Craniosynostosis

Craniosynostosis ภาวะ กะโหลกศีรษะเกยกัน ในทารก อันตรายไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
Craniosynostosis
Craniosynostosis

Craniosynostosis – ภาวะกะโหลกศีรษะเชื่อมต่อกันผิดปกติหรือเกยกันเป็นข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นโดยกำเนิดเกิดจากรอยประสานกะโหลกศีรษะของทารกแต่ละส่วนที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันอย่างผิดธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีเส้นใยซึ่งจับกะโหลกของทารกไว้ด้วยกันจะยืดและผลิตกระดูกใหม่ สิ่งนี้ทำให้กะโหลกศีรษะขยายได้เมื่อสมองโตขึ้น กระดูกกะโหลกศีรษะมักจะมีความยืดหยุ่นและแยกออกจากกันประมาณ 12 ถึง 18 เดือนหลังคลอด ภาวะกะโหลกศีรษะเกยกันจะเกิดขึ้นหากมีรอยประสานในกะโหลกศีรษะก่อนที่สมองจะก่อตัวเต็มที่ การปิดก่อนกำหนดหมายความว่าสมองจะไม่สามารถเติบโตในรูปร่างตามธรรมชาติได้ ทำให้ศีรษะมีรูปร่างผิดปกติซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างของสมอง ประสาทตา และระบบทางเดินหายใจของทารกได้ในอนาคต

Craniosynostosis ภาวะ กะโหลกศีรษะเกยกัน ในทารก อันตรายไหม?

สาเหตุของ Craniosynostosis ภาวะกะโหลกศีรษะทารกเกยกัน

สาเหตุสำคัญนั้นเกิดจากการที่กระดูกที่มาประกอบกันเป็นกะโหลกศีรษะมีการเชื่อมติดหรือผสานต่อกันอย่างผิดปกติ หรือรอยต่อขอกะโหลกทำการปิดก่อนที่สมองของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งโดยปกติ รอยต่อของกะโหลกเหล่านี้ควรเปิดอยู่จนกว่าทารกจะอายุประมาณ 2 ขวบ แล้วจึงเชื่อมติดสนิทจนแน่น เมื่อข้อต่อปิดเร็วเกินไป ส่งผลให้สมองดันกะโหลกขณะที่ร่างกายยังเติบโตต่อไป ซึ่งทำให้ศีรษะของทารกดูผิดรูปและยังสามารถทำให้เกิดแรงกดดันในสมองเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นและปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ได้ ทารกประมาณ 1 ใน 2,500 คน เกิดมาพร้อมกับอาการนี้  นอกจากนี้ทารกกะโหลกที่รอยต่อผสานรวมเร็วเกินไปอาจเกิดได้จากโรคทางพันธุกรรม ต่อไปนี้

  • กลุ่มอาการครูซอง (Crouzon Syndrome)
  • กลุ่มอาการเอเพิร์ต (Apert Syndrome)
  • กลุ่มอาการไฟเฟอร์ (Pfeiffer Syndrome)
  • กลุ่มอาการคาร์เพนเตอร์ (Carpenter Syndrome)
  • กลุ่มอาการเซเทอร์-โชเซน (Saethre-Chotzen Syndrome)

ใครบ้างที่มีความเสี่ยง

ความเสี่ยงของการเกิดภาวะกะโหลกศีรษะเกยกันอาจเพิ่มขึ้นในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เช่นเดียวกับทารกที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้ หรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรม นอกจากนี้ความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้น หากมารดาต้องใช้ยารักษาภาวะเจริญพันธุ์หรือเป็นโรคไทรอยด์ในระหว่างการตั้งครรภ์นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่คลอด้วยวิธีธรรมชาติในกรณีที่ท่าของทารกอยู่ผิดปกติในเชิงกรานของมารดาส่งผลให้ศีรษะทารกอาจเคลื่อนได้ช้าระหว่างการคลอด ซึ่งอาจตรวจพบศีรษะบวมน้ำหรือพบการเกยกันของกะโหลกศีรษะทารกได้มากขึ้นหลังคลอด

อาการของ Craniosynostosis กะโหลกศีรษะทารกเกยกัน

อาการโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับรอยต่อกะโหลกศีรษะของทารกที่ผิดปกติ รวมถึงพัฒนาการของสมอง มักจะสังเกตเห็นอาการผิดปกติได้เมื่อทารกคลอด อย่างไรก็ตาม เด็กบางคนอาจไม่แสดงอาการจนกว่าจะถึงสัปดาห์แรกหรือเดือนแรกหลังคลอด

อาการที่พบได้โดยทั่วไปของโรคกะโหลกศีรษะทารกเกยกัน ได้แก่

  • ศีรษะและกะโหลกผิดรูป
  • กระหม่อมหายไปบนศีรษะของทารก
  • สันแข็งตามแนวรอยประสานของกะโหลก
  • การเจริญเติบโตของศีรษะถดถอย ในขณะที่ร่างกายยังคงเติบโต
  • เด็กมีอาการง่วงซึมหรือเมื่อยล้า
  • กระสับกระส่าย ร้องไห้บ่อย
  • เส้นเลือดบริเวณหนังศีรษะที่สังเกตได้ชัดเจน
  • ดูดเต้าหรือดูดขวดไม่ค่อยดี
  • มีอาการอาเจียนพุ่ง
  • ศีรษะมีขนาดผิดปกติ เมื่อวัดเส้นรอบวง
  • มีพัฒนาการล่าช้า
กะโหลกศีรษะทารกเกยกัน
กะโหลกศีรษะทารกเกยกัน

ประเภทของ ภาวะกะโหลกศีรษะทารกเกยกัน Craniosynostosis

ความผิดปกติของภาวะกะโหลกศีรษะเกยกัน แบ่งออกได้หลายประเภท  ขึ้นอยู่กับว่าลักษณะการเชื่อมต่อของกะโหลกนั้นได้รับผลกระทบอย่างไร ได้แก่

  • Sagittal (scaphocephaly) คือ การประสานก่อนเวลาอันควรของกะโหลกที่ลากจากด้านหน้าไปด้านหลังที่ส่วนบนของกะโหลกศีรษะ บังคับให้ส่วนหัวยาวและแคบ หน้าผากโหนกอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นประเภทที่พบได้บ่อยที่สุดและมีความเสี่ยงต่ำต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของสมองที่ผิดปกติ
  • Coronal  คือ การผสานเชื่อมต่อก่อนเวลาอันควรของรอยประสานโคโรนัล (Unicoronal) จากหูแต่ละข้างไปยังส่วนบนของกะโหลกศีรษะอาจทำให้หน้าผากแบนในด้านที่ได้รับผลกระทบ และนูนในด้านที่ไม่ได้รับผลกระทบ  ศีรษะจะมีลักษณะสั้นและกว้าง หรือหน้าผากมีลักษณะเอียงไปข้างหน้า นอกจากนี้ยังมีผลให้จมูกและเบ้าตาหรือดวงตามีลักษณะผิดปกติได้ (จมูกเบี้ยว เบ้าตาที่สูงและเอียง หรือตายื่นออก)
  • Metopic  คือ เมื่อรอยประสานเมโทปิกจากด้านบนของสันจมูกขึ้นไปผ่านกึ่งกลางหน้าผากไปจนถึงกระหม่อมหน้าเชื่อมติดกันก่อนเวลาทำให้หน้าผากมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีช่องว่างระหว่างดวงตาเล็กลง และส่วนหลังของศีรษะขยายออกเนื่องจากสมองเติบโตมาในทิศทางนี้
  • Lambdoid Synostosis เป็นประเภทที่พบได้ยาก แต่หากเกิดขึ้นอาจทำให้ศีรษะของทารกข้างหนึ่งดูแบน หูข้างหนึ่งสูงกว่าหูอีกข้างหนึ่ง และศีรษะเอียงไปข้างหนึ่ง เป็นต้น

อ่านต่อ…Craniosynostosis ภาวะ กะโหลกศีรษะเกยกัน ในทารกอันตรายไหม? คลิกหน้า2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up