โมโหลูก

เตือนสติพ่อแม่! นี่คือวิธีระงับอารมณ์เมื่อคุณโมโหลูก

event
โมโหลูก
โมโหลูก

โมโหลูก

กรณีตัวอย่างจาก คุณแม่ที่ขี้หงุดหงิด ขี้โมโหลูก

เป็นคนขี้โมโหลูกมากเลย ตอนนี้เลี้ยงลูก 3 คน วัย 6 ขวบ, 4 ขวบ และ 2 ขวบตามลำดับ  อยู่กับสามีนะคะ สามีดีมากค่ะ  แต่เลี้ยงลูกคนเดียว คือ ไม่มีปู่ย่า ตายายมาช่วยเลี้ยงหน่ะคะ อยู่ต่างจังหวัดกับแฟน เครียดมากค่ะ เวลาลูกทำอะไรเลอะนิดเลอะหน่อย ก็โกรธเหมือนคนบ้า เวลาพูดอะไรแล้วลูกไม่ฟัง ก็โมโหบ้าเหมือนกัน เช่น ขว้างปาสิ่งของ ตีตัวเองก็มี บางครั้งก็ตีลูกบ้างคะ อันนี้จะเก็บอารมณ์สุดๆ จนทนไม่ไหวจริงๆ แต่พอสักพักเดียวก็หาย คือ คิดได้ ว่าเรื่องแค่นี้เอง เก็บไป หรือเช็ดทำความสะอาดแค่นี้เอง เฮ้อ วันๆ เป็นหลายครั้งมากค่ะ จะเป็นบ้าหรือเปล่า  มีใครช่วยแนะนำ ลดความโมโหบ้างได้คะ จะขอบคุณมากๆๆ ค่ะ

ซึ่งทีมสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องการ โมโหลูก ที่น่าสนใจไว้ว่า…

ความเหน็ดเหนื่อยสะสมจากการดูแลลูกทั้ง 3 คน ของคุณทำให้หงุดหงิด โมโหง่าย และคุณก็มักเก็บอารมณ์ดังกล่าวไว้เมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่น ความเครียดและอารมณ์ที่ถูกเก็บกดไว้ นานวันเข้าอารมณ์เหล่านั้นก็แสดงตัวในรูปแบบที่ไม่เหมาะสมออกมาจนได้ แล้วตอนนี้คุณก็กำลังว่ามันกำลังคุกคามชีวิตคุณ จนอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตเสียแล้ว

วิธีควบคุมอารมณ์ตนเองง่าย ๆ

  • เรียกสติกลับมา สติ คือ ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ

    ฉุกคิดขึ้นได้เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ จะก่อให้เกิดความยับยั้งชั่งใจและความระมัดระวัง ไม่ให้เผลอแสดงออกในสิ่งที่ไม่เหมาะสมจนเกิดความเสียหาย ทางที่ดีที่สุด คือ คุณต้องมีสติอยู่เสมอนั่นเอง  วิธีเช็คง่าย ๆ ว่าตอนนี้คุณมีสติหรือไม่ ลองถามตัวคุณเองดูสิว่าตอนนี้คุณกำลังหายใจเข้าหรือออก ตอบได้ทันทีหรือต้องกลับไปคิดก่อน ฝึกเช็คสติตัวเองด้วยการสังเกตลมหายใจไปเรื่อย ๆ จะช่วยให้คุณคิดและทำเรื่องต่าง ๆ อย่างเป็นระบบมากขึ้น

  • ถอยออกมาตั้งหลัก ไม่จำเป็นที่คุณต้องเข้าไปจัดการกับทุกสิ่งทุกอย่างในทันทีทันใด

    ยิ่งรู้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้โมโหขั้นมาแล้วละก็ ควรถอยออกมาตั้งหลักก่อน รอให้ใจเย็นลงซักนิดแล้วค่อยกลับไปจัดการต่อก็ได้

โมโหลูก

  • หาวิธีระบายอารมณ์ที่เหมาะสม

    ลองใช้วิธีเขียนระบายความรู้สึกลงในกระดาษ เขียนทุกสิ่งที่อยากระบายออกไปให้มากเทาที่คุณต้องการ จากนั้นก็โยนมันทิ้งไปซะ แล้วลืมมันไปได้เลย

  • ให้อภัย เริ่มจากการให้อภัยตัวเอง

    ให้อภัยคนที่ทำให้เราโกรธ / โมโห เลือกและมองหาแง่ดีของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา (แม้สิ่งนั้นจะดูห่างไกลจากการมีสิ่งดี ๆ ซ่อนอยู่ก็ตามที )

  • เหนื่อยนักก็พักหน่อย หามุมสงบหรือมุมส่วนตัวของคุณเองภายในบ้านไว้พักผ่อน

    เช่น อ่านหนังสือดี ๆ สักเล่ม ฟังเพลงเบา ๆ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ เพื่อเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ และประกาศให้ทุกคนรู้ว่าคุณเองก็จำเป็นต้องมีเวลาและพ้ืนที่ส่วนตัวเช่นเดียวกัน หรือหากทำได้ก็ควรหาโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ที่น่าสนใจบ้าง เพื่อเป็นการเติมพลังให้ชีวิต

อ่านต่อ >> “เมื่อคุณโมโหลูก กับวิธีเปลี่ยนตัวเอง ไม่ให้เป็นยักษ์มารในสายตาลูก” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up