เลียนแบบคลิป

รุ่นพี่เล่นพิเรนทร์ เลียนแบบคลิป จับรุ่นน้องจุดไฟเผาตัว

Alternative Textaccount_circle
event
เลียนแบบคลิป
เลียนแบบคลิป

 

โซเชียลมีเดีย

4 วิธีสอน ลูกเล่นโซเชียล ให้ปลอดภัยไร้กังวล

พญ.ภัทรวรรณ ขันธ์แก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวว่า “พ่อแม่ควรเรียนรู้การใช้สื่อที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก เหมือนวิธีเลือกหนังสือให้ลูกอ่านตามวัย ถ้าบางกรณีเด็กเห็นอะไรที่ไม่เหมาะสมทั้งข้อความ คลิปหรือรูปภาพแล้วมาถาม ก็ให้สอนและตอบคำถามเท่าที่เด็กวัยนั้นควรจะรู้ เพื่อเป็นการชี้แนวทาง และสามารถช่วยลูกได้เรียนรู้และพัฒนาไปในทางที่ดีได้” ดังเช่น 4 วิธีที่จะมานำเสนอดังต่อไปนี้

1.พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในการใช้สื่อต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์คุยธุระสั้น ๆ ไม่คุยนาน ๆ ให้ลูกรู้ว่าโทรศัพท์สะดวกในการติดต่อ การพูดนาน ๆ อาจทำให้คนที่มีธุระจำเป็นติดต่อเข้ามาไม่ได้ ใช้เฉพาะจำเป็น

2.มีขอบเขตการใช้งานอย่างพอเหมาะ และชัดเจน พูดกับลูกให้เข้าใจ เช่น ให้เล่นได้ 1 ทุ่ม – 2 ทุ่ม เท่านั้น ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรใช้นอกเวลาที่กำหนด ถ้าจำเป็นต้องขออนุญาต หรือคุยกับเพื่อนได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน

3.กฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้น ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของแต่ละบ้าน ต้องสมเหตุสมผล ชัดเจน ไม่คลุมเครือ พ่อแม่ต้องทำจริง และสม่ำเสมอ เป็นการสร้างวินัยให้กับลูก ไม่ควรปล่อยให้ลูกเติบโตไปโดยไร้ทิศทาง

4.พ่อแม่คอยเป็นห่วงอยู่ห่าง ๆ ไม่เข้าไปก้าวก่ายชีวิตส่วนตัวของเขา ถ้ามีปัญหาให้ลูกลองแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองก่อน และคอยเป็นที่ปรึกษา ลูกจะแยกแยะได้ว่าคนไหนดี ไม่ดี เช่น เพื่อนต้องไม่รบกวนการเรียน

การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กในปัจจุบันนั้นเป็นเหมือนดาบสองคม คือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น พ่อแม่จึงต้องทำความเข้าใจ และจะต้องทำหน้าที่เป็นเหมือนพี่เลี้ยงให้กับลูก โดยสามารถสื่อสารพูดคุยกับลูก เพื่อเด็กจะได้รู้สึกว่ามีโอกาสใช้สื่อ ไม่ได้ถูกห้าม แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องหาทางแนะนำ สอนให้เด็กรู้จักวางแผนว่าจะใช้อย่างไรเพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหา หรือรบกวนกิจกรรมอื่น ๆ ของตนเอง และจะต้องไม่เป็นการสร้างความเดือดร้อนหรือเสียหายให้กับคนอื่นโดยเด็ดขาด”

เครดิต: พญ.ภัทรวรรณ ขันธ์แก้ว จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์

อ่านต่อเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up