อุทาหรณ์! เด็กชาย 7 ขวบ กางร่มกระโดดตึกจากชั้น 5 เพราะเลียนแบบฉากในการ์ตูน

event

เด็กชาย เลียนแบบการ์ตูน

พฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็ก

ในเชิงจิตวิทยา หมายถึง การแสดงออกทางพฤติกรรมของเด็กที่ถูกกระตุ้นด้วยระบบการรับรู้ของจากแบบอย่าง  ที่คอยดึงความสนใจและชี้นำให้เด็กปฏิบัติตาม หากจะพูดถึงพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกสัตว์จะเฝ้าสังเกต จดจำ และลอกเลียนแบบการกระทำของสมาชิกรุ่นพี่

ส่วนมนุษย์นั้น การลอกเลียนแบบเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ค่อยๆ สั่งสมในแต่ละวัน สมองส่วนที่เรียกว่า “เซลล์กระจกเงา” ซึ่งเป็นระบบการทำงานของสมองที่ทำงานแบบ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม เมื่อเด็กเห็นพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำๆ ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ เด็กจะเริ่มลอกเลียนแบบพฤติกรรมทางสังคมดังกล่าว เช่น เมื่อเห็นผู้อื่นหาวเด็กก็มักจะหาวตาม เป็นต้น ทั้งนี้เซลล์กระจกเงาเป็นเสมือนไมโครชิพที่ฝังลึกในสมองของมนุษย์ที่มีอยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ก่อให้เกิดสัญชาตญาณและความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์

เด็กชาย เลียนแบบการ์ตูน

ลักษณะของเด็กที่มีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ

ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบจะแตกต่างไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก อายุ และเพศ พฤติกรรมการแสดงออกของเด็กสามารถสะท้อนความใส่ใจและการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง รวมถึงสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมเขา ปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็กมีลักษณะดังนี้

  • ลูกมีการใช้ภาษาแปลกๆ หรือวาจาผรุสวาส สบถ หรือศัพท์แสลง
  • ชอบนำสิ่งของเครื่องใช้ติดที่ตัวมาใช้เป็นอาวุธทำร้ายผู้อื่น
  • ติดอุปกรณ์ทางเทคโนโลยี เช่น ไอแพท ไอโฟน เกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
  • ชอบใช้วลีเด็ดตามละคร ตามการ์ตูน หรือใช้คำศัพท์ที่มีผู้คิดขึ้นใหม่ๆโดยไม่รู้ความหมาย
  • ชูนิ้วกลางเพราะเคยเห็นในภาพยนตร์ต่างชาติ
  • พูดบทสนทนาในเรื่องเดิมๆซ้ำๆที่ชื่นชอบ เช่น การ์ตูนตอนโปรด เกมการแข่งขันหรือการต่อสู้ที่เป็นฉากก้าวร้าวและกรีดร้องเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  • ไม่ชอบทำความสะอาดอวัยวะร่างกายและไม่ชอบอาบน้ำเอง
  • มีปัญหาพัฒนาการทางสมองและมีพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น ลูกชายวัยสามขวบไม่โต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่น ขาดปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ดูการ์ตูนวันละหลายชั่วโมง ใช้คำพูดและภาษาที่แปลกประหลาด อีกทั้งยังพูดช้า ลูกสาววัยห้าขวบหัดแต่งหน้า ทำหน้าทำตาแปลกๆ ติดละคร ส่งเสียงร้องกรี๊ดๆเวลาไม่พอใจ ลูกชายวัยเก้าขวบชอบคบกับเพื่อนรุ่นพี่ ตามไปเล่นนอกบ้านและกลับบ้านผิดเวลา บางครั้งมีปัญหาการใช้กำลังกัน มีร่องรอยการถูกทำร้ายตามร่างกาย เป็นต้น
  • มีพฤติกรรมรุนแรงอย่างคาดไม่ถึง เช่น ชกตีกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน พกพาอาวุธไปโรงเรียน ผลักเพื่อนตกสระน้ำ เป็นต้น
  • เด็กที่ไม่ได้รับการดูแลและสั่งสอนอย่างจริงจังในวัยเด็ก จะส่งผลโดยตรงมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวในวันข้างหน้าพฤติกรรมการแสดงออกที่ก้าวร้าวในวัยรุ่นนี้อาจเกิดจากการลอกเลียนแบบ เมื่อเขายังอยู่ในวัยเด็กเล็กเมื่อเขาเติบโตขึ้นและมีความคิดเป็นของตัวเอง พฤติกรรมซ้ำๆที่เขาได้มาจากการลอกเลียนแบบจะพัฒนาไปสู่การสร้างอัตลักษณ์อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวในที่สุด อัตลักษณ์ที่คงที่ มีทั้งลักษณะที่ดีและไม่ดี ซึ่งเด็กแสดงออกให้เห็นถึงความชื่นชอบหรือความคลั่งไคล้ผ่านพฤติกรรม เช่น ในวัยเด็กชอบก้าวร้าวใช้กำลัง
  • ทะเลาะและทำร้ายผู้อื่น เมื่อโตขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขกลายเป็นนักเลงมีพฤติกรรมเที่ยวทะเลาะวิวาท ใช้อาวุธทำร้ายผู้คนที่ไม่มีทางสู้ ไปจนถึงทำอันตรายจนผู้อื่นถึงแก่ชีวิต

ในช่วงวัย 6 – 9 ขวบนั้น การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการลอกเลียนแบบในเด็กจะละเอียดอ่อนและซับซ้อนมากขึ้น ในระดับปฐมวัยเป็นพื้นฐานสำคัญที่ผู้ปกครองควรคำนึงถึงพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ เพราะเด็กมีการเรียนรู้ที่มากยิ่งกว่าวัยอื่นๆ ควรพิจารณาจากแนวทางต่อไปนี้

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : taamkru.com

อ่านต่อ > >”วิธีช่วยลูกให้แยกความจริง ออกจากโทรทัศน์ ป้องกันพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up