ภาวะกระบอกตาห่างแต่กำเนิด

ภาวะกระบอกตาห่างแต่กำเนิด อาการ และการรักษา !!

Alternative Textaccount_circle
event
ภาวะกระบอกตาห่างแต่กำเนิด
ภาวะกระบอกตาห่างแต่กำเนิด

ตาห่างแต่กำเนิด  รักษาได้หรือไม่?

ภาวะตาห่างแต่กำเนิด ถือเป็นหนึ่งในความผิดปกติบนใบหน้าที่ติดตัวลูกมาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งเด็กบางคนที่พบว่ามีกระบอกตาห่างมากจนใบหน้าผิดรูป ซึ่งการรักษาจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด

นพ.เสรี เอี่ยมผ่องใส และนพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์ ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ2 ได้ให้ความรู้ในการรักษาภาวะกระบอกตาห่างแต่กำเนิด  ไว้ดังนี้

  1. ก่อนที่จะเริ่มต้นการรักษา ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหาโรคอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้
  2. จากนั้นจะต้องมีการวางแผนการรักษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญแบบสหสาขาวิชา (multidisciplinary team care) เพื่อให้การรักษาได้ผลดีที่สุด
  3. การรักษาจะเริ่มต้นด้วยการรักษาโรคที่เป็นต้นเหตุก่อน และอาจจะทำการแก้ไขภาวะกระบอกตาห่างในคราวเดียวกันถ้าทำได้ หรือ รอทำแยกในช่วงอายุที่เหมาะสม
  4. การผ่าตัดที่จะสามารถทำได้ คือ การเคลื่อนย้ายกระบอกตาทั้งสองข้างเข้าหากัน (medial orbital translocation) จะทำในช่วงอายุ 2-5 ขวบ
  5. ถ้าในเด็กที่เป็นภาวะกระบอกตาห่างมีอาการไม่รุนแรง และไม่พบว่ามีความผิดปกติของสายตา ก็จะรอจนกว่าเด็กอายุ 4-5 ขวบ จึงจะผ่าตัดเคลื่อนย้ายกระบอกตา เพราะการผ่าตัดชนิดนี้ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ และอันตรายมาก เพราะมีการเสียเลือดมาก2

ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดกับเด็กที่มีภาวะกระบอกตาห่างแต่กำเนิด จำเป็นต้องได้รับการรักษาตั้งแต่เบื้องต้น คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด เพราะหากปล่อยไว้ยิ่งไม่เป็นผลดีต่อพัฒนาการทางร่างกายของลูก  โดยเฉพาะในเรื่องของสายตา การรักษาอย่างถูกวิธีจะช่วยลดปัญหาด้านการใช้สายตา และช่วยให้ใบหน้าที่ผิดรูปกลับมาเป็นปกติมากขึ้น ที่สำคัญยังช่วยในเรื่องของจิตใจที่จะไม่ทำให้ลูกรู้สึกว่าแตกต่างจากเพื่อนๆ วัยเดียวกัน ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขได้ต่อไปในอนาคต  ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก!

ทารกขาดวิตามินบี 12 เสียชีวิต เพราะแม่รักสุขภาพกินแต่ผัก
อาการนอนผวาในทารก สาเหตุ และวิธีแก้ไข
รู้ทัน ภาวะซีดในทารก ก่อนลูกขาดธาตุเหล็กรุนแรง

 

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2นพ.เสรี เอี่ยมผ่องใส  นพ.นนท์ โรจน์วชิรนนท์.ภาวะกระบอกตาห่างแต่กำเนิด. ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ  craniofacial

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up