ลูกไม่นั่งคาร์ซีท

ลูกไม่นั่งคาร์ซีท อันตราย… นั่งผิดที่ เสี่ยงเสียชีวิตได้!

event
ลูกไม่นั่งคาร์ซีท
ลูกไม่นั่งคาร์ซีท

ลูกไม่นั่งคาร์ซีท

เด็กทารกจำเป็นต้องใช้คาร์ซีท จริงหรือ?

คำถามจากทางบ้าน : “คาร์ซีท” จำเป็นต่อลูกทารกจริงๆ หรือ คอลูกจะงอและเป็นอันตรายไหม แล้วหลังลูกจะงอหรือไม่?

ในประเทศที่เห็นความสำคัญในสวัสดิภาพของเด็ก จะมีกฎหมายบังคับใช้คาร์ซีทสำหรับเด็ก และต้องใช้ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลหลังคลอด ไม่เช่นนั้นจะถูกจับและปรับหรือถึงขั้นยึดใบขับขี่กันเลยทีเดียว การใช้คาร์ซีทไม่ได้ทำให้กระดูกคอและกระดูกหลังของลูกน้อยงอหรือพัฒนาผิดรูปแต่อย่างใด แต่จะช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับศีรษะ คอและหลังได้เป็นอย่างดี ป้องกันไม่ให้สมองและไขสันหลังถูกทำลายจากแรงกระแทกค่ะ

คาร์ซีท จำเป็นไหมการเลือกคาร์ซีทที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่ต้องเป็นชนิดที่เหมาะกับขนาดน้ำหนักตัว ความสูง และอายุของลูก เวลาเลือกควรนำลูกไปลองนั่งจริงและควรได้รับคำแนะนำสาธิตวิธีการติดตั้งอย่างถูกต้อง ตามไปชมคลิปสาธิตวิธีติดตั้งคาร์ซีทให้ลูกกันค่ะ

วิธีติดตั้งคาร์ซีทให้ลูกทารกอย่างถูกต้อง

วิธีติดตั้งคาร์ซีท ให้ปลอดภัย

วิธีติดตั้งคาร์ซีทให้ปลอดภัย

ติดตั้งคาร์ซีทให้เบบี๋อย่างถูกต้อง

√ การฝึกลูกนั่งคาร์ซีท 

เป็นวินัยพื้นฐานอย่างหนึ่ง การที่ลูกร้องไห้มากๆ ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าไม่นั่งคาร์ซีทอาจเกิดอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตได้ โดยสถิติแล้วเด็กสามารถร้องไห้ต่อเนื่องนาน 90 นาทีแต่ผู้ใหญ่มักทนได้แค่ 5 นาที  ฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ว่าอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นเหนือความคาดหมาย และอาจเกิดได้ทุกเวลา งดการอุ้มลูกนั่งตักระหว่างเดินทาง หรือให้ลูกวิ่งเล่นในรถให้เปลี่ยนเป็นวางในคาร์ซีท และ รัดเข็มขัดให้ปลอดภัย และหากจะนำลูกออกมาจากคาร์ซีท  ต้องจอดรถก่อนทุกครั้ง ใกล้ไกลเพียงใด

เด็กจะนั่งตำแหน่งอื่นในรถได้เมื่อใด

สำหรับเด็กนั้นจะใช้เข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ได้เหมาะสมปลอดภัยก็ต่อเมื่อ มีอายุ 9 ขวบขึ้นไป  หรือ  มีน้ำหนักมากกว่า 30 กก. หรือความสูงตั้งแต่ 140 ซม. ขึ้นไปเท่านั้น มิฉะนั้นเข็มขัดนิรภัย อาจกลายเป็นตัวการทำอันตรายต่อเด็กๆ อย่างรุนแรง แต่ใน พรบ.จราจรของบ้านเรากำหนดไว้ในมาตรา 123 ว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย ไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์ ซึ่งนั่งที่นั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัย แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากลูกวัยยังไม่ถึง 9 ขวบ หรือ มีความสูงน้อยกว่า  140 ซม.

การนั่งรถยนต์แล้วคาดเข็มขัดนิรภัยกลับกลายเป็นความเสี่ยง เพราะแทนที่เข็มขัดนิรภัยสายล่างจะพาดบนหน้าตักและแนบบริเวณเชิงกราน แต่กลับมารัดตรงท้องน้อย ส่วนเส้นที่ควรพาดที่หน้าอกและไหล่  ก็กลับมารัดที่ลำคอของเด็ก หากเกิดการชน หรือการเบรกรถอย่างกะทันหัน รุนแรง สายเข็มขัดจะทำอันตรายแก่ไขสันหลัง อวัยวะภายในช่องท้อง หรือรัดลำคอของเด็กจนเสียชีวิต

อ่านต่อ “บทความแนะนำดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณเรื่องจาก : นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กุมารแพทย์ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี และพญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up