เหวี่ยงบ้างก็ได้นะแม่

Alternative Textaccount_circle
event

แต่เมื่อเหลือบไปเห็นลูกวัย 2 ขวบทางกระจกมองหลัง เธอก็เลือกที่จะเก็บความโกรธไว้ในใจ แต่ต่อมาเธอเริ่มไม่แน่ใจว่าการซ่อนความรู้สึกของตัวเองแบบนั้นจะทำให้ลูกเข้าใจอะไรผิดๆ เกี่ยวกับแง่มุมบางอย่างในชีวิตทั้งร้ายและดีหรือเปล่า วิธีรับมือกับความกังวลดังกล่าวก็คือ สอนให้ลูกรู้จักวิธีการรับมือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

 
หน้าที่อย่างหนึ่งของพ่อแม่คือ การสอนให้ลูกรู้จักรับมือกับสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกเครียด ไม่ใช่คอยปกป้องลูกจากสถานการณ์ดังกล่าว คุณไม่จำเป็นต้องสาปแช่งพวกนักซิ่งหรือระบายอารมณ์ใส่ทุกคนและทุกเรื่องที่ทำให้รู้สึกเดือดดาล แต่บางครั้งการยอมรับว่าคุณกำลังโมโห (เช่นตะโกนว่า โอ๊ย ! แม่จะบ้าตายกับคนขับรถแบบนี้จริงๆ นะŽ) รวมทั้งการแสดงความเศร้าหรือความเครียด จะช่วยให้ลูกวัยเตาะแตะเข้าใจความรู้สึกของตัวเองและรู้ว่าการมีความรู้สึกแบบนั้นไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด

 
เพราะฉะนั้น ถ้าลูกเห็นคุณกระแทกหูโทรศัพท์อย่างแรงหลังจากทะเลาะกับพี่สาว คุณควรจะมีคำอธิบายที่เหมาะกับวัยของลูก เช่น แม่โกรธเพราะป้าแมวไม่ยอมทำตามสัญญาน่ะลูกŽ หรือถ้าลูกเห็นคุณอารมณ์เสียหลังกลับจากที่ทำงานคุณก็บอกเขาว่า แม่หงุดหงิด เพราะวันนี้แม่ทำงานไม่เสร็จเลยสักอย่างŽ เขาอาจจะไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูดแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ได้เรียนรู้ว่าความรู้สึกแบบนั้นคือส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน และรู้สึกเบาใจว่าเขาไม่ได้เป็นต้นเหตุที่ทำให้คุณอารมณ์เสีย

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up