ลูกปอดติดเชื้อ

แม่แชร์ประสบการณ์สำลักนม ทำลูกปอดติดเชื้อ มีไข้สูงชักตัวเกร็ง

event
ลูกปอดติดเชื้อ
ลูกปอดติดเชื้อ

ทำไม ลูกปอดติดเชื้อ เพราะสำลักนม?

การสำลักเกิดขึ้นเมื่อลูกดูดนมเข้าไปในปากมากกว่าที่จะกลืนได้ในแต่ละครั้ง ทำให้นมส่วนที่ล้นออกมาไหลเข้าไปในทางเดินหายใจและอุดกั้นการเข้า-ออกของอากาศ จึงนำไปสู่การสำลักได้

อาการสำลักเข้าปอด ทำ ลูกปอดติดเชื้อ

และการที่ ลูกสำลักนม ออกปากออกจมูก อาจเกิดอันตรายได้ ถึงแม้ร่างกายจะมีระบบกำจัดเศษอาหารที่สำลักออกทางปากและจมูก แต่หากระบบป้องกันและกำจัดเศษอาหารออกมาทำงานได้ไม่ทัน สำลักลงปอด อาจส่งผลให้เป็นปอดอักเสบติดเชื้อได้ และบางคนอาจการสำลักอาจทำให้เศษอาหารไปอุดกั้นที่ทางเดิน

คลิปอธิบาย ลูกน้อยสำลักนมออกปากออกจมูก (อันตราย) อาจเป็นปอดอักเสบ อุดกั้นทางเดินหายใจ

ขอบคุณคลิปจาก Nurse Kids

อย่างไรก็ตาม จากการที่ลูกน้อยสำลักนม ทำให้ ลูกปอดติดเชื้อ และเป็นไข้สูง ซึ่งนอกจากการดูแลลูกเมื่อสำลักนมแล้ว การดูแลเมื่อลูกน้อยมีไข้สูงก็สำคัญ เพราะหากลูกวัยทารก ตัวร้อนมีไข้สูง หากคุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถดูแลหรือทำให้ไข้ของลูกน้อยลดลงได้ อาจทำให้เกิดภาวะชักจากไข้ ทำให้ลูกมีอาการชักแบบเกร็ง หรือกระตุกทั้งตัว ซึ่งการที่ลูกมีไข้ และมีอาการชักตามมานั้น อาจเกิดจากภาวะอื่นๆได้ เช่น การติดเชื้อในสมองหรือเยื่อหุ้มสมอง ดังนั้นในบางรายอาจจำเป็นต้องตรวจน้ำไขสันหลัง โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือเด็กที่มีอาการซึมลง กินน้อยลง หรืออาเจียนร่วมด้วย

ลูกปอดติดเชื้อ

ลูกชักเพราะไข้ มีผลต่อพัฒนาการหรือไม่?

โดยทั่วไปภาวะนี้จะไม่มีผลต่อพัฒนาการ หรือการเรียนรู้ของเด็กที่แต่เดิมแข็งแรงดีอยู่แล้ว ยกเว้นในบางรายที่มีอาการชักติดต่อกันเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะถ้านานมากกว่า 30 นาที) จนมีภาวะตัวเขียว ขาดออกซิเจน ทำให้อาจมีผลต่อสมองได้ แต่โดยทั่วไปอาการชักชนิดนี้ มักจะหยุดได้เองภายในเวลา 3-5 นาที จึงไม่น่ามีอันตรายต่อสมองของเด็ก

แต่โดยทั่วไป ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีโอกาสชักซ้ำได้ถ้ามีไข้สูง จนกว่าจะอายุมากกว่า 5-6 ปี ส่วนในรายที่เริ่มมีอาการชักจากไข้ครั้งแรกก่อนอายุ 1 ปี และมีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะนี้ในตอนเด็ก อาจมีโอกาสชักซ้ำได้มากขึ้น

Must read >> 3 วิธีรับมือ ลูกชักเพราะไข้สูงอาการชักไม่น่ากลัวเมื่อเข้าใจ

Must read >> หมอแนะ! ลูกชัก จากไข้สูง ไม่น่ากลัวหากรู้ให้เท่าทัน

จะทำอย่างไรเมื่อลูกชัก

อันดับแรกที่สำคัญคือ ต้องตั้งสติ คุณพ่อคุณแม่อย่าตกใจ แล้วรีบจับลูกนอนตะแคง ป้องกันการสำลัก ห้ามใช้นิ้วหรือวัสดุใดๆล้วง งัดปากผู้ป่วย ถ้าอาการชักเป็นนานมากกว่า 3-5 นาที หรือมีรอบปากเขียวคล้ำ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาเบื้องต้นที่เหมาะสมต่อไป

วิธีป้องกันอาการชักซ้ำเมื่อมีไข้สูง

เพราะภาวะชักจากไข้ สามารถเกิดซ้ำได้อีก ถ้าพบว่าลูกมีไข้สูง ควรให้ยาลดไข้พาราเซตามอล และเช็ดตัวลดไข้ทันที และควรพาไปหาคุรหมอที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้ และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้โดยทั่วไป ภาวะนี้ไม่จำเป็นต้องกินยากันชัก ยกเว้นในบางรายที่คุณหมออาจแนะนำให้กินยาเพื่อป้องกันอาการชักเฉพาะเวลาที่มีไข้สูง ซึ่งก็ขึ้นกับอาการของเด็กแต่ละคน โดยคุณหมอจะเป็นผู้พิจารณาร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ถึงผลดีและผลเสียของยาดังกล่าว และแนวทางการให้ยาที่เหมาะสมต่อไป

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.thwww.si.mahidol.ac.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up