10 สิ่งที่กุมารแพทย์

10 สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณแม่ของผู้ป่วยเด็กน้อย

event
10 สิ่งที่กุมารแพทย์
10 สิ่งที่กุมารแพทย์

ลูกไม่สบาย หรือเมื่อลูกมีอาการงอแงผิดปกติ ย่อมทำให้พ่อแม่เกิดความกังวลใจ แต่อย่างไรก็ตามการหาสาเหตุจากอาการร้องงอแง ไม่สบายตัวของลูกน้อย เป็นสิ่งที่สำคัญ

ซึ่งสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นมีได้หลายสาเหตุ เช่น อาการไม่สบายตัว อาการป่วย อาการหิว พ่อแม่ควรหาสาเหตุของอาการที่เป็นไปได้และแก้ไขเบื้องต้น เช่น การเปลี่ยนผ้าอ้อมถ้าคิดว่าสาเหตุเกิดจากความเปียกชื้นของผ้าอ้อม การให้รับประทานนมถ้าคิดว่าเกิดจากความหิว แต่ในกรณีที่ลูกยังมีอาการไม่ดีขึ้น ควรคิดถึงสาเหตุจากความเจ็บป่วย

10 สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณแม่ เมื่อลูกไม่สบาย

ในกรณีที่เกิดจากความเจ็บป่วย พ่อแม่ต้องเฝ้าสังเกตอาการที่ผิดปกติของลูกน้อยซึ่งบางครั้งต้องอาศัยการสังเกตอย่างมาก รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เลี้ยงดูด้วย โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังพูดหรือบอกอาการไม่ได้ พ่อแม่ควรรู้จักวิธีการดูแลรักษาเบื้องต้นซึ่งเป็นการดูแลรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้นแล้ว หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกไม่สบาย ลองไปดูสิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณพ่อคุณแม่ เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วย หรือมีไข้ของลูกน้อย ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องรู้ เพื่อที่จะได้รับมือ และรักษาอาการเจ็บป่วยของลูกน้อยในเบื้องต้นได้ทันท่วงทีและตรงกับอาการนั้นๆ

ลูกไม่สบาย

ซึ่งเรื่องราวนี้เป็นบทความจากสมาชิกเว็บไซต์พันทิป ชื่อคุณ Jagger moving ซึ่งได้มาโพสต์กระทู้ไว้ (คลิกอ่านกระทู้) ให้คุณพ่อคุณแม่ได้อ่าน และทราบถึงสิ่งที่กุมารแพทย์อยากจะบอกเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของเด็กน้อย เพื่อให้ได้เรียนรู้และลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับลูกๆ ลงบ้าง

10 สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณพ่อคุณแม่ของคนไข้เด็กน้อย

1. ลูกคอแดง

ไม่ได้หมายความว่าต้องได้ยาแก้อักเสบ (อาการคอแดงอาจเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัสก็ได้ยิ่งในเด็กเล็กด้วยแล้วเป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากกว่าเสียอีก)

โดยอาการคอแดง ที่ไม่ต้องทานยาแก้อักเสบ เป็นอาการแบบไม่มีพยาธิสภาพหรือการติดเชื้อ ในที่นี้หมายถึง เยื่อบุในผนังคอที่แดงจากภาวะไข้ทั่วไปโดยที่ไม่ได้จำเป็นต้องมีคออักเสบ เช่น เวลาไข้สูง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็คงคิดเหมือนกันว่าแดงไปหมดทั้งตัว ซึ่งนั้นก็เป็นความจริง แต่ในบางครั้งระยะเริ่มแรกการติดเชื้อเราอาจแยกได้ไม่ชัดเจน และโดยส่วนใหญ่โดยเฉพาะในเด็กมักเป็นการติดเชื้อไวรัสเสียส่วนใหญ่ ทำให้อาจแยกออกได้ยาก หรือบางครั้งกินอาหารที่มีสี ๆ ก็อาจทำให้แดงได้เหมือนกัน แต่คุณหมอจะดูออก ซึ่งอาการกลุ่มนี้มักไม่จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ1

2. ลูกมีไข้สูงเกิน 39 องศาเซลเซียส

ไม่ได้หมายความว่าต้องได้ยาลดไข้สูง (ยาลดไข้สูงที่เรียกกันนั้นแท้จริงคือยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ซึ่งในอาการไข้บางโรค การได้ยาลดไข้ไปบางครั้งอาจทำให้ตัวโรคแย่ลง เช่น ไข้เลือดออก เพราะจะทำให้เกร็ดเลือดทำงานได้ไม่ดี) ดังนั้น ยาลดไข้ พาราเซลตามอล จึงเหมาะกับเด็กมากที่สุดแล้ว

เอ็นเสด (NSAID) เป็นตัวย่อของ กลุ่มยาแก้ปวด ยาลดไข้ และยาต้านการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ คือ Non-steroidal anti -inflammatory drug หรือ Non-steroidal anti -inflammatory drugs นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติต้านการทำงานของเกล็ดเลือด ดังนั้นจึงส่งผลให้เลือดแข็งตัวได้ช้า ลดโอกาสการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้น นอกจากทางการแพทย์จะใช้ยาในกลุ่มนี้ รักษาอาการปวด ลดไข้ และรักษาการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (เช่น ในโรคข้อต่างๆ) แพทย์ยังใช้ยากลุ่มนี้เพื่อต้านการแข็งตัวของเลือดในการป้องกันและรักษา โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

โดยทั่วไป ยาเอ็นเสด มักใช้รักษา โรคข้ออักเสบต่างๆ โรคข้อรูมาตอยด์ โรคเกาต์ ปวดศีรษะไมเกรน และ อาการปวดกระดูกจากโรคมะเร็งแพร่กระจายเข้ากระดูก เป็นต้น อีกทั้ง ยาเอ็นเสด เป็นยาอันตราย ไม่ควรซื้อกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ และ/หรือ เภสัชกรก่อน2

⇒ บทความแนะนำควรอ่าน : ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!
⇒ บทความแนะนำควรอ่าน : วิธีการเช็ดตัวลดไข้ ด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาว

 

อ่านต่อ >> “สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณพ่อคุณแม่ของคนไข้เด็กน้อย” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up