จะเป็นอย่างไร! เมื่อลูกน้อยในครรภ์ได้กลิ่นควันบุหรี่

event

ภัยของกลิ่นบุหรี่กับทารก

ทำความรู้จักเจ้าควันบุหรี่มือหนึ่ง  ควันบุหรี่มือสอง และควันบุหรี่มือสาม

  • บุหรี่มือหนึ่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบดูดเข้าไปในร่างกาย

  • บุหรี่มือสอง คือ  ควันบุหรี่ที่คละคลุ้งจากบุหรี่ที่เผาไหม้  และควันบุหรี่ที่ผู้สูบพ่นหรือหายใจออกมา

  • บุหรี่มือสาม คือ อนุภาคละอองไอสารเคมีที่เป็นพิษจากควันบุหรี่ที่ก่อตัวจากก๊าซ สารอันตรายหลายชนิด ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง ซึ่งตกค้างเกาะติดอยู่ตามสิ่งต่างๆ ในสถานที่ที่มีการสูบบุหรี่ หรือตกค้างและเกาะติดอยู่ตามเสื้อผ้าเส้นผม ผ้าม่าน พรม เบาะ  สิ่งของต่างๆ และผิวหนัง แม้บุหรี่จะดับไปแล้วก็ตามแต่ควันบุหรี่ก็ไม่ได้หายไป ซึ่งจะรู้สึกได้จากกลิ่นที่ยังอบอวลอยู่ในห้องหรือจากตัวผู้สูบเอง

แน่นอน! บุหรี่มือสองทำร้ายลูกด้วย เพราะเมื่อพ่อสูบบุหรี่เสร็จแล้วมาอุ้มลูกหรือหยอกเล่นกับลูก หอมแก้มลูก กลิ่นบุหรี่จะออกมาทางลมหายใจลูกน้อยได้รับเต็มๆ >>> แต่ยิ่งกว่านั้น บุหรี่มือสาม มีความเสี่ยงต่อลูกน้อยมากที่สุด เพราะเด็กเล็กมีโอกาสซึมซับฝุ่นละอองมากกว่าผู้ใหญ่ถึงสองเท่า เนื่องจากเด็กเล็กมักหายใจใกล้พื้นผิวสิ่งของต่างๆ หรือคลานเล่นตามพื้นที่มีสารพิษตกค้าง และบางครั้งเด็กอาจเลียหรือนำสิ่งของเข้าปากตามประสาเด็ก จึงเสี่ยงได้รับอนุภาคโลหะหนัก สารก่อมะเร็ง และสารกัมมันตรังสี ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ภัยของกลิ่นบุหรี่กับทารก

เกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อลูกน้อยได้รับควันบุหรี่มือสาม

  1. เป็นโรคภูมิแพ้ เจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ  เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม เป็นโรคหืด
  2. มีโอกาสติดเชื้อของหูส่วนกลาง
  3. มีความเสี่ยงเกิดโรคไหลตายในเด็ก (SIDS) คือนอนหลับแล้วหยุดหายใจไปเลย
  4. ถ้าได้รับควันบุหรี่มือสามไปนานๆ พัฒนาการของปอดจะน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่

แนะนำวิธีการเลิกบุหรี่ของแม่ท้อง

  • อันดับแรก ให้คุณแม่ลองเขียนทำเป็นรายการออกมาให้เห็นเลยว่า หากเลิกสูบบุหรี่แล้วจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยอย่างไรบ้าง
  • จากนั้นหากิจกรรมทดแทนการสูบบุหรี่ด้วยการสร้างนิสัยด้านสุขภาพที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น หาของขบเคี้ยวมากินเล่น หรืออาจจะดื่มน้ำชาระหว่างอ่านหนังสือพิมพ์แทนที่จะต้องสูบบุหรี่
  • พยายามเอาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางคนที่ไม่สูบบุหรี่ หรือบอกกับเพื่อนๆ และสมาชิกในครอบครัวว่าต้องการกำลังใจในการเลิกบุหรี่
  • สุดท้ายให้ลองปรึกษาแพทย์ดู หรือลองนำเอาเคล็ดลับการเลิกบุหรี่อื่นๆ มาเป็นตัวช่วย เพื่อให้ปลอดภัยทั้งแม่และเด็ก

ที่สำคัญอีกอย่างคือ อย่าลืมตั้งเป้าหมายกำหนดวันเวลาให้แน่นอนว่าจะเริ่มเมื่อไร จะได้เริ่มต้นได้อย่างจริงจัง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


อ้างอิงข้อมูลควันบุหรี่มือสาม :  คุณภาพชีวิต/ผู้จัดการ online , news.thaiza.com , www2.manager.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up