ลูกเล่นมือถือ

นี่คือผลเสีย! ที่ปล่อยให้ลูก “เล่นมือถือ จ้องสมาร์ทโฟน” เป็นเวลานาน…

event
ลูกเล่นมือถือ
ลูกเล่นมือถือ

ฝากเป็นอุทาหรณ์ สำหรับแม่ๆ ทั้งหลายที่มีลูกเล็กๆ ค่ะ……..เด็กๆ กล้ามเนื้อหัวตายังไม่แข็งแรง ไม่ควรดู สมาร์ทโฟน หรือ…

โพสต์โดย Fahsai Winnie บน 17 ตุลาคม 2017

ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ได้สอบถามเพิ่มเติมไปทางคุณแม่ ได้คำตอบว่า น้องอายุ 5 ขวบ และใช้เวลาดูสมาร์ทโฟน ซึ่งจะดูใกล้ และดูบ่อยมาก ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวตาอ่อนแรง

ซึ่งหลังจากทราบอาการจากโรงพยาบาลนั้น คุณหมอได้แจ้งว่าการรักษาทางเดียว คือ การผ่าตัดไม่มีทางอื่น เป็นการผ่าตัดเพื่อดึงกล้ามเนื้อหัวตาทั้งสอง อีกทั้งคุณแม่ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของน้องจะเสี่ยงตาไม่ทำงาน ดวงตาจะเหล่ออกด้านนอกไปเรื่อยๆ และน้องอาจจะสูญเสียภาพ 3 มิติไปได้ในที่สุด

เด็กจ้องมือถือนานทำตาเขได้จริงหรือ?

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุดมีรายงานว่า อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการโพสต์ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวผ่านทางเพจ เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุว่า โรคตาเขซ่อนเร้นออกนอก (Exophopia) มักจะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือจากสาเหตุอื่นบางประการ ที่ก็ไม่น่าจะใช่การจ้องจอมือถือ

ลูกเล่นมือถือหรือถ้าเกิดขึ้นภายหลัง ก็มักเกิดตามมากับปัญหาสายตาทั้งสองข้างนั้นยาวสั้นไม่เท่ากัน หรือเกิดจากการเป็นโรคอื่น ๆ เช่น มีชักกระตุก มีไข้สูง ตกใจอย่างรุนแรงในเด็ก โรคในจอตา การขุ่นฝ้าบริเวณเยื่อดำ บริเวณแก้วตา หรือมีเลือดออกในวุ้นลูกตา หรือในช่องระหว่างม่านตา

ซึ่งยังรวมไปถึงการให้ลูกไว้ทรงผมหน้าม้าหรือผมเป๋ที่ยาวมาปกปิดตาด้วย หรือการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงจนทำให้กล้ามเนื้อตาฉีกขาด ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแสงจากโทรศัพท์เลย แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะให้บุตรหลานเล่นมือถือมากเกินไปในแต่ละวัน

"โรคตาเข ออกนอก เกิดจากการดูมือถือมากไป จริงเหรอ ? … ผมว่าไม่นะ"เรื่องนี้มีคนถามเข้ามาเยอะมาก และโพสต์ต้นทางนั้นก็ถู…

โพสต์โดย อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ บน 17 ตุลาคม 2017

ทั้งนี้ด้าน เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ก็ได้โพสต์ถึงเรื่องราวดังกล่าวเช่นกัน พร้อมทั้งบอกว่า ถ้าเด็กเป็นโรคตาเขเช่นนี้จริง ก็สามารถไปใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาทรักษาได้

ตอนนี้มีข่าวที่คนแชร์กันให้ฮึ่ม เกี่ยวกับคุณแม่ท่านนึงที่ลูกเขามีปัญหาตาเหล่จนสูญเสียการมองเห็นแบบสามมิติ ต้องไปผ่าตัดหม…

โพสต์โดย Drama-addict บน 17 ตุลาคม 2017

ตาสองข้างทำงานร่วมกันได้อย่างไร ? 

ในขณะที่ลูกมีการมองเห็นปกติ ตาทั้งสองข้างจะมองตรงไปยังจุดเดียวกัน หลังจากนั้นสมองก็จะรวมภาพจากตาทั้งสองข้างแปลเป็นภาพสามมิติ ซึ่งการที่มองเห็นเป็นสามมิตินี้เองที่ทำให้สามารถรู้สึกถึงความลึก แต่เมื่อตาข้างหนึ่งเข ภาพซึ่งแตกต่างกันจากตาทั้งสองข้างก็ส่งไปยังสมอง

แต่ในเด็กเล็ก ๆ สมองจะมีการปรับตัวโดยไม่สนใจภาพที่ส่งมาจากตาข้างที่เขนั้นเสีย และมองเห็นเพียงภาพจากตาข้างที่ตรง ทำให้เด็กสูญเสียความสามารถในการบอกความลึก หรือสูญเสียความสามารถในการมองเห็นสามมิตินั่นเอง ส่วนผู้ใหญ่ที่เพิ่งมาเกิดตาเข มักมีอาการเห็นภาพซ้อน เนื่องจากสมองเคยเรียนรู้ที่จะรับภาพจากตาทั้งสองข้าง และไม่สามารถกดภาพจากตาข้างเขได้แล้ว

การรักษาภาวะตาเขทำได้อย่างไร?

การรักษาภาวะตาเขในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีเป้าหมายเพื่อ 1. รักษาสายตาให้มองเห็นชัดเป็นปกติ 2. ทำให้ตาตรง และ 3. ฟื้นฟูการใช้สายตาสองข้างร่วมกัน (เห็นภาพสามมิติ)

นอกจากนี้ในผู้ใหญ่ ยังช่วยแก้ไขอาการปวดล้าตา ขจัดภาพซ้อน และสร้างความมั่นใจกับตนเองในการเข้าสังคม เพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิต อาชีพการงาน ส่งผลให้เศรษฐฐานะของตนเองและครอบครัวดีขึ้น ซึ่งหลังจากที่ตรวจตาเสร็จสมบูรณ์แล้ว จักษุแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยได้  วิธีรักษาแบ่งเป็นสามวิธีที่สำคัญคือ

1. สวมแว่นสายตา

2. ปิดตาเพื่อรักษาตาขี้เกียจ

3. ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

ส่วนวิธีอื่น ๆ ได้แก่การสวมแว่นที่มีปริซึม หรือการฝึกกล้ามเนื้อตา เป็นต้น บางรายอาจต้องใช้มากกว่า 1 วิธีเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด การเลือกวิธีการรักษา แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

 

อ่านต่อ >> ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาในเด็กที่มักเป็นกัน พร้อมวิธีรักษา” คลิกหน้า 3


ขอบคุฯข้อมูลจาก : www.med.cmu.ac.th , health.kapook.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up