ไข้หวัดหน้าหนาว

วิธีรับมือโรคหวัดหน้าหนาว ลดลูกเสี่ยงเสียชีวิต

Alternative Textaccount_circle
event
ไข้หวัดหน้าหนาว
ไข้หวัดหน้าหนาว
หวัดลงคอ
ยาสามัญประจำบ้านที่คุณพ่อ คุณแม่ควรเตรียมเอาไว้ให้ลูกน้อย เพื่อรับมือและป้องกันโรคที่มากับหน้าหนาว

4.เมื่อลูกมีหวัดลงคอ

อาการคือ มีน้ำมูก เสมหะข้นเขียว หรือเหลือง เจ็บคอ ให้ใช้เพนนิซิลลิน หรือแอมพิซิลลิน ชนิดน้ำเชื่อมแห้ง ยาทั้ง 2 ชนิด เป็นยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นเชื้อที่มาแทรกซ้อนโรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้คอ หรือหลอดลม หรือปอด มีอาการอักเสบ เรียกว่าหวัดลงคอ หรือลงปอดนั่นเอง ควรให้ลูกน้อยรับประทานยาตามกำหนดอย่างเคร่งครัด และรับประทานยาติดต่อกันจนหายสนิท ไม่เช่นนั้นเชื้อจะไม่ตาย และอาจจะกลายเป็นโรคดื้อยาได้ในภายหลัง

วิธีการรับประทานคือ เติมน้ำผสมกับยา ต้องเป็นน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ตามปริมาณที่กำหนด แล้วเขย่าจนเข้ากันดี รับประทานวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ได้แก่ เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน

banner300x250ขนาดที่ใช้

  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ใช้แอมพิซิลลิน ครั้งละ ¼ – ½ ช้อนชา หรือ เพนนิซิลลิน ครั้งละ ¼ ช้อนชา
  • เด็กอายุ 1-2 ขวบ ใช้แอมพิซิลลิน ครั้งละ 1 ช้อนชา หรือ เพนนิซิลลิน ครั้งละ 1 ช้อนชา
  • เด็กอายุ 3-4 ขวบ ใช้แอมพิซิลลิน ครั้งละ 1 ½ ช้อนชา หรือ เพนนิซิลลิน ครั้งละ 1 ½ ช้อนชา
  • เด็กอายุ 5-7 ขวบ ใช้แอมพิซิลลิน ครั้งละ 2 ช้อนชา หรือ เพนนิซิลลิน ครั้งละ 1 ½ ช้อนชา
  • เด็กอายุ 7-10 ขวบ ใช้แอมพิซิลลิน ครั้งละ 3 ช้อนชา หรือ เพนนิซิลลิน ครั้งละ 2 ช้อนชา

สำหรับเด็กโต ถ้าพอกลืนยาเม็ดได้แล้ว อาจใช้ยาชนิดเม็ดของเพนนิซิลลิน หรือ แอมพิซิลลิน ขนาด 125 มิลลิกรัม นอกจากจะรักษาโรคหวัดลงคอแล้ว ยังใช้รักษาแผล ฝี หนอง ตาแดง และหูอักเสบได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง สำหรับลูกน้อยที่มีอาการแพ้ยา อาจทำให้มีผื่นแดง คัน คล้ายเป็นลมพิษ แน่นหน้าอก เหนื่อย หอบ ใจสั่น ควรหยุดรับประทานยาทันที และรีบไปพบแพทย์

ลูกแพ้ยา
ข้อควรระวัง สำหรับลูกน้อยที่มีอาการแพ้ยา

เครดิต: พญ.สมฤดี ชัยวีระวัฒนะ กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111, Eduzones

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up