ไวรัสโนโร โนโรไวรัส

ไวรัสโนโร ระบาดวงกว้างแถมทนต่อแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หมอแนะปฎิบัติตัว

Alternative Textaccount_circle
event
ไวรัสโนโร โนโรไวรัส
ไวรัสโนโร โนโรไวรัส

อาการเมื่อติดเชื้อ ไวรัสโนโร การรักษา และวิธีการป้องกันตนเองและลูกน้อย

อาการของโรคติดเชื้อโนโรไวรัส

ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการหลังจากได้รับเชื้อภายใน 12-48 ชั่วโมง หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายได้เองใน 1-3 วัน อาการโดยทั่วไปของการติดเชื้อโนโรไวรัส ได้แก่

  • ท้องเสีย ปวดท้อง
  • อาเจียนหรือคลื่นไส้
  • มีไข้ต่ำ รู้สึกหนาว
  • ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศรีษะ

ควรรีบพบแพทย์ทันที หากพบอาการเหล่านี้

  • อุจจาระมีเลือดปน
  • ทารกหรือเด็กที่ถ่ายเหลวมากกว่า 5 ครั้ง หรืออาเจียนมากกว่า 2 ครั้งต่อวัน
  • มีอาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาโหล อ่อนเพลีย เวียนศรีษะ รู้สึกมึนงง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้ม ทารกที่มีภาวะขาดน้ำอาจไม่ปัสสาวะเลยใน 6-8 ชั่วโมง ส่วนเด็กอาจไม่ปัสสาวะเลยใน 12 ชั่วโมง ร้องไห้โดยไม่มีน้ำตา รวมทั้งอาจแสดงอารมณ์หงุดหงิดหรือไม่พอใจ
  • ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวชนิดรุนแรง เช่น โรคไต ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่วมกับมีอาการท้องเสีย และอาเจียน
  • อาการป่วยไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน

    ไวรัสโนโร ปวดท้อง ท้องเสีย
    ไวรัสโนโร ปวดท้อง ท้องเสีย

การป้องกันโรคติดเชื้อโรโนไวรัส

นอกจากคำแนะนำจากคุณหมอยง ถึงการป้องกัน และหยุดการแพร่ระบาดของ ไวรัสโนโร กันไปแล้ว และถึงแม้ว่าการติดเชื้อโนโรไวรัสไม่อาจป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ สิ่งที่ทำได้คือการลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ เราจึงขอสรุปมาเป็นข้อ ๆ เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ปฎิบัติตามอย่างง่าย ๆ  ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ หรืออาหารที่ปรุงไม่ถูกสุขลักษณะ
  2. หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน เป็นต้น
  3. กดชักโครก และชำระล้างร่างกายให้สะอาดทุกครั้งหลังขับถ่ายของเหลว เช่น อุจจาระ คราบอาเจียน เป็นต้น
  4. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังใช้ห้องน้ำ หลังดูแลผู้ติดเชื้อโนโรไวรัส ก่อนรับประทานอาหารหรือก่อนเตรียมอาหาร ทั้งนี้ ไม่ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์แทนสบู่ เพราะไม่อาจกำจัดเชื้อไวรัสได้
  5. หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัดและเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ เช่น โรงเรียน ที่ทำงาน โรงพยาบาล อย่างน้อย 2 วันหลังจากไม่มีอาการป่วยแสดงให้เห็นแล้ว
  6. ผู้ดูแลควรสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยโรคนี้ ไม่ว่าจะเป็นน้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ หรืออาเจียน และทิ้งขยะที่มีสารคัดหลั่งปะปนในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิด โดยแยกจากขยะชนิดอื่น ๆ
  7. ซักเสื้อผ้าและเครื่องนอนที่อาจมีเชื้อไสรัสปะปนด้วยน้ำร้อน เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อถูกกำจัดจนหมด

    ล้างมือด้วยน้ำสบู่ ฆ่าเชื้อ ไวรัสโนโร ได้
    ล้างมือด้วยน้ำสบู่ ฆ่าเชื้อ ไวรัสโนโร ได้

การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัส

ปัจจุบันโรคติดเชื้อโนโรไวรัสไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้นและหายเป็นปกติได้เอง ในระหว่างนี้ ผู้ป่วยควรประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลงตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ดื่มน้ำ หรือผงเกลือแร่โออาร์เอสเพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่จากการถ่ายหรืออาเจียน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่อาจดื่มน้ำด้วยตนเอง แพทย์จะให้น้ำเกลือผ่านทางเส้นเลือด
  • รับประทานอาหารรสอ่อน เช่น ข้าวต้ม แกงจืด เป็นต้น และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
  • รับประทานยาพาราเซตามอล เมื่อมีไข้หรือรู้สึกปวด และพักผ่อนให้มาก ๆ
  • ผู้ใหญ่อาจรับประทานยาแก้ท้องเสีย หรือยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/https://www.pobpad.com/https://www.komchadluek.net

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ลูกอึเป็นเมือกจาก โนโรไวรัส หากเป็นหนัก อาจตายได้

โรคอีวารี่ ปอดอักเสบอาการ รุนแรง ภัยร้ายจากบุหรี่ไฟฟ้า

ระวังลูก ท้องร่วง จาก โรต้าไวรัส ระบาดหนักอย่าประมาท

ได้ยามาต้องรู้!! บน ฉลากยา ต้องมีอะไรบ้างก่อนให้ลูกกิน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up