กรมสุขภาพจิตพบ! เด็กเล็กเป็นโรค “ไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น เพราะพ่อแม่ให้ลูกเล่นแท็บเล็ต-มือถือ

event

ลูกติดโทรศัพท์

การแก้ไขและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กวัยเรียนอย่างเต็มศักยภาพ

กรมสุขภาพจิตได้จัดระบบเฝ้าระวัง IQ , EQ และค้นหาเด็กชั้นประถมศึกษาที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชแอบแฝง เชื่อมโยงระหว่างโรงเรียนโรงพยาบาลในพื้นที่และครอบครัว เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลรักษาเร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้ดำเนินการครอบคลุมทุกอำเภอ โดยครูประจำชั้นสามารถตรวจคัดกรองเด็กที่มีผลการเรียนต่ำ ตามแบบคัดกรองอย่างง่ายที่กรมสุขภาพจิตพัฒนาขึ้น

ผลการตรวจที่ผ่านมาพบมีเด็กที่มีอาการใกล้เคียงและเป็นกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 30 หลังจากได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครูแล้ว เด็กร้อยละ 20 เรียนรู้ดีขึ้น มีร้อยละ 10 จำเป็นต้องพบจิตแพทย์ตรวจรักษา ซึ่งทำให้เด็กป่วยเข้าถึงบริการดีขึ้น
ส่วนด้านรองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เรื่องที่น่าห่วงมากขณะนี้พบว่า เด็กเล็กทั่วไปที่ปกติ เป็นโรคไฮเปอร์เทียมกันมากขึ้น กล่าวคือ มีอาการคล้ายโรคไฮเปอร์ แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย

Good you know : ไฮเปอร์” แท้ คือ ในระยะที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ถ้าเด็กน้อยในครรภ์ได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง หรือในกรณีที่เด็กคลอดออกมาแล้วขาดออกซิเจน หรือช่วงเป็นเด็กไม่ได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าอย่างเพียงพอ หรือได้รับสารพิษ สาเหตุทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นโรคไฮเปอร์ได้

สาเหตุของโรคไฮเปอร์เทียม

เกิดมาจากพ่อแม่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เลี้ยงดูลูกแบบตามใจ หรือปล่อยปละละเลยให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบเล่นหรือดูเกมในแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน เพราะเห็นเหมือนว่าเด็กจะนิ่ง ไม่ซุกซน ไม่กวนใจพ่อแม่ วงการจิตแพทย์พบว่าความเร็วของภาพในเกมซึ่งเปลี่ยนเร็วทุก 3 วินาทีจะส่งผลโดยตรงต่อสมองทำงานไม่ลงตัว คุมสมาธิไม่ได้ ทำให้ทักษะการอ่านการเขียนการพูดของเด็กแย่ลง เด็กมีอารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น มีปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น

จึงขอให้พ่อแม่ผู้ปกครองระมัดระวัง อย่าให้เด็กเล็กเล่นเกมจากแท็บเล็ต โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ยิ่งหากให้หยุดเล่นสิ่งเหล่านี้ได้เร็วเท่าใดจะเป็นผลดีต่อเด็ก อาการจะค่อยๆหายไป โดยผู้ปกครองควรให้เด็กได้เล่นกับเด็กวัยเดียวกัน เพื่อให้เด็กมีทักษะและพัฒนาการทุกด้าน

วิธีการดูแลเด็กที่เป็นโรคไฮเปอร์

คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง ต้องร่วมมือกันกับโรงเรียน โดยคุณครูควรจัดให้เด็กนั่งเรียนหน้าชั้นหรือใกล้ครู เพื่อที่จะคอยกำกับให้เด็กมีความตั้งใจ มีสมาธิ ไม่ควรให้นั่งเรียนหลังห้องหรือนั่งใกล้ประตู หน้าต่าง เนื่องจากเด็กจะมีโอกาสเสียสมาธิง่าย ควรชื่นชมทันทีเมื่อเด็กตั้งใจเรียนหรือตั้งใจทำงาน

ส่วนคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองควรจัดบริเวณสงบในบ้านขณะเด็กทำการบ้าน แบ่งงานให้เด็กทำทีละน้อย และควรบอกเด็กล่วงหน้าถึงเรื่องที่ต้องการให้เด็กปฏิบัติ หากเด็กทำผิดควรใช้ท่าทีเอาจริง แต่จัดการอย่างสงบ ลงโทษเด็กตามข้อตกลง เช่นลดเวลาดูทีวี ที่สำคัญผู้ปกครองต้องฝึกลูกให้มีวินัย อดทน รอคอยเป็น จัดระเบียบให้ทำกิจกรรมต่างๆ โดยพ่อแม่ทำเป็นตัวอย่าง ทั้งนี้อาการอยู่ไม่นิ่งของเด็กจะลดลงเมื่อโตขึ้น มีประมาณร้อยละ 40 ของผู้ป่วยจะมีอาการจนถึงวัยผู้ใหญ่

อ่านต่อ >> วิธีแก้ไข เมื่อลูกติดโทรศัพท์ – แท็บเล็ต” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : m.manager.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up