เบาหวานในเด็ก

แม่แชร์! ลูกเกือบช็อคเพราะ เบาหวานในเด็ก

Alternative Textaccount_circle
event
เบาหวานในเด็ก
เบาหวานในเด็ก


ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักจะพบในเด็กและในผู้ใหญ่อายุน้อย แต่ก็สามารถพบได้ทุกช่วงอายุ   หากมีพ่อแม่หรือพี่น้องเป็นโรคเบาหวาน จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานชนิดที่ 1

อาการของเบาหวานชนิดที่ 1

อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จะร้ายแรงและเกิดขึ้นเร็ว อาจจะใช้เวลาไม่กี่วันจนถึงสัปดาห์  โดยอาการมีดังนี้

  • กระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อย
  • หิวบ่อย
  • ตามัว มองภาพไม่ชัด
  • อ่อนเพลีย
  • น้ำหนักลดที่หาสาเหตุไม่ได้

 

การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1

วิธีการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้ อินซูลินมีหลายชนิด แต่ละชนิดต่างกันที่ความเร็วในการออกฤทธิ์และระยะเวลาที่ยายังมีฤทธิ์อยู่ และอาจจำเป็นต้องได้รับอินซูลินมากกว่า 1 ชนิด โดยสามารถรับยาอินซูลินได้หลายวิธี เช่น ผ่านเข็มฉีดยา, ผ่านปากกาอินซูลิน, หรือผ่านเครื่องให้อินซูลิน (insulin pump) ในผู้ป่วยบางรายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ด้วยการใช้อินซูลินเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคเบาหวานเพิ่ม

 

เบาหวานในเด็กและผู้ใหญ่ต่างกันหรือไม่

เบาหวานในเด็ก ก็เหมือนกับผู้ใหญ่เป็นเบาหวาน โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต มีภาวะแทรกซ้อนตามมา เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหมือนในผู้ใหญ่ เช่น

  • เบาหวานขึ้นจอตา ทำให้ตามองเห็นไม่ชัด อาจจะต้องมีการยิงเลเซอร์รักษา
  • โรคไต การเป็นโรคเบาหวานนานๆ และคุม ระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ทำให้ไตเสื่อม
  • ปลายประสาทเสื่อม มีอาการชา การรับความรู้สึกที่มือ เท้า ลดลง
  • หลอดเลือดแดงตีบแข็งกว่าปกติ โอกาสจะเป็นหลอดเลือดสมองขาดเลือดหรือ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย มากขึ้น


รับมือกับ เบาหวานในเด็ก อย่างไร

เบาหวานชนิดที่ 1 วิธีการรักษาคือจะต้องมีการฉีดยาอินซูลิน ผู้ป่วยจะต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยา การออกฤทธิ์ของยาอินซูลิน ผู้ป่วยส่วนใหญ่ฉีดยาวันละ 2-3 ครั้ง บางรายอาจจะต้องฉีด 4 ครั้งต่อวัน เพื่อจะควบคุม ให้ระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้

เรียนรู้โรคเบาหวาน วิธีการดูแลตนเองจะต้องทำอย่างไรบ้าง นอกจากเรื่องการฉีดยาอินซูลินแล้ว ก็จะต้องมีการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วเพื่อจะดูระดับน้ำตาล   วันละ 3-4 ครั้ง จะได้มีการปรับยา ปรับอาหารให้เหมาะสมกับระดับน้ำตาล

เรียนรู้เรื่องอาหาร กินอาหารที่พอเหมาะ ให้เกิดสมดุลกับความต้องการของร่างกาย
ต้องเรียนรู้ว่า เวลาไม่สบาย กินไม่ได้ จะทำอย่างไร  ถ้าน้ำตาลสูงผิดปกติ ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะช็อก จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
เด็กและวัยรุ่นที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 และพ่อแม่จะต้องมีการเรียนรู้เรื่องเบาหวานเพื่อจะสามารถดูแลตนเองได้ จำเป็นต้องมีการปรับตัว เพราะต้องมีการฉีดยา เจาะเลือด ปรับลักษณะการกินและประเภทของอาหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยจึงจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

 

เบาหวานในเด็ก หากไม่สังเกตดีๆ ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าลูกกำลังเป็นโรคนี้อยู่ ดังนั้น หากลูกมีอาการ ฉี่บ่อย อ่อนเพลีย เหนื่อย ซึมง่าย ควรพาลูกไปพบแพทย์นะคะ เพราะหากพบได้เร็ว ก็สามารถดูแล ควบคุมอาการได้เร็วค่ะ

 

อ่านบทความดีๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

รู้หรือไม่? เด็กทารกก็เป็นโรคเบาหวานได้!

เบาหวานก่อนตั้งครรภ์ VS เบาหวานขณะตั้งครรภ์

เป็นเบาหวานแล้วตั้งครรภ์ อันตรายแค่ไหน?


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

คุณแม่ Phiraya Buaputta

https://www.honestdocs.co/diabetes

https://www.doctor.or.th/article/detail/1113

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up