วิธีการชงนมที่ถูกต้อง

แนะนำพ่อแม่มือใหม่! ขั้นตอนการเตรียมนมและวิธีชงนมที่ถูกต้องเพื่อไม่ไห้เกิดฟอง (มีคลิป)

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีการชงนมที่ถูกต้อง
วิธีการชงนมที่ถูกต้อง

แนะพ่อแม่มือใหม่! วิธีการชงนมที่ถูกต้อง ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมนมและ เทคนิคการชงนมที่ถูกต้องเพื่อไม่ไห้เกิดฟอง มีคลิปสอนให้เห็นภาพ จะเป็นอย่างไร ตามมาดูกันเลย

 

พ่อแม่มือใหม่ต้องเรียนรู้ วิธีการชงนมที่ถูกต้อง ไว้ด้วย …แม้ว่าการให้นมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะนมแม่มีความปลอดภัยและเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด แต่บางครั้งคุณแม่บางคนอาจมีความจำเป็นที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ เพราะไม่ค่อยมีน้ำนม หรือเนื่องจากมีปัญหาสุขภาพบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก หรือคุณแม่กินยาบางอย่างที่สามารถผ่านมาทางน้ำนมได้ จึงจำเป็นต้องใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแทน 

สิ่งที่ควรทราบก่อนการใช้นมผสม

  1. เลือกชนิดของนมให้ถูกต้องตามอายุของเด็ก และต้องชงให้ถูกส่วนโดยดูตามคำแนะนำข้างกล่อง
  2. การชงนมทุกครั้งห้ามชงทิ้งไว้ ควรกะปริมาณให้พอดี…ถ้าลูกทานเหลือสามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิห้องเวลาไม่เกิน 3 ช.ม. (ห้ามวางตากแดด) และคุณแม่ควรชิมก่อนนำมาให้ลูกน้อยทานทุกครั้ง
  3. ทารกชอบนมที่ไม่เย็นหรือร้อนเกินไป หากเราชงนมและนำเข้าตู้เย็นไว้ ก่อนจะนำมาให้กิน ควรนำไปอุ่นโดยวางลงในชาม หรือหม้อที่ใส่น้ำร้อนไว้ ทิ้งแช่ไว้สักครู่ การอุ่นนมในไมโครเวฟนั้นไม่แนะนำให้กระทำ เพราะนมจะร้อนไม่สม่ำเสมอ บางส่วนที่ร้อนมาก อาจลวกปากเด็กได้
  4. เมื่อเรานำขวดนมออกจากตู้เย็นและอุ่นให้ร้อนแล้ว ห้ามนำกลับเข้าตู้เย็นอีกเด็ดขาด แม้เด็กจะหลับไปก่อนที่จะได้ดื่มนมขวดนั้นก็ตาม ทั้งนี้เพราะความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนจากเชื้อแบคทีเรีย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมินั้นสูงมาก
  5. เวลาให้นมลูกควรอุ้มลูกไว้ในอ้อมแขนทุกครั้ง จับขวดนมให้แน่นและเอียงให้พอเหมาะ เพื่อให้มีน้ำนมในจุกขวดตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าท้องลูก ระหว่างให้นมควรหยุดพักสัก 1-2 ครั้ง เพื่อไล่ลมให้ลูกเป็นระยะ

 

วิธีการชงนมที่ถูกต้อง

 

วิธีการชงนมที่ถูกต้อง

วิธีการชงนมที่ถูกต้อง

ขั้นตอนการเตรียมนมผสมที่ถูกต้อง

  1. ต้มขวดนมและจุกนมในน้ำเดือดประมาณ 10 นาที (แนะนำให้ใช้ขวดนมแบบ BPA free และขวดแแบบป้องกันโคลิค … อ่านต่อ >> การเลือกซื้อขวดนมให้ลูกน้อยและวิธีเช็ควันหมดอายุของขวดนม)
  2. การชงนมให้ใช้น้ำต้มสุก (สามารถชงด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำในอุณหภูมิปกติก็ได้) เท่านั้นในการผสมนม ส่วนน้ำดื่มบรรจุขวดไม่ใช่ว่าจะสะอาดปราศจากเชื้อโรคไปทั้งหมด เพราะฉะนั้นการต้มน้ำให้เดือดก่อนผสมกับนมผงคือสิ่งที่ควรทำ โดยจะต้องต้มให้เดือดจนเห็นฟองอากาศผุดออกมา ให้เย็นลงก่อน จึงนำไปป้อนทารกได้ … ส่วนน้ำที่ใช้ต้มหาก เป็นน้ำประปา อาจจะเปิดใส่ภาชนะไว้ก่อนเพื่อให้ตะกอนที่อาจมีตกตะกอน แล้วจึงนำมาต้ม

  3. น้ำที่ใช้ชงนมควรจะมีการปนเปื้อนเชื้อโรคน้อย ปลอดภัยจากยาฆ่าแมลง สารตะกั่ว หรือสารปนเปื้อนอื่น หากจะใช้น้ำแร่ที่บรรจุขวดควรตรวจสอบปริมาณโซเดียมที่เป็นส่วนผสม ถ้ามากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อลิตรจะสูงเกินไปสำหรับทารก และไม่ควรนำน้ำที่แก้ความกระด้างมาใช้ชงนมทารก

    วิธีการชงนมที่ถูกต้อง

  4.  อย่าใช้น้ำร้อนจัดในการชงนม” พราะจะไปทำลายโปรตีนและวิตามินบางส่วน  เช่น วิตามิน C ซึ่งจะไม่ทนความร้อนและนมทารกสูตรผสมจุลินทรีย์ที่มีชีวิตแนะนำว่าถ้าต้องการให้ลูกกินนมอุ่น ให้ใช้น้ำอุ่นประมาณ 60 °C ชงนม เพราะถ้าร้อนถึง 70 °C เชื้อจุลินทรีย์ที่ผสมไว้จะตาย  ทำให้ลูกจะไม่ได้ประโยชน์จากจุลินทรีย์สุขภาพและได้รับวิตามินบางชนิดลดลงจนน้อยกว่าที่ควร และการใช้น้ำร้อนจะทำให้ไขมันอาจจับตัวเป็นก้อนทำให้นมไม่ละลาย 
  5. ใส่น้ำอุ่นประมาณ 1 ใน 3 ของขวดนม ตวงนมผงตามมาตราส่วนข้างกระป๋องด้วยช้อนตวงที่บรรจุมากับกระป๋อง และปาดให้เรียบด้วยมีดที่สะอาด
  6. เติมน้ำอุ่นเพิ่มตามอัตราส่วนที่เหลือ  เขย่าขวดให้นมละลายให้หมด เทคนิคการเขย่าให้เกิดฟองน้อยที่สุด คือ การจับขวดแล้วหมุนมือเป็นวงกลมเหมือนเอาขวดนมแกว่งน้ำ  ซึ่งจะเกิดฟองน้อยกว่าการเขย่าขวดขึ้นลง เพราะฟองที่เกิดขึ้นขณะเขย่านมอาจทำให้เด็กท้องอืดได้
  7. ก่อนให้นมลูก ทดลองหยดน้ำนมลงบนหลังมือเพื่อทดสอบว่าอุ่นพอเหมาะ ไม่ร้อนจัดจะได้ไม่ลวกปาก
  8. นมที่เหลือจากการดูดควรปิดฝาครอบให้สนิททุกครั้งค่ะ และไม่ควรทิ้งนมชงที่เหลือจากการเลี้ยงทารกไว้ในอุณหภูมิห้องนานเกิน 2 ชั่วโมง ถ้านานกว่านี้ควรทิ้งนมในขวดไปเลย เพราะมันจะเริ่มบูด แล้วถ้าเด็กดื่มเข้าไปจะเป็นอันตรายได้

และเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เห็นภาพวิธีการชงนมไม่ให้เกิดฟองที่ชัดเจน
เรามีคลิปวีดีโอชงนมไม่ให้เป็นฟอง มาแนะนำค่ะ

นอกจาก วิธีการชงนมที่ถูกต้อง ที่สำคัญหลังดื่มนมทุกครั้ง คุณพ่อ คุณแม่ อย่าลืมจับอุ้มเรอให้ลูกน้อยด้วยนะคะ …. โดยมีวิธีไล่ลม คืออุ้มลูกนั่งตัก ให้นั่งตัวตรงเอามือรองใต้คางลูกไว้ อีกมือลูบเบาๆที่หน้าท้องบริเวณกระเพาะ หรืออุ้มลูกพาดไหล่ ให้คางลูกเกยบนไหล่ของคุณแม่พอดี เวลาลูกอยู่ในท่านี้ลมจะลอยขึ้นมา คุณแม่เพียงตบหลังเบาๆ ลูกก็จะเรอออกมาโดยง่าย เพื่อลดปัญหาลูกแหวะนม และท้องอืดได้ ลูกน้อยจะได้หลับสบาย ไม่โยเยค่ะ

วิธีเก็บและดูแลนมผสม

  1. นมผงควรใช้ให้หมดภายใน 1 ปี ครึ่ง หรือ 18 เดือน
  2. นมผงที่ชงแล้ว แนะนำให้ลูกกินให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อรักษารสชาติและคุณภาพของนม แต่สำหรับนมผงที่ชงแล้ว และต้องชงก่อนล่วงหน้าสำหรับเตรียมการเพื่อเดินทาง สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นและอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมงแต่หลังจากเวลานี้ไป แบคทีเรีย มีโอกาสเติบโตได้
  3. หากอยากจะเพิ่มอายุการจัดเก็บนม ต้องใส่ซองเก็บไว้ ซองที่เปิดแล้วต้องใช้ให้หมด แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องแกะเทใส่กล่อง ควรให้เป็นกล่องทึบที่ไม่มีแสงส่องถึงได้ นอกจากนี้ยังมีในเรื่องของอุณหภูมิอีก ซึ่งเคยมีงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัย ยูทาร์ จากสหรัฐอเมริกา ในการจัดเก็บนมผง จะได้นานที่สุดเมื่อเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส และสำหรับนมผงที่จัดเก็บในที่อุณหภูมิสูงเช่น 32 องศาเซลเซียส รสชาติจะเปลี่ยน และ จะอยู่ได้แค่ 2 ปี เท่านั้น หากอยู่ใน อุณหภูมิ 21 องศาเซลเซียส อาจทำให้มีรสชาติเปลี่ยนไป และวิตามินในนมผงจะลดลง ในขณะที่โปรตีน คาร์โบไฮเดรท และ แร่ธาตุอื่นๆยังคงที่

 

อ่านเพิ่มเติม บทความน่าสนใจ คลิก


ขอบคุณข้อมูลจาก guruobgyn.com , promotions.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up