ดูแลทารกแรกเกิด

คัมภีร์ การดูแลทารกแรกเกิด 8 เรื่องที่แม่มือใหม่ต้องรู้!

event
ดูแลทารกแรกเกิด
ดูแลทารกแรกเกิด

การดูแลทารกแรกเกิด หลังคลอด เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่มือใหม่ต้องรู้ เพื่อจะได้รับมือและเลี้ยงลูกได้เป็นอย่างถูกต้องและปลอดภัย

ทารกแรกเกิด หมายถึง ทารกที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิด ถึง 1 เดือน ซึ่งเป็นช่วงชีวิตในระยะที่มีความสำคัญมาก เพราะทารกมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมจากภายในท้องแม่ออกมาสู่สภาพแวดล้อมภายนอก จึงต้องมีการปรับตัวเป็นอย่างมากเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายนอกท้องแม่ ทั้งยังเป็นวัยแห่งการสร้างรากฐานการพัฒนาบุคลิกภาพในอนาคต ดังนั้น การดูแลทารกแรกเกิด จึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ

คัมภีร์ การดูแลทารกแรกเกิด 8 เรื่อง ที่แม่มือใหม่ต้องรู้!

สำหรับ การดูแลทารก โดยหลักๆ แล้วมีอยู่ 2 เรื่อง ด้วยกัน คือ การดูแลทางด้านร่างกาย และการดูแลทางด้านจิตใจ

  • การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ
  • การดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่

ซึ่ง การดูแลทารกแรกเกิด ในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้…

1. นมแม่ อาหารมื้อแรกของลูก

องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะน้ำนมแม่  เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอด และให้ดูด 8-12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว

⇒ Must read : นมแม่ป้องกันโรค ช่วยลูกสุขภาพดีตั้งแต่แรกเกิด

ทั้งนี้ การให้นมลูก ควรให้ในสถานที่ที่สงบและสะอาด ควรนวดเต้านมและลานหัวนมให้นิ่ม และบีบน้ำนมออกประมาณ 2-3 หยดก่อนให้ลูกดูด จัดท่าทางให้สบาย โดยคุณแม่อุ้มลูกตะแคงเข้าหาตัว ให้ปากของลูกอยู่ตรงหัวนม มืออีกข้างประคองเต้านม แล้วใช้หัวนมกระตุ้นริมฝีปากลูกให้ลูกอ้าปาก จากนั้นเคลื่อนลูกเข้าหาเต้านมโดยเร็ว ให้ลูกอมหัวนมให้ลึกถึงลานหัวนม และลิ้นอยู่ใต้ลานนม เมื่อลูกอิ่มแล้วจะถอนปากออกจากหัวนมเอง แต่ถ้าอิ่มแล้วยังอมหัวนมอยู่ ให้คุณแม่ใช้นิ้วกดคางเบาๆ หรือใช้นิ้วก้อยสอดเข้ามุมปากของลูกเล็กน้อย แล้วจึงดึงหัวนมออก

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up