ไลซีน Lysine คืออะไร

ไลซีนคืออะไร ? ทำไมถึงช่วยเจริญอาหาร และเสริมการเจริญเติบโตของลูกน้อย?

Alternative Textaccount_circle
event
ไลซีน Lysine คืออะไร
ไลซีน Lysine คืออะไร

ปัญหาลูกเบื่ออาหาร ทานข้าวยาก มักเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ บ้านต้องรับมือ เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่ช่วงวัย 1-5 ขวบ  จะสังเกตได้ว่าเด็กบางคนจะเริ่มเลือกรับประทานอาหารบางอย่าง, รับประทานอาหารยากขึ้น/ปฎิเสธอาหาร หรือ ห่วงเล่น และให้ความสนใจกับกิจกรรมอื่นมากกว่าการรับประทานอาหาร  ทำให้เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งส่งผลให้พัฒนาการทางด้านร่างกายและการเจริญเติบโตช้าลง สร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก

ไลซีน Lysine คืออะไร

“ไลซีน (Lysine)”  คือหนึ่งในสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญสำหรับสุขภาพและการเจริญเติบโตของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจยังไม่คุ้นเคย  Lysine เป็นกรดอะมิโนในกลุ่มที่จำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น โดยอาหารที่เป็นแหล่งของ Lysine นั้น ได้แก่ เนื้อสัตว์  นม ไข่ ส่วนในข้าวจะพบ Lysine อยู่น้อยมาก

ประโยชน์ของ ไลซีน ต่อสุขภาพลูกน้อยนั้น มีดังนี้…

  1. เพิ่มความอยากอาหาร ในกรณีที่เด็กขาดโปรตีน การเสริมไลซีนอาจช่วยเพิ่มความอยากอาหาร จากกลไกการลดระดับฮอร์โมนบางชนิด ส่งผลให้รับประทานอาหาร เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ลูกน้อยกินอาหารได้มากขึ้น
  2. เพิ่มการเผาผลาญ ไลซีนเป็นสารตั้งต้นของแอล-คาร์นิทีน ซึ่งเป็นตัวพากรดไขมันเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญ ให้ได้พลังงานสำหรับร่างกาย หากขาด Lysine ไป ก็อาจส่งผลให้เด็กๆมีการผลิตพลังงานใช้ในกิจกรรมและพัฒนาการต่างๆได้ลดน้อยลง
  3. เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และโปรตีนต่างๆภายในร่างกาย ทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ
  4. ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ไลซีนช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค และเพิ่มระดับของ Antibody ต่างๆ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้น การติดเชื้อลดลง ลดโอกาสในการเจ็บป่วยของลูกน้อยได้อีกด้วย
  5. ช่วยดูดซึมแคลเซี่ยม มีผลช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการของกระดูก

ไลซีน Lysine คืออะไร

ในเด็กเล็กจะมีความต้องการไลซีน มากกว่าในผู้ใหญ่ ดังนั้นการเสริมไลซีนให้เด็กที่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนน้อย หรือมีภาวะ ขาดไลซีน จะช่วยให้เด็กเจริญอาหารรับประทานได้มากขึ้น รมทั้งช่วยให้การพัฒนาการและการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไลซีนจะมีความสำคัญต่อลูกน้อย พ่อแม่เองก็ต้องให้ลูกได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ อย่างเพียงพอ พร้อมทั้งให้ลูกได้เล่นและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย และสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sevenseasthailand.com

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ผศ. ดร. เอกราช บำรุงพืชน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ


เอกสารอ้างอิง

Albanese AA, Higgons RA, Hyde GM, Orto L. Biochemical and Nutritional Effects of Lysine-Reinforced Diets. Am J Clin Nutr. 1955;3(2):121-8.

Azzarà A, Carulli G, Sbrana S, Rizzuti-Gullaci A, Minnucci S, Natale M, Ambrogi F. Effects of lysine-arginine association on immune functions in patients with recurrent infections. Drugs Exp Clin Res. 1995;21(2):71-8.

Civitelli R, Villareal DT, Agnusdei D, Nardi P, Avioli LV, Gennari C. Dietary L-lysine and calcium metabolism in humans. Nutrition. 1992;8(6):400-5.

Ghosh S, Smriga M, Vuvor F, Suri D, Mohammed H, Armah SM, Scrimshaw NS. Effect of lysine supplementation on health and morbidity in subjects belonging to poor peri-urban households in Accra, Ghana. Am J Clin Nutr. 2010;92(4):928-39.

Hussain T, Abbas S, Khan MA, Scrimshaw NS. Lysine fortification of wheat flour improves selected indices of the nutritional status of predominantly cereal-eating families in Pakistan. Food Nutr Bull. 2004;25:114-122.

Pereira SM, Begum A, Jesudian G, Sundararaj R. Lysine-supplemented wheat and growth of preschool children. Am J Clin Nutr. 1969;22(5):606-11.

Tsurugizawa T, Uematsu A, Uneyama H, Torii K. Reversible brain response to an intragastric load of L-lysine under L-lysine depletion in conscious rats. Br J Nutr. 2013;109(7):1323-9.

Yang QQ, Suen PK, Zhang CQ, Mak WS, Gu MH, Liu QQ, Sun SS. Improved growth performance, food efficiency, and lysine availability in growing rats fed with lysine-biofortified rice. Sci Rep. 2017;7(1):1389.

Zhao W,Zhai F, Zhang D, An Y, Liu Y, et al. Lysine-fortified wheat flour improves the nutritional and immunological status of wheat-eating families in northern China. Food Nutr Bull. 2004;25:123-129.

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up