ทารกอุจจาระมีมูก

ทารกอุจจาระมีมูก จะเป็นอันตรายไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
ทารกอุจจาระมีมูก
ทารกอุจจาระมีมูก

ทารกอุจจาระมีมูก ทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลใจว่า เป็นอาการปกติของทารก ลูกไม่สบายหรือเปล่า เป็นโรคอะไรไหม ควรพาลูกไปพบแพทย์หรือไม่

ทารกอุจจาระมีมูก จะเป็นอันตรายไหม?

เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่ก็มักจะเครียดและกังวล กลัวลูกจะเจ็บหรือป่วย โดยเฉพาะลูกในวัยที่ยังสื่อสารไม่ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะทารกไม่สามารถบอกอาการที่เกิดขึ้นได้ การสังเกต อุจจาระลูก จึงเป็นสิ่งจำเป็น ในบทความนี้ ทีมกองบรรณาธิการ ABK จึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ ทารกอุจจาระมีมูก มาฝากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ถึงสาเหตในเบื้องต้นได้

ทารกอุจจาระมีมูก
ทารกอุจจาระมีมูก

ทารกอุจจาระมีมูก จะเป็นอันตรายไหม?

หากทารก ถ่ายเป็นมูก โดยมีปริมาณมูกเพียงเล็กน้อย และไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องวิตกกังวลใด ๆ แต่หากทารกถ่ายอุจจาระ โดยมีมูกในปริมาณมาก ร่วมกับอาการ ท้องเสีย อาจเกิดจาก อาการแพ้ หรือ โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร หรือสาเหตุอื่น ๆ

ทั้งนี้ โดยธรรมชาติแล้ว ลำไส้จะผลิตมูก เพื่อช่วยเคลือบลำไส้ ย่อยอาหาร และลำเลียงอุจจาระ ในบางครั้งมูกจำนวนหนึ่งก็ออกมาพร้อมกับอุจจาระ ทั้งนี้หากทารก ถ่ายเป็นมูก เพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อวัน โดยไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย แสดงว่าเป็นการถ่ายปกติ

หาก อุจจาระลูก มีมูกปนมามากหรือ ถ่ายเป็นมูก เป็นเวลาหลายวัน อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

ท้องเสีย

ทารกที่มีอาการท้องเสีย จะถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว  อาจมีมูกปนมากับอุจจาระด้วย อย่างไรก็ดี ทารกที่ดื่มนมแม่ จะถ่ายเหลว และบ่อยเป็นปกติอยู่แล้ว จึงชี้ชัดได้ยากว่า เป็นการถ่ายปกติ หรือท้องเสีย

สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกท้องเสีย มีดังนี้

  • มีการขับถ่ายมากกว่าปกติ และอุจจาระเหลว
  • ทารกแสดงอาการปวด เช่น ร้องไห้ ร่างกายเกิดอาการเกร็ง หรือเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • ปัสสาวะน้อยลง เพราะร่างกายขาดน้ำเนื่องจากการถ่ายหลายครั้ง

สาเหตุของการท้องเสีย

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสโรตา ไวรัสอะดิโน ไวรัสโนโร ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ หนาวสั่น และปวดเมื่อยตามร่างกายได้
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น ซาลโมเนลลา ชิเกลลา สแตฟิโลค็อกคัส แคมปีโลแบคเตอร์ อีโคไล เป็นต้น ซึ่งเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้อาจเป็นเหตุให้ทารกท้องเสียอย่างรุนแรง และอาจทำให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายเป็นเลือด อาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย
  • การติดเชื้อที่หูอาจเกิดขึ้นได้จากทั้งเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลให้ทารกมีอาการท้องเสียร่วมกับคลื่นไส้ เบื่ออาหาร เป็นหวัด และอาจสังเกตเห็นว่าทารกจับหรือดึงหูของตนเองบ่อยครั้ง
  • การติดเชื้อปรสิต เชื้อไกอาเดียที่อาศัยอยู่ในลำไส้อาจทำให้ทารกท้องเสีย อุจจาระเป็นไข ท้องอืด หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การใช้ยาปฏิชีวนะ เกิดขึ้นได้ทั้งในกรณีที่ทารกต้องรับประทานยาเองหรือคุณแม่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะในช่วงให้นมบุตร อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่รับประทานยาหรือหลังจากรับประทานยาตามแพทย์สั่งจนหมด ซึ่งเป็นผลจากการรับประทานยาโดยตรง หรือการรับประทานยาทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ถูกทำลายไปด้วย อย่างไรก็ตามไม่ควรหยุดรับประทานยาเอง เพราะอาจทำให้เชื้อเกิดการดื้อยาได้ ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์
  • การดื่มน้ำผลไม้ปริมาณมาก โดยเฉพาะน้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรักโทสสูงหรือประกอบด้วยน้ำตาลซอร์บิทอล และเครื่องดื่มที่มีรสหวานมากเกินไป
  • การแพ้โปรตีนจากนมวัว ทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ไม่ควรดื่มนมวัว นมผง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมวัว ทั้งนี้คุณแม่ที่ยังให้นมบุตรแล้วรับประทานอาหารที่มีนมวัวผสมอยู่ ลูกอาจเกิดอาการแพ้โปรตีนจากนมวัวได้
  • การแพ้อาหาร เช่น ไข่ ถั่ว ถั่วเหลือง ธัญพืช ปลา หอย อาหารทะเล เป็นต้น
  • การได้รับสารพิษ รวมถึงสารเคมี สารจากพืช ยา หรือของเล่นต่าง ๆ ที่ทารกนำเข้าปาก

อ่านต่อ….ทารกอุจจาระมีมูก จะเป็นอันตรายไหม? คลิกหน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up