ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวดี

ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวดี สมวัย

Alternative Textaccount_circle
event
ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวดี
ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวดี

ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวดี สมวัย เป็นหนึ่งคำถามที่คุณแม่ถามกันมาบ่อยๆ เลยค่ะ ความจริงแล้วการที่เด็กๆ จะมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมตามแต่ละช่วงวัย ควรต้องมาจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกันค่ะ ฉะนั้นแล้วจะมีวิธีไหนที่ช่วยให้ลูกรักมีน้ำหนักตัวสมวัย เรามีคำแนะนำมาฝากันค่ะ

 

ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวดี สมวัย ?

อยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่า ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวดี สมวัย ก่อนอื่นขอให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจกันก่อนว่า “น้ำหนักตัว” ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงมาได้จากหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การเจ็บป่วย ระบบเผาพลาญในร่างกาย โภชนาการอาหารการกิน เป็นต้น

แต่ปัญหาหนึ่งที่พบในเด็กที่อยู่ในวัยกำลังโตตั้งแต่ 1 ขวบขึ้นไป เด็กในช่วงวัยนี้เริ่มที่จะเลือกรับประทานอาหารเองได้มากขึ้น รู้ว่าตัวเองชอบ ไม่ชอบกินอะไร หรือในเด็กบางคนอาจจะไม่ค่อยยอมรับประทานข้าว ห่วงเล่นมากกว่ากิน ฯลฯ ฉะนั้นเพื่อให้ลูกรักมีน้ำตัวสมวัย เรามาดูวิธีแก้ไขในการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้กับเด็กๆ กันค่ะ

 

ถามว่าแล้วจะรู้ได้ยังไงว่าลูกมีน้ำหนักตามเกณฑ์หรือเปล่า ?

คุณแม่สามารถเช็กได้จากสมุดฉีดวัคซีนที่ได้รับมาจากโรงพยาบาลค่ะ ซึ่งในสมุดจะมีแจงข้อมูลว่าลูกควรได้รับฉีดวัคซีนอะไรบ้างตามช่วงอายุ รวมถึงบอกมาตรฐานเกณฑ์น้ำหนัก ส่วนสูงของเด็กแต่ละช่วงวัยไว้ด้วยค่ะ

 

วิธีแก้ไขปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้กับลูกน้อย

เด็กที่อยู่ในช่วงวัยกำลังโต มักจะเลือกกินแต่อาหารโปรดที่ชอบ เอาหมูทอด ไข่ทอด ฯลฯ แต่ไม่กินผัก กินข้าวคำ น้ำคำ อิ่มแล้วแม่!!! แม่เห็นแบบนี้ร่างกายจะได้สารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ยังไง ใช่ไหมคะ

เด็กจะน้ำหนักตัวดี สูงสมวัย สิ่งสำคัญร่างกายต้องได้รับสารอาหารอย่างหลากหลายในสัดส่วนที่สมดุลกัน สารอาหารที่ร่างกายได้รับอย่างเหมาะสมและเพียงพอก็เพื่อนำไปบำรุงสร้างอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้เจริญเติบโต มีน้ำหนัก ส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ไปดูแนวทางในการแก้ไขพฤติกรรมการกินให้กับเด็กๆ ว่าคุณแม่จะเริ่มปรับเปลี่ยนกันได้อย่างไรบ้าง…

1. ก่อนมื้ออาหาร ต้องงด

ใช่ค่ะก่อนมื้ออาหารหลัก เช้า กลางวัน เย็น คุณแม่จะต้องไม่ให้ลูกรับประทานของว่างใดๆ เพราะก่อนหน้ามื้ออาหารหลักประมาณ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ที่เด็กๆ ได้ดื่มน้ำหวาน น้ำผลไม้ ขนมปังต่างๆ ผลไม้ ก็อาจทำให้เด็กยังรู้สึกอิ่ม จนไม่อยากกินข้าวเลยค่ะ ดังนั้นแนะนำว่าไม่ควรให้อาหาร เครื่องดื่ม ฯลฯ กับลูกก่อนหน้ามื้ออาหารหลักค่ะ

2. สร้างวินัยบนโต๊ะอาหาร

พ่อ แม่ ลูก ถ้าเป็นไปได้ควรนั่งรับประทานข้าวด้วยกัน โดยเฉพาะมื้อเช้า และมื้อเย็น เพราะเป็นมื้ออาหารที่ทุกคนในครอบครัวมีเวลาร่วมกันได้ง่ายสุดก่อนที่จะออกไปทำงาน หรือไปโรงเรียน ในหนึ่งมื้ออาหารจะใช้เวลารับประทานข้าว 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมงโดยประมาณ เมื่อทุกคนรับประทานข้าวอิ่มแล้วให้เก็บอาหารบนโต๊ะ ไม่ปล่อยให้ลูกรับประทานต่อไปเรื่อยๆ เด็กที่ใช้เวลาบนโต๊ะอาหารนานเกินไปจะเกิดอาการเบื่อจนไม่อยากรับประทานข้าวเวลาถึงมื้ออาหาร

3. สร้างบรรยากาศบนโต๊ะอาหาร

เมื่อกำหนดการใช้เวลาบนโต๊ะอาหารสำหรับทุกคนในครอบครัวแล้ว ที่จะใช้ประมาณ 45 นาที – 1 ชั่วโมง พ่อแม่ต้องรับประทานอาหารที่มีหลากหลายบนโต๊ะชี้ชวนให้ลูกเห็นว่าอร่อยแค่ไหน มีการพูดคุยกันเล็กน้อย ไม่ปล่อยให้บรรยากาศการรับประทานข้าวตึงเครียดเกินไป วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้ลูกเจริญอาหารได้ดีวิธีหนึ่งเลยค่ะ

4. ไม่มีสิ่งเร้ามายั่วยวนลูกขณะรับประทานข้าว

เห็นหลายบ้านเลยค่ะที่ชอบเปิดการ์ตูนจากทีวี หรือเปิดจากมือถือให้ลูกดูขณะรับประทานข้าว ซึ่งแทนที่จะให้ลูกตักข้าวรับประทานได้เอง ก็กลายเป็นว่าลูกสนใจสิ่งที่พ่อแม่เปิดให้ดูมากกว่า แล้วพ่อแม่ก็ต้องมาคอยป้อนข้าวเข้าปากให้ลูกแทน ฉะนั้นหาก อยากให้ลูกรับประทานข้าวได้หมดจาน และเจริญอาหารได้ดีไม่มีการบังคับให้กินข้าว ต้องเริ่มที่พ่อแม่ด้วยการไม่หยิบยื่นสิ่งยั่วยวนดึงความสนใจลูกไปจากโต๊ะอาหารค่ะ

5. ให้อาหารที่มีกรดไขมันธรรมชาติ

นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ลูกน้อยแล้ว การดูแลเรื่องอาหารการกินก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ เด็กๆ ที่รับประทานข้าวได้น้อย แต่จะไปหนักการดื่มนม แนะนำว่าควรเลือกนมที่มีสารอาหารธรรมชาติที่หลากหลายค่ะ

อย่างการดื่มนมแพะก็ให้ทั้งสารอาหารธรรมชาติหลากหลายชนิด รวมถึงกรดไขมันธรรมชาติ อย่างไขมันในนมแพะย่อยง่ายช่วยให้ลูกรักมีน้ำหนักตัวดี

ไขมันในนมแพะ คือ ไขมัน MCT Oil ตามธรรมชาติ เป็นไขมันสายโซ่ปานกลาง (Medium Chain Triglycerides) มีขนาดเล็กกว่าไขมันในนมวัว ซึ่งจะทำให้ร่างกายสามารถย่อยและนำไปใช้ได้รวดเร็ว ไขมันในนมแพะที่ย่อยได้เร็วช่วยทำให้ร่างกายได้พลังงานเพื่อนำไปใช้ในกระบวนดูดซึมโปรตีนต่อได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งโปรตีนจากนมแพะย่อยง่าย ทำให้ลูกสบายท้อง ท้องไม่อืด เพราะมีเบต้าเคซีนซึ่งย่อยง่ายในปริมาณสูง ยิ่งกว่านั้น ในนมแพะยังมีโปรตีน CPP หรือ เคซีน ฟอสโฟ เปปไทด์ (Casein Phosphopeptides) ที่เป็นตัวช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และสังกะสี ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตแข็งแรง มีน้ำหนักตัวเหมาะสมตามวัย

เห็นประโยชน์ของนมแพะแบบนี้แล้วก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลายครอบครัวที่กำลังต้องการหานมให้ลูกดื่มเสริมเพิ่มจากมื้ออาหารหลักกันนะคะ  และคำแนะนำทั้งหมดนี้คือคำตอบของคำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ ลูกมีน้ำหนักตัวสมวัย ที่ถามกันมา ได้คำตอบแล้วก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กับลูกรักที่บ้านกันด้วยนะคะ

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up