วิธีสังเกต อาการมือเท้าปาก และ วิธีดูแลรักษาลูกโดยไม่ต้องแอดมิด

event

อาการมือเท้าปาก ที่แม่ควรรู้

โรคมือเท้าปากมีระยะฟักตัว 3-6 วัน โดยหลังจากได้รับเชื้อ จะต้องมีอาการแสดง ดังนี้

  • เริ่มมีไข้สูง 38-39 องศาเซลเซียส

  • เจ็บคอไม่อยากอาหาร ปวดท้อง และอ่อนเพลีย

  • หลังจากมีไข้ 1-2 วัน จะเริ่มมีตุ่ม ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่ผิวหนังบริเวณมือ ฝ่ามือ เท้า ฝ่าเท้า และบริเวณปากทั้งภายนอกและภายในตามมา

  • หากอาการไม่ดีขึ้น หรือ มีไข้ขึ้นสูง ซึมลง เดินเซ ชัก เกร็ง หายใจหอบเหนื่อย อาเจียนมาก ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจติดเชื้อสายพันธุ์รุนแรง เสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคมือเท้าปากในเด็ก
โรคมือเท้าปาก อาการที่ต้องสังเกต คือ มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใส หรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า

สำหรับ อาการมือเท้าปาก จะสังเกตได้ว่าถ้า ลูกมีตุ่มพอง ผื่น หรือแผลอักเสบมีหนองที่เกิดขึ้นภายในปาก ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งบริเวณปากด้านนอกและด้านใน บนริมฝีปาก ในลำคอ บนลิ้น หรือกระพุ้งแก้มด้านใน ตุ่มแผลเหล่านี้จะทำให้เกิดความเจ็บปวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลืนน้ำดื่มหรืออาหาร และตุ่มพองน้ำกับผื่นเป็นจุด ๆ จะเกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณนิ้วมือ ฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้าและบางครั้งก็พบที่บริเวณก้นและขาหนีบด้วยเช่นกัน

ซึ่งตุ่มและแผลที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายเป็นอีสุกอีใส แต่มีขนาดเล็กกว่า บางครั้งทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง และไม่สบายตัว แต่หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายใด อาการป่วยจะทุเลาลงและหายไปภายในระยะเวลาประมาณ 10 วัน

ทั้งนี้โรคมือเท้าปากนี้ต้องรักษาตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้ กระตุ้นให้รับประทานอาหารเหลว และให้ยาทาแผลในปาก ส่วนใหญ่อาการจะทุเลาลงและหายป่วยเองภายในเวลา 7-10 วัน ส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรง มีการติดเชื้อเข้าสู่สมองและเสียชีวิตได้

สำหรับลูกน้อยที่ไปโรงเรียนแล้วมี อาการมือเท้าปาก ให้พิจารณาหยุดเรียนและรักษาจนหาย ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรแจ้งให้ทางโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กทราบ เพื่อทำการค้นหาเด็กที่อาจป่วยเพิ่มเติม

 

อ่านต่อ “วิธีดูแลรักษาเพื่อช่วยลูกน้อยบรรเทาอาการมือเท้าปาก” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up