กระหม่อมทารก

กระหม่อมทารก ปิด-เปิด-โป่ง-ยุบ เรื่องสำคัญ แม่ต้องสังเกต

Alternative Textaccount_circle
event
กระหม่อมทารก
กระหม่อมทารก

เนื่องจากกะโหลกศีรษะของลูกน้อยแรกเกิดยังปิดไม่สนิท เราจึงสังเกตเห็น กระหม่อมทารก เป็นแอ่งนุ่มๆ ดูบอบบาง คุณแม่ทราบไหมคะว่า กระหม่อมทารกมีความสำคัญอย่างไร? กระหม่อมทารกปิดกี่เดือน? กระหม่อมปิดช้า กระหม่อมปิดเร็วบอกอะไร? กระหม่อมบุ๋ม กระหม่อมโป่งตึง ผิดปกติหรือไม่?  และจะมีวิธีดูแลกระหม่อมลูกน้อยอย่างไร? พบคำตอบที่นี่ค่ะ

กระหม่อมเป็นโครงสร้างนิ่มๆ ของศีรษะทารกซึ่งแผ่นกระดูกหุ้มสมองสามารถหดชิดเข้ามาหากันได้ทำให้ศีรษะทารกผ่านช่องคลอดได้ในระหว่างคลอด และช่วยให้กะโหลกขยายได้เมื่อมีการขยายขนาดของสมองหลังคลอด

  1. กระหม่อมทารกปิดกี่เดือน ?

กระหม่อมหน้า

เมื่อลองใช้นิ้วมือแตะลงตรงกลางศีรษะของทารก แล้วค่อยๆ เลื่อนมาข้างหน้า จะพบแอ่งนุ่มๆ มีรูปร่างเหมือนเพชรหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ในแนวหน้าหลังยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และในแนวขวางยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร นั่นคือ กระหม่อมหน้าของทารก โดยที่แอ่งนี้เกิดจากกะโหลกศีรษะยังปิดไม่สนิท ซึ่งจะเริ่มปิดเมื่อลูกน้อยมีอายุ 6 เดือน และจะปิดสนิทเมื่อลูกน้อยอายุ 12-18 เดือน  ซึ่งเด็กแต่ละคนกระหม่อมจะปิดช้าหรือเร็วต่างกัน

กระหม่อมหลัง

กระหม่อนหลังมีรูปร่างเป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดของกระหม่อมหลังกว้าง ประมาณ 1-2 ซม. อาจปิดตั้งแต่แรกเกิด หรือปิดสนิทเมื่ออายุ  6-8 เดือน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ กระหม่อมปิดช้า vs กระหม่อมปิดเร็ว บอกอะไร? คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up