเป็นอันตรายส่งผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น เพิ่ม ความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคกระดูกและข้อเสื่อม

เมื่ออ้วนแล้วจะเป็นเด็กไม่คล่องแคล่วเคลื่อนไหวได้ช้า เสียการทรงตัวได้ง่าย ด้านจิตใจอาจเป็นเด็กที่ไม่มีความสุข เนื่องจาก  ถูกล้อเลียน เพื่อนๆ ไม่อยากให้เข้ากลุ่มในการแข่งขันกีฬา เป็นต้น

2. การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ทำได้โดย

ควบคุมปริมาณอาหาร ไม่กินแป้ง น้ำตาลไขมันมากเกินไป ให้กินผักผลไม้ที่ไม่มีรสหวานจัด งดอาหารขยะ น้ำอัดลม ขนมหวาน ขนมถุงขบเคี้ยว อาหารทอด ปริมาณนมที่มากเกินไป ก็ทำให้เป็นโรคอ้วนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นนมรสหวาน นมเปรี้ยว ส่วนเครื่องดื่มรสช็อกโกแลต โกโก้ นมสำหรับเด็กที่มีปัญหาเบื่ออาหาร หมอไม่แน่ใจว่าคุณแม่อาจกำลังให้ลูกกินนมชนิดนี้อยู่หรือไม่ เพราะนมพวกนี้อาจทำให้เด็กกินข้าวยากมากขึ้นเนื่องจากอิ่มนม นอกจากนี้ยังทำให้เด็กติดหวานและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่คุณแม่บางท่านต้องการแต่ลูกของคุณแม่ท่านนี้มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินอยู่แล้ว

การออกกำลัง อาจเป็นการเล่นกีฬาหรือการหากิจกรรมให้ลูกได้เคลื่อนไหวมากๆ ลดกิจกรรมที่อยู่เฉยๆ เช่น การดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์

อ่านต่อ >> ลูกมีปัญหาเลือกกิน และ ล้มบ่อย หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up