ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน

ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน แก้ไขอย่างไรดี?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน
ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน

3. ปัญหาเลือกกิน

ส่วนใหญ่ลูกกินแต่แป้ง นม ไข่ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ และขาดกลุ่มผักและผลไม้ หมอคิดว่าปริมาณสารอาหารโปรตีนน่าจะเพียงพอ แต่ขาดความหลากหลาย อาจทำให้ขาดวิตามินซึ่งควรได้จากผัก ผลไม้ และขาดธาตุเหล็ก ซึ่งมีมากในเนื้อหมูเนื้อวัว ตับ ผักใบเขียว จึงควรเสริมธาตุเหล็กและวิตามินให้เพียงพอ ในช่วงแรกที่ยังไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยการกินของลูกได้อาจต้องเสริมวิตามินและธาตุเหล็กไปก่อน

การพยายามเปลี่ยนนิสัยการกินของลูกต้องอาศัยความอดทน คอยสอนการกินให้ดูเป็นตัวอย่าง มีเทคนิคการทำอาหารที่มีการดัดแปลง สอดไส้ แต่ถ้าลูกอาเจียนทุกกรณีไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ว่ามีเนื้อสัตว์ปนเปื้อนอยู่อาจเป็นอาการแพ้อาหารรูปแบบหนึ่ง ไม่ได้เกิดจากการปฏิเสธอาหารที่มาจากจิตใจ ซึ่งอาจเกิดจากการกินครั้งแรกเคยมีปัญหาอาเจียน ก็เลยฝังใจตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ถ้าลูกแพ้อาหารประเภทเนื้อสัตว์จริงๆ คุณแม่ก็ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะคนบนโลกนี้ที่เป็นมังสวิรัติไม่กินเนื้อสัตว์มีอยู่มากมายก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาด้านสุขภาพ หากกินสารอาหารโปรตีนได้ครบถ้วนจากอาหารประเภทอื่นๆ เช่น ข้าวไม่ขัดสี ธัญพืช (grains) เมล็ดถั่วต่างๆ (beans, nuts) เมล็ดพืช (seed) ที่หลากหลาย

4. ปัญหาล้มบ่อยๆ

อาจเกิดจากการมีน้ำหนักตัวเกินทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักตัวเกิน ทำให้เสียหลักได้ง่าย ซึ่งหากควบคุมไม่ให้อ้วนได้แล้วอาการนี้หายไปก็จบ แต่ในระหว่างนี้หมอแนะนำว่า คุณแม่ควรพาลูกไปพบคุณหมอด้านโรคกระดูกเด็กโดยตรง เพื่อให้คุณหมอได้ประเมินว่าลูกไม่ได้มีปัญหาโรคกระดูกหรือโครงสร้างที่ผิดปกติ ไม่ได้เป็นโรคของกล้ามเนื้อหรือระบบประสาทผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

ข้อมูลเนื้อหาโดย  แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

อ่านต่อ >> ลูกน้ำหนักเกินตั้งแต่เด็กๆ เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพ หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up