โรค Laryngomalacia

แม่แชร์! ลูกหายใจดังจาก “โรค Laryngomalacia” หลอดลมอ่อนตัว

Alternative Textaccount_circle
event
โรค Laryngomalacia
โรค Laryngomalacia

โรค Laryngomalacia คืออะไร?

โรค Laryngomalacia เรียกเป็นชื่อไทยว่า โรคหลอดลมอ่อนตัว, โรคหลอดลมหย่อน, ภาวะกล่องเสียงอ่อนยวบ, ท่อลมอ่อน, และ กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของทารก โดยปกติแล้วกระดูกอ่อนจะช่วยเสริมความแข็งแรงของท่อหลอดลมทำให้ไม่แฟบแบนขณะมีลมหายใจผ่านเข้าออก (เหมือนหลอดกาแฟที่นิ่มมากเกินไปจะแฟบตัวเวลาที่เราดูดน้ำ) แต่จะคงความเป็นท่ออยู่ได้ ทว่าทารกบางคนอาจมีการพัฒนาส่วนกระดูกอ่อนช้ากว่าปกติ ดังนั้นเวลาหายใจเข้าออก ท่อหลอดลมจะแฟบทำให้เกิดเสียงครืดคราดในลำคอได้ ยิ่งเวลาดูดนมต้องหายใจแรงขึ้น เสียงจึงดังชัดเจนยิ่งขึ้น หากจัดให้นอนคว่ำเสียงจะเบาลง ภาวะนี้วินิจฉัยได้จากการตรวจดูการเคลื่อนไหวของท่อหลอดลมโดยคุณหมอ หู คอ จมูก การรักษาส่วนใหญ่ไม่ต้องทำอะไร เพราะหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 1-2 ปี แต่หากอาการรุนแรงต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมหลายอย่าง บางคนรุนแรงมากอาจต้องเจาะคอ

โรคหลอดลมอ่อนตัว หรือภาวะหลอดลมหย่อน มีสาเหตุมาจากอะไร?

ปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่นอนว่าทำไมทารกบางคนถึงมีภาวะนี้ แต่เชื่อได้ว่าภาวะนี้อาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนมารองรับทฤษฎีนี้) โดยภาวะหลอดลมอ่อนตัวนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับโรคที่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ภาวะต่อมเพศไม่เจริญ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 11 (Costello Syndrome) เป็นต้น

โรคหลอดลมหย่อน
ทารกที่เป็นโรคหลอดลมหย่อนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดูดกลืนอาหาร มักจะมีน้ำหนักขึ้นน้อย

การวินิจฉัยโรคหลอดลมอ่อนตัว

การสังเกตอาการจากคุณพ่อคุณแม่จะช่วยคุณหมอวินิจฉัยโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากจะต้องคอยสังเกตเสียงหายใจ ทั้งในขณะตื่นและขณะหลับ สำหรับการตรวจที่ละเอียดยิ่งขึ้น คุณหมอจะใช้กล้องขนาดเล็ก ส่องเข้าไปในรูจมูก ไปที่ลำคอ แพทย์สามารถดูการเคลื่อนไหวของท่อหลอดลม กล่องเสียง และเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้ละเอียดยิ่งขึ้น หากตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดลมอ่อนตัว อาจมีการตรวจร่างกายในด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การเอ็กซเรย์ทรวงอก การตรวจดูลำไส้ว่ามีการกลืนกันหรือไม่ เป็นต้น

โรค Laryngomalacia หรือโรคหลอดลมอ่อนตัว แยกความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับไม่รุนแรง ระดับปานกลาง และระดับรุนแรง 99% ของทารกแรกเกิดที่มีภาวะนี้มักจะเป็นอยู่ในระดับปานกลาง

  • ในระดับไม่รุนแรงนั้นมักจะมีอาการทางด้านการหายใจเสียงดังเท่านั้น แต่ไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
  • ระดับปานกลาง มักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ดูดนมไม่สะดวก โรคลิ้นหัวใจเสื่อม ภาวะกรดไหลย้อน ภาวะหายใจผิดปกติ (หายใจอกบุ๋ม) เป็นต้น
  • ระดับรุนแรง จะมีปัญหาในการดูดกลืนอาหาร มีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ โรคหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะเขียวคล้ำ (เพราะเนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจนจึงส่งผลให้สีของเนื้อเยื่อคล้ำลง)

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ โรคหลอดลมอ่อนตัว รักษาได้อย่างไร?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up