ภาพหาดูยาก! สอน การเลี้ยงลูกของคนจีน ในสมัยก่อน แต่ยังสอนได้ดีในสมัยนี้

event

การเลี้ยงลูกของคนจีน

เด็กยังไม่รู้จักความตาย

ลูกอาจจะยังไม่รู้ว่าความตายคืออะไร แต่ในช่วงอายุหนึ่งเมื่อเริ่มโตขึ้น ลูกจะรู้จักเรื่องการตายของผู้คน และอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องความตายมาถามคุณ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถบอกเล่าถึงข้อเท็จจริงให้ลูกเข้าใจได้ โดยยกตัวอย่างเช่น พืชผักต้นไม้เติบโตได้ก็จะเหี่ยวเฉาได้ และนกก็สามารถตายได้เช่นกัน ความตายคือการสิ่งสิ้นสุดในการดำรงชีวิต พ่อแม่ควรใช้โอกาสนี้สอนลูกถึงเรื่องความไม่แน่นอนในชีวิต เพื่อให้ลูกรู้จักใช้ชีวิตและไม่ประมาท

จะเห็นได้ว่า จากภาพโปสเตอร์ทั้ง 8 ภาพนั้น ในช่วงเวลา 65 ปีที่ผ่านมา หลายสิ่งหลายอย่างอาจมีการเปลี่ยนแปลง แต่แนวโน้มการเลี้ยงดูลูกรวมถึงค่านิยมที่ฝังอยู่ในเคล็ดลับการเลี้ยงดูเหล่านี้ก็ยังไม่ล้าสมัย และไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก เพราะความจริงเหตุการณ์คำสอนต่างๆจากภาพก็ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน หากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่สนใจอยากมีวิธีการเลี้ยงลูกที่รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวมาเพื่อเป็นแนวทาง โปสเตอร์นี้ก็คงเป็นประโยชน์ได้บ้าง

การเลี้ยงลูกของคนจีน “คัมภีร์ออกศึกของแม่เสือ”

แต่ทั้งนี้หากพูถึงเรื่องการเลี้ยงลูกของคนจีน ซึ่งดูโดยทั่วไปต่างก็รู้กันดีอยู่ว่า คนจีนมีความเคร่งครัด มีระเบียบวินัย เข้มงวด เอาจริงเอาจัง ทำให้เด็กจีนมักได้คะแนนสอบดีเป็นที่น่าพอใจของผู้ปกครอง ซึ่งขณะนี้การเลี้ยงดูลูกแบบคนจีนดังกล่าวนั้น ก็ได้กลายเป็นประเด็นใหญ่โตกว้างขวางในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีบุคคลหนึ่งซึ่งเป็นคนเชื้อสายจีน เกิดในฟิลิปินส์ ไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาตั้งแต่เด็ก ชื่อ Amy Chua ( 蔡美儿) เขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อว่า Battle Hymn of the Tiger Mother หรือ “คัมภีร์ออกศึกของแม่เสือ” ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูกแบบคนจีน จนเป็นประเด็นฮือฮาในประเทศสหรัฐอเมริกา และกำลังเป็นประเด็นที่ดังมากจนเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมประเทศตะวันตก จนพาดพิงไปถึงเรื่องใครจะเหนือกว่ากันระหว่างวิธีการเลี้ยงลูกแบบจีนและแบบฝรั่ง กระทั่งทำให้เห็นกระแสความวิตกกังวลของชาวอเมริกันที่กลัวว่าจีนจะแซงหน้า

การเลี้ยงลูกของคนจีน

Amy Chua เป็นศาสตรจารย์สอนวิชากฏหมายที่มหาวิทยาลัยเยล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังของสหรัฐฯ Amy มีสามีเป็นชาวอเมริกัน มีบุตรสาวด้วยกันสองคน เธอเลี้ยงดูลูกสาวอย่างเคี่ยวเข็ญ เข้มงวดกวดขันสุดขีด จนถูกวิจารณ์ว่าโหดเหี้ยมไร้ปราณี หนังสือเรื่อง “Battle Hymn of the Tiger Mother” ที่เธอแต่งได้รับการวิจารณ์โจมตีอย่างหนักจากสื่อมวลชนและชาวอเมริกัน หลังจากนิตยสาร เดอะ วอลล์สตรีต เจอร์นัล ตัดทอนข้อความบางส่วนไปเขียน แต่ให้หัวข้อว่า “Why Chinese Mother Are Superior” (ทำไมแม่ชาวจีนถึงเหนือกว่า) Amy เล่าในหนังสือว่า เธอตั้งข้อห้ามและข้อบังคับต่างๆ ให้ลูกสาวทั้งสองเช่น

  • ห้ามไปนอนค้างที่อื่น
  • ห้ามดูทีวี เล่นเกมคอมพิวเตอร์
  • ห้ามเล่นกับเพื่อน
  • ห้ามร่วมกิจกรรมโรงเรียน
  • ห้ามบ่นหรือไม่มีสัมมาคารวะ
  • ต้องได้เกรดไม่ต่ำกว่า A เท่านั้น
  • ห้ามเลือกกิจกรรมนอกหลักสูตรด้วยตัวเอง
  • ต้องได้ที่หนึ่งในชั้น ยกเว้นวิชาพละและการแสดง
  • ไม่ให้หยุดซ้อมไวโอลินหรือเปียโน
  • ห้ามใช้ของแพง หรือของมียี่ห้อ แบรนด์เนมต่างๆ ฯลฯ

บางครั้ง Amy ถึงกับบังคับให้ลูกซ้อมดนตรีหลายชั่วโมงจนกว่าจะเล่นบทเพลงที่ต้องการได้ เมื่อลูกเริ่มประท้วงฉีกโน๊ตทิ้ง เธอก็เอามาแปะติดกันใหม่แล้วห่อไว้ไม่ให้ฉีกได้อีก และขู่ว่าจะเอาตุ๊กตาตัวโปรดของลูกไปบริจาค ถ้ายังไม่เล่นให้ได้ ขู่ว่าจะไม่ให้ทานอาหารกลางวัน อาหารเย็น ไม่จัดคริสต์มาสปาร์ตี้ ไม่ซื้อของขวัญให้ ไม่จัดงานวันเกิดให้ ถ้าหากยังเล่นผิดอีก ก็บังคับให้ฝึกโดยไม่มีหยุดพัก หรือแม้กระทั่งดื่มน้ำ เข้าห้องน้ำ และไม่ได้ทานอาหารเย็น บรรยากาศเป็นแบบสงคราม จนในที่สุดลูกของเธอก็สามารถเล่นเพลงที่ตัวเองไม่คิดว่าจะเล่นได้ และขึ้นไปแสดงบนเวทีด้วยความภาคภูมิใจและเป็นปลื้ม

Amy ยังเคยบังคับให้ลูกทำแบบฝึกหัดคิดเลขวันละ 2000 ข้อ โดยถือนาฬิกาจับเวลาอยู่ข้างๆ ทำอย่างนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพียงเพราะว่าก่อนหน้านี้ลูกสอบคิดเลขได้ที่สองในชั้น ทำให้ Amy รู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่ง หลังจากฝึกอย่างโหดๆ แบบนี้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นลูกไม่เคยพลาดตำแหน่งที่หนึ่งในการสอบคิดเลขทุกครั้งต่อมา นอกจากนี้ หากลูกทำไม่ดีตามที่ Amy คาดหวังไว้ เธอก็จะด่าลูกว่าเป็น”เศษขยะ” และก็เคยโยนบัตรอวยพรวันเกิดที่ลูกสาวทำให้ให้ไปทำใหม่ โดยหาว่าทำไม่สวย ให้ทำใหม่ที่สวยกว่า

วิธีเลี้ยงลูกแบบแม่เสือที่ Amy เขียนในหนังสือเรียกความหมั่นไส้คัดค้านและโกรธแค้นมากมายจากชาวอเมริกันที่ชินกับวิธีการเลี้ยงลูกแบบให้คำชมเชยตลอดและปล่อยให้เด็กเติบโตตามธรรมชาติ บางคนก็ว่าเธอเป็นปีศาจ

จากการสำรวจคุณแม่ชาวอเมริกัน กับแม่ชาวเอเซียอพยพ พบว่า 70% ของแม่ชาวอเมริกันบอกว่าการเรียนหนักเกินไปไม่ดีสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องพยายามเสริมสร้างความรู้สึกว่า การเรียนเป็นเรื่องสนุกให้ลูกๆ ขณะที่แม่ชาวเอเซียอพยพคิดว่า การศึกษาเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการเลี้ยงดู และ Amy บอกว่า ความสนุกกับสิ่งไดๆ จะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อสามารถกระทำสิ่งนั้นได้อย่างเชี่ยวชาญแล้วเท่านั้น

Amy เห็นว่า ลักษณะเด่นของคุณแม่ชาวจีนคือ ไม่เหมือนคุณแม่ชาวอเมริกันที่คิดอยู่เสมอว่าเด็กต้องได้รับคำชมตลอด โดยคิดว่าเด็กมีความเข้มแข็งแฝงอยู่ในตัว สามารถทนต่อความกดดันและบีบบังคับจากพ่อแม่ซึ่งมักจะมาในรูปแบบการต่อว่า บันดาลโทสะหรือขู่เข็ญ Amy ยังได้สรุปข้อสำคัญ 3 ข้อที่ทำให้พ่อแม่จีนประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูก ได้แก่ ไม่ใส่ใจความรู้สึกของลูก ยึดแนวคิดที่ว่าลูกต้องกตัญญูต่อพ่อแม่ และเห็นว่าเด็กอายุน้อยไม่รู้เรื่องอะไร ต้องมีพ่อแม่คอยให้คำชี้แนะตลอด

ทั้งนี้ก็มีผู้อ่านชาวอเมริกันแสดงความเห็นว่า การกระทำของ Amy Chua เป็นการทำร้ายเด็ก การที่เด็กเอเชียขาดความคิดสร้างสรรค์ก็เพราะเติบโตกับวิธีการเลี้ยงดูแบบนี้ แต่ก็มีผู้ปกครองชาวอเมริกันจำนวนไม่น้อยเห็นว่า ควรเรียนรู้วิธีการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวดบ้าง พร้อมยอมรับว่าตัวเองก็เป็นพ่อเสือแม่เสือเหมือนกัน ขณะเดียวกัน มีผู้ปกครองชาวเอเชียอพยพพากันกล่าวว่า หนังสือเล่มนี้ทำให้สังคมตะวันตกมีความเข้าใจผิดต่อนักเรียนและครอบครัวของนักเรียนชาวเอเชียมากขึ้น

อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมุลและภาพจาก : en.rocketnews24.com , thai.cri.cn

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up