ดูแลทารกแรกเกิด

คัมภีร์ การดูแลทารกแรกเกิด 8 เรื่องที่แม่มือใหม่ต้องรู้!

event
ดูแลทารกแรกเกิด
ดูแลทารกแรกเกิด

2. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง ความสะอาด

  • ศีรษะและร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อพับ

แรกคลอดจะพบว่า ทารกแรกเกิด มีไขมันเกาะอยู่ คุณแม่ควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดเบาๆ ไขมันจะค่อยๆ ออกไปวันละน้อย แล้วจึงค่อยเช็ดตัว สระผม หรืออาบน้ำให้ทารก (อาบน้ำแบบแช่ได้เมื่อสายสะดือหลุดแล้ว ซึ่งปกติสายสะดือจะหลุดประมาณ 7 วันหลังคลอด)

  • อาบน้ำให้ทารก

คุณแม่ควรใช้มือข้างใดข้างหนึ่งจับให้แน่นบริเวณใต้รักแร้ทารก อ้อมไปถึงต้นแขนเพื่อไม่ให้ทารกหลุดจากมือ

  • ดูแลสายสะดือ

คุณแม่ควรทำความสะอาดโดยใช้สำลีพันปลายไม้หรือคอตตอนบัตชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดจากโคนสะดือ (บริเวณที่สะดือติดกับผิวหนังหน้าท้อง) คุณแม่ควรล้างมือให้สะอาด แล้วจับเชือกที่ผูกสายสะดือเอียงไปทีละข้าง เพื่อเช็ดโคนสะดือมายังปลายสะดือ (จะเช็ดสะดือหลังเช็ดตัวทาแป้ง หรือครีมแล้วก็ได้) แต่ห้ามใช้แป้งโรยบนสะดือเพราะจะเกิดการติดเชื้อจากความไม่สะอาดของแป้ง ถ้าทาครีมแล้ว ไม่ควรทาแป้งทับ

⇒ Must read :  ระวัง! 4 จุดบอบบางของเบบี๋ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

ในรายที่เชือกผูกสายสะดือหลุด และมีเลือดไหลออกมาทางปลายสะดือ คุณแม่ควรใช้เศษผ้าสะอาด (ห้ามให้เชือก หรือด้ายพลาสติกที่มีความคม) ผูกสายสะดือเหนือบริเวณที่เคยผูกเพื่อให้เลือดหยุด และพามาโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน”

  • การสระผมให้ทารก

ควรสระผมให้ลูกน้อย วันละ 1 ครั้ง ก่อนสระควรใช้สำลีสะอาดชุบน้ำมันมะกอกเช็ดไขที่บริเวณศีรษะ และด้านหลังใบหูเพื่อป้องกันการเป็นแผลที่เกิดจากการหมักหมมของไขมันเด็ก หรือที่ โบราณเรียก “แผลชันนะตุ”

การดูแลทารกแรกเกิด เรื่องการนอน

3. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การนอน

  • 2 – 3 วันหลังคลอด ทารกจะหลับนานและตื่นเฉพาะเวลากินนม (ทารกปกติจะหลับ 12 – 16 ชั่วโมงต่อ 1 วัน) หลังจาก 3 วัน ทารกจะมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น

⇒ Must read : คัมภีร์นอนหลับ สร้างอัจฉริยะให้ลูกน้อย

4. การดูแลทารกแรกเกิด เรื่อง การร้องของลูกน้อย

การร้องของทารก แต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ส่วนมากจะร้องเมื่อ มีความต้องการ เช่น ต้องการนม ต้องการความอบอุ่น ทั้งนี้คุณแม่ลองสังเกตหรือเข้าไปฟังใกล้ๆ ดู เวลาที่ลูกร้องเพราะหิว ง่วง หรือรู้สึกเฉอะแฉะ เสียงต่างกันทั้งนั้น ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เสียงร้องหลักๆ ของทารกมีอยู่ 4 เสียง คือ

  • เสียงอึน หมายความว่าหนูหิวนม
  • เสียงเฮะ หมายถึงเปียกชื้นหรือไม่สบายตัว
  • เสียงเอะ คือมีลมในท้อง
  • เสียงอาว หมายถึงง่วงนอนอยากพักผ่อน

ซึ่งสำหรับ การดูแลทารก ในเรื่อง การร้องของลูกน้อย นั้นคุณพ่อคุณแม่จะจับเสียงเหล่านี้ได้ต้องใช้เวลาและต้องสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยจึงจะเข้าใจความหมายของแต่ละเสียง

แต่หากจู่ ๆ ลูกน้อยเกิดร้องไห้เสียงดัง และมีน้ำเสียงที่แหลมราวกับเสียงกรีดร้อง นั่นแสดงว่า ลูกของคุณพ่อคุณแม่กำลังรู้สึกเจ็บ อาจจะเกิดจากโดนแมลงหรือมดกัด หรือตกหมอนนั่นเองค่ะ สิ่งที่คุณควรทำก็คือ อุ้มลูกขึ้นมากอด พร้อมกับลูบหลังเบา ๆ แล้วดูสิว่า ที่ตัวของลูกนั้นมีรอยแผลอันเกิดจากแมลงกัดหรือไม่ จะได้หายามาทาให้ถูกต้อง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up