จับลูกนอนคว่ำ

จับลูกนอนคว่ำ ที่ไม่ได้มีดีแค่ช่วยลูกหัวทุยสวย!!

Alternative Textaccount_circle
event
จับลูกนอนคว่ำ
จับลูกนอนคว่ำ
จับลูกนอนคว่ำ
Credit Photo : Pixabay

จับลูกนอนคว่ำ ให้ประโยชน์อะไรบ้าง?

ทีมงานขออนุญาตนำความรู้จากคุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ[3] ที่กล่าวถึงประโยชน์ของการจับลูกนอนคว่ำในขณะที่ลูกตื่น ดังนี้ค่ะ

  1. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ และกล้ามเนื้อหลังส่วนบน เมื่อลูกยกคอได้ดีจะจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงภาวะ SIDS
  2. ช่วยทำให้ศีรษะของลูกทุย ไม่แบนราบเหมือนท่านอนหงาย
  3. ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทำให้ลูกพลิกคว่ำได้เร็ว และพัฒนาต่อไปสู่การนั่ง การคลาน
  4. ช่วยให้การทำงานของปอด และลำไส้ทำงานได้ดี

ข้อควรระวังในการจับลูกนอนคว่ำ!!

  1. ห้ามจัดท่านอนคว่ำให้ลูกขณะนอนหลับ เพราะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ SIDS
  2. ไม่ควรมีสิ่งของนุ่มนิ่ม เช่น ตุ๊กตา ผ้าห่ม หมอนข้าง ฯลฯ วางอยู่ใกล้ๆ ขณะลูกนอนคว่ำ เพราะลูกอาจเผลอนอน   ทับแล้วหายใจไม่ออก เนื่องจากยกศีรษะขึ้นยังไม่เป็น
  3. ไม่แนะนำให้ฝึกลูกนอนคว่ำมากกว่าวันละ 2-3 ครั้ง และแต่ละครั้งไม่ควรนานมากกว่า 5-10 นาที
  4. ไม่ควรจับลูกนอนคว่ำภายใน 1 ชั่วโมง หลังทานนม เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกอาเจียนออกมา

 

Must Read >> SIDS หรือไหลตายในเด็ก ภัยเงียบของลูกน้อย

 

การให้ลูกนอนคว่ำดูเหมือนจะมีอันตราย แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่รู้หลักการ และวิธีจัดท่านอนคว่ำที่ถูกต้อง และให้ลูกนอนท่าคว่ำในช่วงเวลาที่เหมาะสม รับว่าไม่เป็นอันตรายต่อตัวลูกอย่างแน่นอน กลับแต่จะเป็นการส่งเสริมพัฒนาการกล้ามเนื้อคอที่ดีให้ลูกซะมากกว่าค่ะ และอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญ และคุณหมอเด็กบอกว่า การจับลูกนอนคว่ำ ควรทำขณะที่ลูกตื่นนอนจะปลอดภัย ได้สุขภาพ และได้พัฒนาการที่ดีด้วยค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

ระวัง! อย่าวางทารกนอนบนโซฟา
เปิดคัมภีร์ ทารกนอนหลับแบบไหน? ช่วยให้พัฒนาการดี
วิจัยชี้! ลูกน้อยนอนตะแคงดีต่อสมอง

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
[1]ผศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. เด็กนอนอย่างไรปลอดภัย. www.doctor.or.th
[2]Dr.Frances Williams.คู่มือการเลี้ยงลูกสำหรับคุณแม่มือใหม่ หน้า 8-9
[3]พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ.ท่านอนคว่ำมีประโยชน์อย่างไร. www.facebook.com

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up