แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า

แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายพร้อมลูกสาว

Alternative Textaccount_circle
event
แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า
แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า

ข้อควรปฏิบัติสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้า

การพาตัวเราเองให้ออกห่างจากภาวะซึมเศร้า เชื่อว่าใครหลายๆ คนอาจทำได้ยาก อาจเพราะด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่างที่นำพาให้ต้องประสบกับอาการซึมเศร้าในชีวิต และไม่รู้จะหาทางออกให้ตัวเองอย่างไร ผู้เขียนมีข้อควรปฏิบัติง่ายๆ เพื่อดูแลตัวเองจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งคำแนะนำนี้ผู้เขียนอนุญาตนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้มาจาก นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์  โรงพยาบาลมนารมย์[8] ซึ่งคุณหมอได้ชีแนะไว้ดังนี้…

  1. อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป
  2. แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำเท่าที่สามารถทำได้
  3. อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
  4. พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
  5. เลือกทำกิจกรรมที่จะสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไปเช่นการออกกำลังเบาๆ การชมภาพยนตร์ การร่วมทำกิจกรรมทางสังคม
  6. อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และ ต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่าง ที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และ ปราศจากอคติที่เกิดจากอารมณ์มาบดบัง ถ้าเป็นไปได้ และ ดีที่สุด คือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้น มากแล้ว
  7. ไม่ควรตำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำ ได้อย่างที่ต้องการ เพราะ ไมใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้
  8. อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะ ซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเองเพราะโดยแท้จริงแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของโรค หรือ ความเจ็บป่วย และ สามารถหายไปได้เมื่อรักษา
  9. ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่ก็อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และ อาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามและกลายเป็น การซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ[8]

 

บทความแนะนำ คลิก >> อย่ารู้สึกผิดเลยถ้าแม่ลูกวัย 1 ขวบจะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ก็สามารถเกิดภาวะป่วยซึมเศร้าได้เช่นกันค่ะ แนะนำว่าเมื่อพบว่าตัวเอง หรือคนในครอบครัวมีอาการเริ่มต้นว่าจะเป็นซึมเศร้า ขอให้รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที และจะได้หายขาดโดยเร็ว ที่สำคัญกำลังใจจากครอบครัว และคนรอบข้างก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่ป่วยซึมเศร้า …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

สามีเขียนเหตุผล 15 ข้อที่ทำให้เขารักภรรยาผู้มีอาการของโรคซึมเศร้า
ซึมเศร้าหลังคลอด อาการ ที่แม่หลังคลอดควรรู้ !
10 สัญญาณ แม่ท้องกำลังเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1,2,3,4,5,6,7โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
8 นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์.  จิตแพทย์แนะ 9 วิธี ต้านซึมเศร้า. โรงพยาบาลมนารมย์
้อมูลและภาพบางส่วนจาก : www.thairath.co.th

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up