ลูกเล่นมือถือ

นี่คือผลเสีย! ที่ปล่อยให้ลูก “เล่นมือถือ จ้องสมาร์ทโฟน” เป็นเวลานาน…

event
ลูกเล่นมือถือ
ลูกเล่นมือถือ

ลูกเล่นมือถือ

โรคตาในเด็กเล็ก ที่พ่อควรรู้!

สำหรับเด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่มักเป็นโรคทางกล้ามเนื้อตา เช่น ตาเขเข้า โรคตาขี้เกียจ โดยสามารถพบได้ในวัยก่อนวัยเรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรใส่ใจ โดยก่อนอายุ 5 ปี ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรมีแนวทางการดูแลสุขภาพตาของลูกด้วยตนเองไว้บ้าง

  • สายตาสั้น

วิธีสังเกตสายตาสั้น โดยที่ลูกมองสิ่งของใกล้หรือหยิบของมาติดตา ดูโทรทัศน์ใกล้เกินไป การดูโทรทัศน์ใกล้ๆ ไม่ได้ทำให้สายตาสั้น แต่เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าลูกอาจสายตาสั้น เวลาเขียนหนังสือ ลูกก้มลงชิดกระดาษ หรือหรี่ตาเมื่อมองดูอะไร สายตาสั้นหรือยาวสามารถทราบได้จากการพาลูกไปตรวจสายตาตั้งแต่เล็กๆ ไม่ต้องรอให้อ่านออกเขียนได้ และวิธีแก้ไขคือการสวมแว่นตาเพราะปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก

การรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาความผิดปกติของตาด้วยแสงเลเซอร์ทำได้ในกรณีของการเป็นต้อกระจก สายตาสั้นมากๆ ต้อหินในบางราย แต่ทำได้กับผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งในเด็กๆ ยังทำไม่ได้ เพราะรูปตาของเด็กยังไม่คงที่ ระดับสายตายังเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เช่น ตอนเล็กๆ อยู่ สายตาอาจยาวแต่อยู่ไปสายตาอาจสั้น การผ่าตัดชนิดนี้ทำได้เมื่อสายตาอยู่ในระดับที่คงที่แล้ว

  • ตาเหล่

ซึ่งพบได้ในวัยเด็ก 5-6 ขวบ สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่สามารถทำงานประสานกันได้ อาจแก้ไขโดยการฝึกกล้ามเนื้อตา หรืออาจใช้แว่นตาช่วย ในบางกรณีอาจต้องใช้วิธีผ่าตัด การรักษาควรเริ่มทันทีที่ทราบว่ามีปัญหาเรื่องตาเหล่ โดยพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็คสายตาและวางแผนการรักษาต่อไป

ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า เด็กอาจมีความผิดปกติของสายตา เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วๆ ไป ควรจะพาเด็กไปพบจักษุแพทย์ การแก้ไขสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับสายตาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยทำให้เด็กสามารถใช้สายตาได้เท่าเทียมกับเด็กอื่น ๆ ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านสุขภาพทางกายและเกี่ยวกับจิตใจด้วย เนื่องจากมีผลกระทบเพราะความแตกต่างในการรับรู้ทางสายตาจากผู้อื่น

  • ตาเขจริงและตาเขปลอม

    • ตาเขจริงหรือตาเหล่หรือตาเอก อาจเป็นลักษณะตาเขเข้า ขาเขออก ตาเขแบบลอยขึ้นบน หรือลงล่างอย่างเห็นชัดเจน หรืออาจเรียกว่าตาเขตาเหล่ถาวรก็ได้ โดยสังเกตดูลักษณะ ลูกตาดำทั้งสองข้างไม่ขนานกัน ไม่ได้อยู่ตรงกึ่งกลางตาขาว มองพร้อมกันสองตาไม่ได้ หรือที่เรามักพูดเล่นกันว่า “ตาไม่สามัคคี” เมื่อคุยกับเพื่อนเขาก็ไม่แน่ใจว่ามองเขาอยู่หรือเปล่า
    • ตาเขปลอม เกิดจากเด็กที่มีหนังตาสองข้างคลุมลูกตา ดำมากเกินไป และเด็กเล็กๆ ยังไม่มีสันจมูกโด่งพอ ตาจึงมีลักษณะคล้ายตาเข แต่เมื่อตรวจระดับสายตาแล้ว ไม่มีความผิดปกติ เมื่อเด็กโตขึ้นตาดำก็จะตรงเอง
  • สายตาขี้เกียจ หรือ amblyopia

สายตาที่ดีเริ่มมีพัฒนาการขึ้นในวัยเด็ก เมื่อมีสภาพตาตรง การที่เด็กมีตาเขอาจทำให้เกิดสายตาแย่ลง  ที่เรียกว่า amblyopia ในตาข้างที่อ่อนแอกว่า  สมองจะรับรู้เฉพาะภาพที่มาจากตาข้างดี  และไม่สนใจภาพที่มาจากตาข้างที่อ่อนแอกว่า (ข้างที่มี amblyopia) ภาวะนี้เกิดได้ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กตาเข

การรักษาสายตาขี้เกียจ ทำได้โดยการปิดตาข้างที่ดี  เพื่อทำให้ตาข้างที่ขี้เกียจนั้นกลับมาใช้งานได้  หรือมองเห็นดีขึ้นได้  หากตรวจพบสายตาขี้เกียจตั้งแต่เด็กอายุ 2-3 ปี  มักจะรักษาแล้วได้ผลดี  การปิดตาเพื่อรักษาสายตาขี้เกียจจะประสบผลสำเร็จมากที่สุดเมื่อเด็กอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน  หากรักษาล่าช้า   สายตาขี้เกียจนั้นมักเป็นถาวร  ถือเป็นกฎว่า “ยิ่งรักษาสายตาขี้เกียจเร็วเท่าไร  สายตาก็จะกลับคืนมาดีมากเท่านั้น

ลูกเล่นมือถือ

วิธีสังเกตความผิดปกติของตาลูก

  • สังเกตดูรูปหน้าเปรียบเทียบกันว่าสมดุลกันดีหรือไม่ ด้านซ้ายด้านขวาแตกต่างกันหรือไม่
  • ตาดำสองข้าง มีขนาดเท่ากันหรือไม่รูปตาข้างใดโตกว่าหรือเล็กกว่ากัน
  • เมื่อลืมตาเต็มที่ หนังตาเปิดกว้างเท่ากันหรือไม่ บางคนหนังตาตกข้างเดียว ทำให้มีอุปสรรคต่อการมองเห็น
  • มีสีขาวขุ่นอยู่ตรงกลางโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำตาไหลเอ่อตาอยู่เสมอ
  • ขยี้ตาอยู่บ่อย ๆ ตาขาวไม่ขาว มีสีแดงเรื่อ ๆ
  • เวลามองแสงจ้าจะหรี่ตาข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ หรือเงยหน้าดูจึงจะเห็นชัด
  • ลูกตาควรใสสะอาด ไม่ควรมีขี้ตา ลูกตาดำทั้งสองข้างไม่ควรมีสีขุ่นขาว ต้องดูใส
  • ลูกตาดำมีลักษณะเขเข้าและดูแวววาว คล้ายตาแมวในเวลากลางคืน
  • ลูกตาดำเขเข้าหรือเขออก เป็นบางครั้ง หรือเห็นว่าเขตลอดเวลา
  • เห็นภาพสองภาพ ปวดศีรษะ ตามัว
  • ตาดำสั่นอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถควบคุมการสั่นของลูกตาดำได้
  • มีพัฒนาการทางร่างกายช้า ไม่สัมพันธ์กับการมองเห็น เช่น เด็กอายุ 3-4 เดือน ควรจะมองหน้าและประสานสายตากับแม่ได้ สามารถแสดงกิริยายิ้ม โต้ตอบเมื่อมีอารมณ์พอใจ

สถานที่พาลูกน้อยไปตรวจตา

สถานที่ตรวจตาสำหรับเด็กเล็กๆ ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐที่มีความชำนาญเรื่องกล้ามเนื้อตาและโรคตาเด็ก ถ้ามีออทอปติสซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตาก็จะได้รับการดูแลเฉพาะ ทางได้เป็นอย่างดี เช่น โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เช่น ศิริราช รามาธิบดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ราชวิถี พระมงกุฎ จุฬาฯ มหาราช เชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์นครราชสีมา สำหรับโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง ก็สามารถนำเด็กไปรักษาได้เช่นกัน

 อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ”


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangkokhealth.com

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up