ลักษณะลิ้นบอกโรค

18 ลักษณะลิ้นบอกโรค เพียงแค่ดูลิ้นลูก ก็รู้ได้ว่าป่วยหรือไม่?

event
ลักษณะลิ้นบอกโรค
ลักษณะลิ้นบอกโรค

(ต่อ) ลักษณะของ ลิ้นบอกโรค

8. ลิ้นเป็นฝ้าขาว

เป็นขุยลักษณะคล้ายคราบนม แต่เขี่ยออกยาก แสดงว่าลิ้นของลูกน้อยเป็นโรคเชื้อรา มักจะเกิดกับเด็กทารกที่ภูมิต้านทานต่ำ แต่ไม่ร้ายแรงอย่าที่คิด แค่ใช้เจนเชียนไวโอเลต (ยาน้ำสีม่วงๆ) ป้ายวันละ 3-4 ครั้ง ติดต่อไปสัก 5-7 วัน แล้วดูแลร่างกายให้แข็งแรงเท่านี้ก็เพียงพอ

9. ลิ้นเป็นแผ่นขาว

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลิ้นของลูกมีฝ้าเป็นแผ่นขาวใหญ่ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นก็ถูหรือขูดไม่ออกแบบนี้จะอันตรายกว่า แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ เพราะมันอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงระยะแรกของการเกิดมะเร็งในช่องปาก

10. ลิ้นเป็นฝ้าขาว มีจุดแดงๆ เป็นหย่อมๆ คล้ายลูกสตรอว์เบอร์รี่

ซึ่งมีร่วมกับอาการไข้และผื่นตามตัว มักพบว่าเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น หรือก็สามารถเป็นสัญญาณเบื้องต้นของโรคคาวาซากิได้ ซึ่งเป็นโรคที่หายากและร้ายแรงที่ทำให้หลอดเลือดทั้งร่างกายเกิดการอักเสบ โดยพบได้มากในเด็ก แต่ถ้าลิ้นของคุณเรียบ และรู้สึกเจ็บในปาก มันก็อาจเป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายได้รับวิตามินบี 3 ไม่เพียงพอ

ลักษณะลิ้นบอกโรค
ลักษณะลิ้นบอกโรค ที่เหมือนแผนที่ Cr. pic : LabRoots

11. ลิ้นอักเสบ มีลักษณะคล้ายฝ้าขาว แต่ขอบหยักๆ เหมือนแผนที่

หมายถึงอาการที่หลังลิ้น หรือด้านข้างของลิ้นของลูกน้อย มีขนสลับกับผิวเรียบลื่น มองดูคล้ายแผ่นที่ โดยรอยแผนที่นี้จะไม่ได้อยู่ถาวร สามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปได้เรื่อยๆ สาเหตุของลิ้นก็ไม่เป็นที่แน่ชัด อาจมาจากอารมณ์ที่แปรปรวน ขาดสารอาหาร พันธุกรรม หรือเกิดร่วมกับโรคของระบบร่างกายอื่นๆ เช่น โรคที่เกี่ยวกับเลือด และหอบหืด ซึ่งลิ้นลักษณะนี้ไม่ได้มีอันตรายใดๆ เช่นกัน แต่เด็กบางคนอาจรู้สึกว่ารับรู้รสได้ไม่ดีพอ สามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเขารับการรักษาได้

12. ลิ้นเป็นจุดดำๆ

เหมือนกระ ลามมาที่ผนังแก้ม และริมฝีปาก เป็นอาการของโรคเนื้องอกในลำไส้เล็กชนิดหนึ่ง

13. ลิ้นโตใหญ่

(แลบลิ้น จะโตคับปาก) อาจเกิดจากลูกมีภาวะโลหิตจาง บวมน้ำ ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย และขาดสารอาหาร

14. ลิ้นบวมโตในปาก

แลบลิ้นออกมาได้ แต่ดึงลิ้นกลับไม่ได้ แสดงว่าลูกของคุณกำลังเป็นโรคติดเชื้อนาน ทำให้มีไข้ จึงทำให้ลิ้นอักเสบหรือเพราะพิษของยา หรือเพราะพิษจากสุรา ทำให้ลิ้น และอวัยวะภายในบวม

15. ลิ้นที่เป็นตุ่มหนา

โดยลักษณะตุ่มจะนูนอักเสบ เนื่องจากลูกมีไข้สูง หรือปอดอักเสบรุนแรง หรือเป็นไข้กลุ่มอีดำอีแดง

16. ลิ้นแตก

หากลิ้นของลูกน้อยเริ่มเกิดรอยแตก โดยที่ไม่มีเลือดไหลออกมา คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป เพราะนั่นเป็นอาการที่เกิดขึ้นตามวัย ยิ่งถ้ามีอายุมากก็จะยิ่งพบได้ง่าย จึงไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะเป็นสัญญาณของอาการป่วยใด ๆ แต่ก็ใช่ว่าจะละเลยได้ ควรจะเอาใจใส่สุขภาพช่องปากให้มากขึ้นเนื่องจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียนั้นอาจจะเข้าไปอยู่ตามรอยแตกของลิ้นได้ ควรแปรงฟันและลิ้นให้สะอาด ดื่มน้ำให้เพียงพอ และหมั่นไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน

 

อ่านต่อ >> ลักษณะของ ลิ้นบอกโรค ที่พ่อแม่ควรรู้และดูให้เป็น” คลิกหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up