โรค G6PD

โรค G6PD หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้าคืออะไร? ห้ามกินอะไรบ้าง?

Alternative Textaccount_circle
event
โรค G6PD
โรค G6PD

อาหารและยาประเภทใดบ้างที่คนเป็นโรค G6PD ห้ามกินหรือสัมผัส?

อาหารที่ควรเลี่ยง

  • ถั่วปากอ้า (Fava bean)
  • พืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก (all legumn) เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว
  • ไวน์แดง
  • บลูเบอร์รี่
  • การบูร (Camphor) Berberine (สารประกอบเชิงซ้อนที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียพบในสมุนไพร goldenseal)

สารเคมีที่ควรเลี่ยง

  • ลูกเหม็น (Naphthalene)
  • สีย้อมพวก Toluidine blue
  • สารหนูชนิดอินทรีย์-organic arsenic

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง

  • ยากลุ่ม NSAIDs บางชนิด
  • ยาแอสไพริน
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ยากลุ่มซัลฟา หรือไนโตรฟูแรนโทอิน เป็นต้น
  • ยาต้านมาเลเรียบางชนิด เช่น ควินิน หรือควินิดีน เป็นต้น
G6PD
โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง หากคอยระมัดระวังการกินหรือสัมผัสอาหารต้องห้าม

ดูแลลูกที่เป็น โรค G6PD อย่างไร?

  1. สำหรับทารกแรกเกิดที่เป็นโรคนี้ มักจะมีอาการตัวเหลืองเมื่อแรกคลอด เมื่อแพทย์ตรวจพบว่ามีระดับสารเหลืองเกินกว่าปกติ จะได้รับคำแนะนำให้รักษาด้วยการส่องไฟ เพื่อให้แสงไฟทำปฏิกิริยาการสารเหลือง และขับสารเหลืองออกจาากร่างกายทางปัสสาวะ และ อุจจาระ หรือหากพบว่าระดับสารเหลืองสูงมาก อาจะได้รับการวินิจฉัยให้ถ่ายเลือด
  2. และเมื่อระดับสารเหลืองถูกขับออกมาจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจนสามารถกลับบ้านได้แล้ว การดูแลเด็กที่เป็นโรค G6PD นั้นก็ดูแลเหมือนทารกปกติทั่วไป สามารถดื่มนมแม่ได้ตามปกติ เพียงแต่คุณแม่จะต้องทำตามแนะนำของแพทย์ในการระมัดระวังเรื่องการทานอาหารและยาต้องห้าม
  3. ควรติดตามอาการของลูกอยู่ตลอดเวลา โดยหากลูกอาการเหนื่อย เพลีย หรือดูว่าซีด เหลือง และ/หรือมีปัสสาวะสีน้ำตาลดำ หรือไม่มีปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการและหาสาเหตุต่อไป
  4. ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคอื่น ๆ หรือหากต้องทานหรือใช้ยาใด ๆ ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล ให้ทราบทุกครั้งว่ามีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
  5. ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ สำหรับเด็กที่โตแล้ว ควรสอนให้ลูกรู้จักและเข้าใจภาวะนี้ เพื่อระแวดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

เด็กที่เป็นโรค G6PD นั้นไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หากได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และระมัดระวังการทานหรือสัมผัสอาหาร ยา และสารเคมีต้องห้าม ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

หมอแจง! ทำไมลูกตัวเหลือง? อันตรายจากตัวเหลืองในทารก

ตู้ยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อยต้องมีอะไรบ้าง?

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูกและวิธีป้องกัน

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : Pobpad, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up